1.
ความดีนั้น ดีจริงหรือไม่
บางครั้งอย่างที่เราได้เคยพูดกันไปบ้างแล้ว นั่นก็คือ
สิ่งที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็น เช่นการที่เราตีผู้อื่น
ด่าผู้อื่น เมื่อดูแล้วมันน่าจะเป็นกรรมที่ไม่ดี
แต่หากเรามีเจตนาดี ทำไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นก็ถือเป็นการทำดี
บางครั้งคนอ่อนน้อมอาจไม่ใช่ลักษณะนิสัยที่ดีเสมอไป
เนื่องจากเราไม่รู้ความในใจว่าเป็นอย่างไร ทั้งๆที่เค้ายอมเชื่อฟังเราทุกอย่าง
แต่อาจจะมีความร้ายกาจอยู่ภายใน ดังนี้จึงกล่าวได้ว่าสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป
2. ความดีนั้น
ทำโดยบริสุทธิ์ใจหรือไม่
การทำความดีนั้น หากเราหวังสิ่งตอบแทนหรือมีเจตนาอื่นแอบแฝง
ความดีนั้นก็จะให้ผลได้ไม่เต็มที่ เป็นความดีที่ทำโดยไม่บริสุทธิ์ใจ
อาจได้ผลตอบแทนแค่ในเวลานั้นเพียงนิดหน่อย และจะไม่ติดตัวเราไป
หรือติดตัวเราไป แต่ก็จะมีน้อยมาก
3. ความดีนั้น
ทำโดยเปิดเผยหรือไม
่ การทำความดี หากเราทำอย่างเปิดเผย โจ่งแจ้ง
ก็จะกลายเป็นว่าเราทำดีเพียงเอาหน้าเท่านั้น แต่ผลดีที่ได้ก็ยังจะมีอยู่
นั่นก็คือได้รับการนับหน้าถือตาในสังคม ได้รับการสรรเสริญต่างๆ
แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่จีรัง มีการสรรเสริญก็จะมีการนินทาเช่นกัน
ถือเป็นเพียงผลที่ได้ทางโลก มิใช่ทางธรรมเช่นการปิดทองหลังพระที่มีผลยั่งยืนกว่า
4. ความดีนั้น
ทำถูกทางหรือไม่
การทำความดีบางครั้ง เราหวังไว้ คิดไว้ว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ความจริงอาจไม่ใช่ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราที่สุดนั่นก็คือการที่เราให้เพื่อนๆลอกการบ้าน
เราอยากให้เพื่อนมีการบ้านส่งครู จะได้ไม่ถูกครูทำโทษ
แต่ผลในระยะยาว กลับทำให้เพื่อนทำข้อสอบไม่ได้
ทำการบ้านเองไม่เป็น ถือเป็นการฆ่าเพื่อนทางอ้อม
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรามีเจตนาดี แต่สิ่งที่เราทำกลับให้ผลในทางที่ตรงกันข้ามได้
5. ความดีนั้น
ทำโดยเจตนาหรือไม่
ดังเช่นเมื่อเราทานอาหารเหลือ เราเอาไปโยนทิ้งที่ถังขยะ
แล้วมีมดมากินอาหารเหล่านั้น ก็เป็นการกระทำโดยไม่เจตนา
จะได้ผลที่น้อยมากตามกัตตตากรรม(กรรมที่ทำโดยไม่ตั้งใจ)
แต่หากเราทานอาหารเหลือ แล้วนำอาหารเล็กน้อยเหล่านั้นไปโปรยในที่ที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถกินมันได้
เช่นโปรยข้าวที่เหลือนั้นในที่ๆมีมดอยู่ มีนกหากินตรงนั้นเป็นประจำ
ก็เป็นการทำดีโดยเจตนา ถึงจะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ
เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อเราแล้ว แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อสัตว์อื่นอยู่
ก็ถือเป็นการทำโดยเจตนา ให้ผลกรรมมาก
6. ความดีนั้น
ทำไปโดยสมบูรณ์หรือไม่
เช่นการสะสมความดีของเรา หากสะสมบ้าง ไม่สะสมบ้าง
ก็จะไม่ทางสมบูรณ์ไปได้ การทำความดีโดยสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
แต่มองในทางกลับกัน ผู้ที่ทำความชั่วโดยสม่ำเสมอ
ก็จะได้รับผลของกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืนมาก ตามหลักของอาจิณกรรม(กรรมที่ทำอย่างสม่ำเสมอ)
7. ความดีนั้น
มีคุณค่าเพียงใด การทำความดีที่เป็นไปโดยประโยชน์ของบุคคลส่วนรวม
ย่อมมีคุณค่ามากกว่าการทำความดีที่เป็นไปโดยประโยชน์ส่วนตน
แน่นอน ผลที่ได้จากการทำความดีเพื่อประโยชน็ส่วนรวมย่อมมีคุณค่ามากกว่าประโยชน์ส่วนตน
8. ความดีนั้น
มีความยากง่ายในการทำเพียงใด
การทำดีที่ยากที่สุดนั้น คือการทำความดีที่ทำไปโดยการเอาชนะจิตใจของตนเอง
เป็นการเสียสละเพื่อผู้อื่นโดยแท้จริง เป็นการทำไปโดยการขจัดความเห็นแก่ตัว
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก
|