เห็ดป่าไมคอรไรซ่า
Forest- Wild Mycorrhizai Mushroom


          โลกที่เราอาศัยอยู่นี้อนุมานกันว่ามีอายุนานประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว และความสัมพันธุ์ระหว่างเชื้อรา (Fungi) กับพืชสีเขียว (Green plants) ได้มีวิวัฒนาการมานานไม่น้อยกว่า 400 ล้านปี นับตั้งแต่สิ่งมีชีวิต (Living organisms) ได้กำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้นักวิทยาศาสตร์สัณนิษฐานว่า สิ่มีชีวิตขนาดเล็กมีลักษณะเซลล์เดียวดำรงชีวิตเริ่มแรกในน้ำทะเลก่อน แล้วจึงค่อยๆมีวิวัฒนาการมาเป็นจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ชั้นสูงขึ้น และอาศัยอยู่บนบกตามลำดับ นักชีววิทยาได้ทำการศึดษาซากพืชดึกดำบรรพ์ หรือซากพืชโบราณ (Fossils) ในยุค (Devonian (400 ล้านปีมาแล้ว) ด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีเส้นใยของเชื้อรา (Filamentous hyphae) มีลักษณะเหมือนกับเส้นใยของเชื้อราที่พบอยู่กับรากพืชสีเขียวเหมือนในยุคสมัยปัจจุบันนี้
เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างเส้นใย (hyphae) ได้ ไม่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ ชีวิตเริ่มแรกอาศัยอยู่ในน้ำทะเลก่อน แล้วค่อยๆปรับตัวเองขึ้นมาดำรงชีวิตอยู่บนบก (Land mass) เหมือนพืชสีเขียว โดยทั่วไปอาศัยอยู่ในน้ำ ดิน อากาศ หิน พืช สัตว์ และจุลินทรีย์อื่นๆที่อยู่รอบตัวของมันเอง เพื่อดูดซับใช้อาหาร และพลังงานอันสมบูรณ์ ซึ่งมีองค์ประกอบของธาตุคาร์บอน (Carbon compounds) ตัวอย่างเช่น พวกน้ำตาล (Sugars) แป้ง (carbohydrates) โปรตีน (proteins) กรดอะมิโน (Amino acids) และวิตามิน (Vitamins) ต่างๆซึ่งพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ต่างๆ ขับถ่ายเป็นของเสียออกมาจากร่างกายรอบๆบริเวณนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรา พืช สัตว์และจุลินทรีย์ต่างๆ ได้วิวัฒนาการมาหลายทิศทางด้วยกัน คือ เชื้อราบางชนิดดำรงชีวิตอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว เรียกว่า Saprophytes บางชนิดอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ เราเรียกว่า Parasites บางชนิดดำรงชีวิตกับสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว แต่เมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมจึงต้องพัฒนาตัวเองไปอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ เราเรียกว่า Facultative Parasites บางชนิดดำรงชีวิตอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายลง ก็เปลี่ยนกลับไปอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว เราเรียกว่า Facultative Saprophytes เชื้อราส่วนใหญ่พวกนี้มักเป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพืช (Plant diseases) เช่น โรคเน่าคอดิน (Damping off diseases) โรครากเน่า (Root rots) โรคใบ (Leaf diseases) โรคโคนเน่า (ฺButt rots) โรคไส้เน่า (Heart rots) โรคราสนิม (Rusts) และโรคราข้าวแป้ง (Powdery Mildews) เป็นต้น
