แบ่งได้เป็น
1. กามุปาทาน คือการยึดติดในของรัก
อันมีสาเหตุมาจากรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัส และอารมณ์
เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการรัก ชอบ โกรธ เกลียดกัน
ซึ่งรวมแล้วคือกามารมณ์นั่นเอง
เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วถึงแม้อารมณ์พวกนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์เช่นความรัก
แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ก่อให้เกิดทุกข์เช่นกัน อย่างความรัก
เราอาจมีความสุขที่มีคนมารัก แต่เราก็ต้องคอยประคับประคองความสัมพันธ
์ให้อยู่ตลอดรอดฝั่ง ซึ่งดูแล้วก็ไม่พ้นความทุกข์อยู่ดี
2. ทิฏฐุปาทาน คือการยึดติดในความคิดเห็นของตนเอง
เป็นความเห็นเดิมๆที่ได้รับการสั่งสอนมา ทั้งๆที่รู้ว่าความคิดนั้นผิด
แต่ก็ยังรั้นไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายและล้มเหลวในที่สุด
3. สีลัพพตุปาทาน คือ ความถือมั่นในความประพฤติที่เคยชิน
ทำสืบต่อกันมา
เช่น การเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปขอเลขขอพร
โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตูผลและความจริง
การเรียนพุทธศาสนาก็เช่นกัน หากเราไม่รู้ว่าเรียนไปทำไม
ก็ถือเป็นสีลัพพตุปาทานเช่นกัน
4. อัตวาทุปาทาน เป็นการยึดมั่นในตัวตน
คือยึดมั่นว่าตัวเรา เป็นของเรา และจะเป็นเช่นนั้นตลอดไปซึ่งเป็นสัญชาตญาณ
ทำให้เราต้องหาอาหาร สืบพันธ์ ซึ่งก็เป็นสิ่งก่อให้เกิดทุกข์เช่นกัน
เนื่องจากเราต้องขวนขวายหาสิ่งต่างๆมาบำรุงชีวิตเราให้อยู่รอด
ถ้าเราไม่ทำก็จะทำให้เกิดทุกข์ทางกายอีกเช่นกัน
ซึ่งทางแก้ก็มีอยู่ทางเดียวนั่นคือ ควยคุมไว้ให้มากที่สุด
โดยการทำสิ่งต่างๆไม่ให้ตึงหรือย่อนเกินไปนั่นเอง
การที่เราไปผูกพันธ์ยึดติดอยู่กับสิ่งต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
ทั้งสิ่งของที่เรารัก ทั้งความเห็นที่ผิดๆ ทั้งความเคยชินที่ทำตามๆกันมา
โดยไม่คิดว่าทำแล้วจะให้ประโยชน์ให้โทษอย่างไร
ทั้งตัวตนในสิ่งต่างๆ
ยิ่งเราไปผูกพันธ์ยึดติดกับมันมาก เราก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
อุปปาทานนี้ เราสามารถปล่อยวางได้โดยการพิจารณาไตรสิกขา
นั่นคือ ศีลสิกขา เป็นการฝึกให้เราปฏิบัติตนทางกาย
วาจาได้ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
จิต (สมาธิ) สิกขาคือสามารถบังคับใจตนเองได้ เป็นลักษณะของจิตที่เหมาะแก่การทำงาน
และปัญญาสิกขาคือการทำให้เราเกิดความเข้าใจในสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง
จนสามารถปล่อยวางอุปปาทานได้ เป็นอันสิ้นสุด
|