กระบวนการพัฒนาของ ASIMO

ก้าวแรกแห่งการพัฒนาหุ่นยนต์ ปี พ.ศ. 2529 - 2534
เรียนรู้ท่าทางการเดินของมนุษย์

จากความเชื่อว่า สักวันหนึ่งหุ่นยนต์จะสามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคม และสามารถช่วยเหลืองานมนุษย์ การพัฒนาให้หุ่นยนต์มีลักษณะคล้ายมนุษย์ จึงเป็นเป้าหมายหลักของฮอนด้า แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่ด้วยความมุ่งมั่นและพลังแห่งความฝันอันเปี่ยมด้วยพลัง ฮอนด้าได้สั่งสมประสบการณ์และได้พัฒนา ยกระดับความสามารถของหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง
      ปี พ.ศ. 2529 วิศวกรของฮอนด้าประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์ทดลอง โดยให้ชื่อว่า EO ซึ่งใช้ระยะเวลาถึง 5 วินาทีต่อ 1 ก้าวเดิน
      ความท้าทายใหม่จากจุดเริ่มต้น คือทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เดินเร็วขึ้นและเดินคล้ายมนุษย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2534 ฮอนด้าจึงได้พยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจรูปแบบการเดินเร็วของมนุษย์และสัตว์อย่าง

ละเอียด เช่น ศึกษาการเคลื่อนไหวของหัวเข่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของหัวเข่า ตลอดจนความเร็วในการเดิน ข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ทดลอง E1, E2, และ E3 ซึ่ง E2 สามารถเดินบนพื้นราบด้วยความเร็ว 1.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ก้าวที่สอง พ.ศ. 2534 - 2536
เดินสองขาอย่างมั่นคง

เพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ ฮอนด้าเชื่อว่าหุ่นยนต์จะต้องเดินได้อย่างมั่นคง และสามารถเดินบนพื้นที่ขรุขระหรือลาดเอียง ตลอดจนขึ้นลงบันไดได้โดยไม่หกล้ม ฮอนด้าจึงได้พัฒนากลไกการควบคุมการเดินรักษาสมดุลของหุ่นยนต์ขึ้น อันนำไปสู่การสร้างหุ่นทดลอง E4, E5 และ E6 ซึ่งจากความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของขาให้มั่นคง ทำให้วิศวกรฮอนด้าก้าวสู่อีกระดับแห่งความท้าทายในการพัฒนาให้หุ่ยนต์มีแขน และศีรษะเหมือนมนุษย์

ก้าวที่สาม พ.ศ. 2536 - 2540
สู่การพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์

หลังจากสามารถพัฒนาขา แขนแล้ว ฮอนด้าก็เผชิญกับความท้าทายใหม่ในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มี ขนาดเล็กลง และมีน้ำหนักเบา เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถแสดงความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถช่วยเหลืองานมนุษย์ได้อย่างคล่องตัว

หุ่นยนต์ต้นแบบ

น้ำหนัก (กิโลกรัม)

ส่วนสูง
(เซนติเมตร)

ความสามารถ
P1 175 191.5      กดเปิด-ปิดสวิทช์ไฟฟ้า
     เปิดประตูหยิบชิ้นสิ่งของ
P2 210 182      รับคำสั่งโดยวิทยุไร้สาย
     เดินขึ้นลงบันได และเข็นรถ
P3 130 160      ทำงานต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง
      ในที่ทำงานและที่บ้าน

 
ASIMO is Born

กำเนิด "อาซิโม"
สู่ศตวรรษที่ 21 ไร้ขีดจำกัดแห่งเทคโนโลยี
ในที่สุดความฝันของฮอนด้าที่จะสร้างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ให้อยู่ร่วมในสังคมของมนุษย์ ก็เป็นจริง ด้วยขนาดที่พอเหมาะ คือสูง 120 เซนติเมตร น้ำหนัก 52 กิโลกรัม "อาซิโม" เพื่อนใหม่ของเด็กๆที่ล้ำยุคที่สุดในโลก มีความสามารถมากมาย ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวล เป็นอิสระ พร้อมที่จะเปิดประตูสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งในที่ทำงานและร่วมเป็นสมาชิกคนใหม่ของครอบครัว

ปัจจุบัน อาซิโม ฝึกงานเป็นพนักงานต้อนรับที่สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าในประเทศญี่ปุ่น และเข้าทำงานในบริษัทอีกหลายแห่ง

 
มารู้จักอาซิโมกันเถอะ

อาซิโม" เป็นชื่อย่อจาก "Advanced Step in Innovative Mobility" หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย

อาซิโมเกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 มีลักษณะคล้ายมนุษย์และเป็นมิตรต่อมนุษย์มากที่สุดโดยมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา คือสูงเพียง 120 เซนติเมตร และหนัก 52 กิโลกรัม มีการเดินที่นุ่มนวล สามารถเคลื่อนไหว ในท่าทางต่างๆที่หลากหลาย ทั้งในส่วนของแขน ข้อศอกไหล ขา โดยสามารถเคลื่อนไหวในท่าเต้นรำได้ด้วย ทั้งนี้ลักษณะที่โดดเด่นของอาซิโมคือ ท่าทางการเดินที่ใกล้เคียงมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานเทคโนโลยีการคาดการณ์การเคลื่อนไหว หรือเทคโนโลยี i-WALK ซึ่งทำให้อาซิโมสามารถเปลี่ยนทิศทางการเดินได้อย่างคล่องแคล่ว และระบบการเดินยืดหยุ่นแบบเรียลไทม์ ทำให้อาซิโมสามารถปรับระยะ และความเร็วในการเดินช้าหรือเร็วได้ อาซิโมยังสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและเป็นธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงการขึ้นและลงบันได หรือเดินบนพื้นที่ลาดชัน ด้วยอัตราความเร็วเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

Naming ASIMO  
Advanced >>New Era
Step in >> Stepping
Innovative >> Innovation
Mobility >> Mobility