เชื้อราบางชนิดมีนิสัยชอบดำรงชีวิตอยู่กับพืชแบบอาศัยซึ่งกันและกัน เอื้อประโยชน์ถัอยทีถ้อยอาศัยกัน และไม่สร้างพิษภัยต่อสิ่งมีชีวิตทีมันอาศัยร่วมอยู่ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การสมชีพกัน (Mutualistic symbiosis) บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์พืช (Endophytes) บางชนิดอาศัยอยู่ภายนอกเซลล์พืช (Ectophytes)
เมื่อ ค.ศ. 1885 หรือประมาณ 100 ปีมาแล้ว ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ A.B. Frank ได้ศึกษาระบบรากของพืชพบว่ามีเชื้อราอาศัยอยู่ร่มกับระบบรากพืชและต้นไม้ป่า แต่ไม่ทำให้เกิดโรค (Diseases) เขาจึงเรียกความสัมพันธ์นี้ว่าไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza)
เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหลายสาขาได้ให้ความสนใจเรื่องไมคอร์ไรซ่าเพิ่มมากขึ้นดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีเอกสารการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับไมคอร์ไรซ่าตีพิมพืออกมามากมายกว่า 15,000 เรื่อง เชื้อราไม่คอร์ไรซ่ามีประโยชน์อย่างสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตรและการป่าไม้ในการปลูกพืชเกษตรและการปลูกสวนป่าใหม่ในพื้นที่แหล่งเสื่อมโทรมซึ่งมนุษย์ได้ทำลายระบบนิเวศป่าไม้ลงเป็นอันมากขณะนี้ ดังนั้นควรจะให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไมคอร์ไรซ่าเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นไม้ อาการชะงักงัน แคระแกรนและการเจริญเติบโตผิดปกติของต้นไม้ส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุปัจจัยหนึ่งคือ ต้นไม้ขาดเชื้อราไม่โครไรซ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกับระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกเพื่อช่วยหาอาหารให้
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในพื้นที่ดินเลว (Poor soils) พืชและต้นไม้ไมคอร์ไรซ่าจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชและต้นไม่ที่ขาดไมคอร์ไรซ่า เส้นใยของเชื้อราจะช่วยเพิ่มพื้ที่ผิวให้แก่รากพืชจะชอนไชหาอาหารบริเวณผิวดินลึก 10-20 ซ.ม. เพื่อหาอาหารและน้ำให้แก่ต้นไม้ โดยเฉพาะจะดูดซับธาตุฟอสฟอรัส (P) ในอัตราที่สูง และยังดูดซับธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอื่น ๆ อีก ช่วยให้ต้นไม้มีการผลิดอก ออกผลเพิ่มมากขึ้น และช่วยผลิตสารที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง
(Photosynthesates) ให้แก่ต้นไม้ ช่วยเป็นเกราะป้องกันโรคช่วยต้านทานโลหะหนักและฝนกรด ช่วยให้พืชและต้นไม้เจริญเติบโตได้ในดินเค็ม (Saline soils) ดินที่ผ่านการทเหมืองแร่แล้ว และดินพื้นที่สูงที่สคัญที่สุดพืชหรือต้นไม้ที่มีไมคอไรซ่าจะผลิตดอกเห็ด (Mushrooms) เป็นพวกเห็ดกินได้ (Edible mushrooms) เห็ดกินไม่ได้ (Non- edible mushrooms) เห็ดพิษ (Poisonous mushrooms) และเห็ดสมุนไพร (Medicinal mushrooms) ต่างๆ หลากหลายชนิดกว่า 5,000 ชนิด
วัตถุประสงค์ ในหารนำเสนอเรื่องนี้ก็โดยมุ่งหวังจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเห็ดป่าไมครอซ่า ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตร และการป่าไม้ของประเทศ โดยเฉพาะเห็ดป่ากินได้ซึ่งใช้เป็นแหล่งอาหาร (Food sources) ของชาวบ้านที่สามารถเก็บเอาไป ซื้อ-ขาย เป็นสินค้าทำรายได้ให้แก่ชาวชนบทได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้เขียนใคร่อยากจะส่งเสริมเผยแพร่ให้สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศได้ให้ความสนใจคัดสายพันธุ์เห็ดป่าไมคอร์ไรซ่าเหล่านั้นไปผลิตเป็นสิน้าชนิดใหม่จำหน่ายสู่ตลาดเห็ดของประเทศต่อไป

ไมคอร์ไรซ่าคืออะไร
          ไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza sing, ; Mycorrhiza PI.) คือความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรา (Fungi) กับระบบรากหาอาหาร (Food roots) ของพืชชั้นสูง (Higher plants) การอาศัยอยู่ร่วมกันนี้เป็ฯการอาศัยแบบเอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันแบะกัน (Symbiotic relationships) ไม่เป็นพิษและภัยแกกันและกัน ต้นไม้ไดรับน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่วนเชื้อราก็จะได้รับสารอาหารที่ต้นไม้ขับถ่ายออกมาทางระบบราก เช่น พวกน้ำตาล (Sugars) แป้ง (Carbohydrstes) โปรตีน (Proteins) และวิตามิน (Vitamins) ต่างๆ ซึ่งเป็นของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมาทางระบบรากของต้นไม้
คำว่า “Mycorrhiza” มาจากภาษากรีกว่า “Mykes” แปลว่า Mushroom และ “rhiza” แปลว่า “root” เมื่อนำคำศัพท์ทั้งสองมารวมกันจึงหมายถึง “รากไมคอร์ไรซ่า” หรือ “Fungus-root”

ประโยชน์ของเห็ดราไมคอร์ไรซ่า
1. ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวและปริมาณของรากพืชและต้นไม้
2. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่ระบบรากของต้นไม้
3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับน้ำและแร่ธาตุอาหารให้แก่ต้นไม้ เช่น ฟอสฟอรัส (P) ไนโตรเจน (N) โปรแตสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และธาตุอื่นๆ ซึ่งธาตุเหล่านี้เชื้อราจะดูดซับไว้และสะสมในรากและซึมซับขึ้นส่วนต่างๆของต้นไม้ ช่วยในการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ของพืช
4. ช่วยย่อยสลายและดูดซับธาตุอาหารจากหินแร่ในดินที่สลายตัวยาก และพวกอินทรีย์สารต่างๆ ที่ยังสลายตัวไม่หมด ให้พืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้
5. ช่วยเพิ่มอายุให้แก่ระบบรากของพืชและต้นไม้
6.ช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดกับระบบรากของพืชและต้นไม้
7. ช่วยให้ต้นไม้มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง ทนทานต่อความเป็นพิษของดิน และทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยปรับความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
8. ช่วยเพิ่มพูนความเจริญเติบโตของต้นไม้ 1-7 เท่าจากอัตราปกติ
9. ดอกเห็ดไมคอร์ไรซ่าสามารถใช้เป็นอาหารรับประทานได้ แม้ว่าบางชนิดจะมีพิษอย฿บ้างแต่เป็นส่วนน้อย บางชนิดใช้เป็นเห็ดสมุนไพร
10. ช่วยให้มีการย่อยสลายของซากพืชและแร่ธาตุที่ไม่เป็นประโยชน์ให้กลับกลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อต้นไม้
11. ช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น
12. ระดับ pH ที่เชื้อ Mycorrhiza เจริญได้ดีคือ pH 5.5-6.5 และอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25 –30 องศาเซลเซียส

การจำแนกประเภทของเห็ดราไมคอร์ไรซ่า
          เห็ดราไมคอร์ไรซ่าสามารถแบ่งประเภทออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
1. เอนโดไมคอร์ไรซ่า (Endomycorrhiza)
บางทีเราเรียกเห็ดราไมคอร์ไรซ่ากลุ่มนี้ว่า Vesicular-Arbuscular Mycorrhiza
(VAM) คือ เห็ดราไมคอร์ไรซ่าที่อาศัยอยู่ภายในเซลล์ผิวของรากพืชหรือต้นไม้เชื้อราชนิดนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าแต่สามารถตรวจสอบได้โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ จะเห็นมีลักษณะสปอร์รูปทรงกลม มีเส้นใย 2 ลักษณะคือ เส้นใยรูปกระบอง (Vesicles) และเส้นใยขนาดเล็กประสานกันเป็นกระจุก (Arbusculars) ราไมคอร์ไรซ่าพวกที่มีความสำคัญต่อพืชเกษตรและพืชป่าไม้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของอาณาจักรพืช (Plant kingdom) เป็นเห็ดราพวกนี้ ส่วนใหญ่จำแนกอยู่ในลำดับ (Order) Glomales มีอยู่ด้วยกัน 5 สกุล (Genera) ได้แก่ Acaulospora Intorphospora Gigaspora Glomus (Sclerocysis) และ Scutellospora เชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซ่า ส่วนใหญ่เป็นราน้ำ มักอาศัยอยู่ในดินทั่วไปมีอยู่ประมาณ 150 ชนิด สามารถสร้างเส้นใยออกมานอกรากชอนไชอยู่ในหน้าดินลึกประมาณ 10-20 ซม. และสามารถสร้างสปอร์อยู่ภายนอกราก สปอร์มีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รับประทานไม่ได้ แพร่กระจายพันธุ์ไปตามน้ำ มีการเคลื่อนย้ายไปตามดินโดยสัตว์และแมลง เป็นพาหนะสำคัญ
แพร่เชื้อไปตามภูมิประเทศ ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็นสปอร์ พืชที่สัมพันธ์กับรากลุ่มนี้ประมาณ 300,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นพืชเกษตรและพืชป่าไม้
2. เอโตไมคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza) คือ เห็ดราไมคอร์ไรซ่าที่อาศัยอยู่บริเวณเซลล์ผิวของรากภายนอกของพืชหรือต้นไม้ เส้นใยของเชื้อราจะประสานจับตัวกันแน่น ภายนอกผิวรากคล้ายรากฝอย มีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีขาว สีทอง สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดง สีดำ รากที่มีเชื้อราไมคอร์ไรซ่าเกาะอยู่จะมีลักษณะแตกเป็นง่าม เป็นกระจุก บวมโต รากจะมีรูปร่างแตกต่างจากรากปกติที่ไม่มีไมคอร์ไรซ่าช่วยหาน้ำและธาตุอาหารให้แก่รากบริเวณผิวดินลึกประมาณ 10 – 20 ซม. สีของรากจะแปรเปลี่ยนสีเข้มขึ้นตามอายุขัยของเชื้อราไมคอร์ไรซ่า และแล้วแต่ชนิดของเชื้อรา แตกกิ่งก้านเป็นง่าม หลายง่ามหรือรากเดี่ยวๆ ส่วนใหญ่เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซ่าเป็นราชั้นสูง จัดจำแนกอยู่ใน Phylum Basidiomycota Ascomycota และ Zygomycota ส่วนใหญ่เป็นราที่สร้างดอกเห็ดขนาดใหญ่เหนือผิวดินใต้ร่มไม้ที่มันอาศัยอยู่ซึ่งอยู่ในพวก Basidiomycota และ Ascomycota ส่วน Zygomycota จะมีดอกเห็ดขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พวกเห็ดราที่อยู่ในกลุ่ม Basidiomycota จะสร้างดอกเห็น (Mushrooms) ขนาดใหญ่ มีทั้งที่กินได้ (Edible) ชนิดที่กินไม่ได้ (Non-edible) ชนิดที่มีพิษ (Poisonous) และเห็ดสมุนไพร (Medicinal)
เห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซ่ามีมากกว่า 5,000 ชนิด พืชหรือต้นไม้ที่สัมพันธ์กับรากลุ่มนี้มีไม่น้อยกว่า 2,000 ชนิด หรือประมาณ 10 – 20% ของพืชชั้นสูง ที่สำคัญได้แก่ไม้ในวงศ์สนเขา (Pinaceae) วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) วงศ์ไม้ยูคาลิปตัส (Myrtaceae) วงศ์ไม้มะค่าโมง (Caesalpinaceae) วงศ์ไม้ก่อ (Fagaceae) วงศ์ไม้กำลังเสือโคร่ง (Betulaceae) วงศ์ไม้สนทะเล (Casuarinaceae) และวงศ์ไม้ถั่ว (Leguminosae)
การมีชีวิตอยู่ร่วมกันระหว่างเชื้อรากับระบบรากของต้นไม้มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา และการเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้ระบบนิเวศป่าไม้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในป่าธรรมชาติ (Natural forests) และในสวนป่า (Plantations) จะมีเห็ดราไมคอร์ไรซ่ากลุ่มนี้กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไป เช่น ป่าไม้สน (Pine forests) ป่าดิบชื้น (Tropical rain forests) ป่าเต็งรัง (Mixed decideous drydipterocarp) ป่ายาง (Dipterocarp forests) ป่าดิบเขา (Semievergreen forests) ป่าเบญจพรรณ (Mixed decideous forests) สวนป่าไม้สนเขา (Pine plantations) สวนป่าไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus plantations) และสวนป้าไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarp platations) เป็นต้น

ทั้งข้อดีและข้อเสีย การเพาะเชื้อให้กับต้นกล้าที่สำคัญมีดังนี้
1. การใช้ดินเชื้อ (Soil inoculum)
ในอดีตการใช้ดินหัวเชื้อไมคอร์ไรซ่าซึ่งเก็บจากบริเวณแหล่งกำเนินของต้นไม้ที่มีเชื้อไมคอร์ไรซ่าอยู่ในธรรมชาติ เป็นวิธีปฏิบัติอย่างได้ผลดีมานาน และในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ วิธีการ คือ นำดินเชื้อไมคอร์ไรซ่าที่ปริมาณห่างจากลำต้นไม้เกิน 50 ซม. โดยรอบและขุดลึกประมาณ 10 – 20 ซม. ให้มีรากเดิมติดมาด้วย แล้วนำไปใช้ทันทีหรือเก็บไว้ในที่ร่มประมาณไม่เกิน 7 วัน เชื้อไมคอร์ไรซ่าที่ติดอยู่กับดินจะนำไปคลุกกับดินเพาะอัตรา 1:6 ถึง 1:10 ส่วน แล้วเพาะเมล็ดและต้นกล้า วิธีนี้ข้อดีคือประหยัดเสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องใช้วิธียุ่งยากซับซ้อนง่ายต่อการปฏิบัติ ข้อเสียคือ ดินมี่น้ำหนักมา ขนย้ายระยะทางไกล ๆ ไม่สะดวก เราไม่สามารถทราบชนิดเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซ่าที่เหมาะสมกับต้นกล้าได้ และดินอาจมีเชื้อโรคติดมาระบาดต้นกล้าได้ง่าย วิธีการแก้ไข ต้องเลือกดินรากต้นแม่ที่สมบูรณ์ปราศจากโรค และควรปัดกวาดซากพืชหน้าดินออกให้สะอาดก่อนขุดินนำเอไปใช้เพาะต้นกล้า
2. การใช้สปอร์ (Spore inoculum)
สปอร์ของเห็ดราบางชนิดสามารถเก็บได้ในบริมาณมาก เช่น เห็ดหัวเข่า (Pisolithus tinctorius) เห็ดเผาะ (Astraeus hygrometricus) เห็ดลูกฝุ่น (Rhizopogon spp.) และเห็ดทรงกลม (Scleroderma spp.) เราสามารถนำสปอร์ไปละลายน้ำหรือใช้สปอร์โดยตรงคลุกกับเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะกล้า หรือนำสปอร์ละลายน้ำในอัตราส่วน 1:1000 แล้วฉีดพ่นกับต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์ในแปลกเพาะ ข้อดีวิธีการนี้คือ นำไปปฏิบัติได้ง่าย ได้พันธุ์เห็ดที่ทราบชื้อชนิดพันธุ์ได้ แต่มีข้อเสียคือ เราไม่สามารถเก็บสปอร์ในปริมาณมาก ๆ ได้ ไม่สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีประสิทธิภาพสูง และสปอร์มีระยะพักตัว มีการงอกที่ไม่สม่ำเสมอ สปอร์บางชนิดมีอัตราการงอกต่ำ ต้องใช้วิธีกระตุ้นเป็นพิเศษจึงจะสามารถงอกได้ สปอร์ สามารถทำเป็นเม็ดไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhizal tablelts) ได้
3. การใช้ดอกเห็ด (Sporocarp inoculum)
การใช้ดอกเห็ดหรือชิ้นส่วนของดอกเห็ดนำไปบดให้มีขนาดเล็กแล้วนำไปผสมน้ำที่สะอาดอัตราส่วน 1:1000 ฉีดพ่นบนเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าในแปลงเพาะเป็นวิธีการใช้ได้ผลดี แต่มีข้อเสียตรงที่การเก็บดอกเห็ดต้องรอช่วงฤดูฝน จึงจะสามารถเก็บดอกเห็ดไปปริมาณมาก ๆ ได้ และวิธีการนี้ต้องรีบนำดอกเห็ดมาใช้ทันทีมิฉะนั้นดอกเห็ดจะเน่าสลายเสียก่อน
4. การใช้เส้นใย (Mycelial inoculum)
การเลี้ยงขยายเชื้อจากดอกเห็ดเป็นวิธีการที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะเราสามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดราไมคอร์ไรซ่าพันธุ์ดี นำไปขยายกับ Vermiculite ผสม Peat moss และสารเคมีเสริมการเจริญเติบโต การเลี้ยงเชื้อในอาหารเทียม เช่น Potato-Dextrose Agar (PDA) หรือ Modified Melin-Norkran Medium (MMN) ซึ่งมีสูตรดังนี้ CaCl2 0.5 g. NaCl 0.025 g. KH2Po4 0.5 g. MgSO4 • 7 H2O 0.15 g. 1% FeCl3 1.2 ml Thiamine HCl 100 mg. Malt extract 3 g. glucose 10 g. Difco Agar 15–20 g. Distilled water 1,000 ml. pH 5.5-7.5 เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดี ราไมคอร์ไรซ่าบางชนิดไม่สามารถเลี้ยงเชื้อในอาหารเทียมได้
การขยายเชื้อโดยใช้ Vermiculite : Peat Moss อัตราส่วน 28:1 แล้วผสมกับอาหารเทียม MMW ที่ปราศจาก Agar 50% จะให้ผลดีสามารถเลี้ยงเชื้อได้ภายใน 3-4 เดือน ก็นำเอาหัวเชื้อไปใช้คลุกดินเพาะกล้าได้ ในอัตราส่วน 1:8 ถึง 1:10 แล้วจึงเพาะเมล็ดกล้าไม้ วิธีการนี้มีข้อเสียคือ ต้องใช้เทคนิคเครื่องมือและอุปกรณ์ค่อนข้างซับซ้อนและต้องการความรู้ และความชำนาญเป็นพิเศษจึงดำเนินการได้ แต่ข้อดีก็คือ หัวเชื้อที่ได้จะบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อปนเปื้อน และได้สายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ดีที่ได้คัดเลือกสายพันธุ์เหมาะสมแล้วมาใช้และมีประสิทธิภาพสูง ในแง่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเพาะเชื้อราเห็ดหัวเข่า (Pisolithus tinctorius) มักนิยมใช้วิะการนี้กันมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. การทำหัวเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซ่า (VA inoculum)
เนื่องจาก VA Mycorrhizaไม่สามารถเพาะเลี้ยงในอาหารเทียมเลี้ยงเชื้อได้ ดังนั้นจึงนิยมขยายหัวเชื้อโดยเก็บสปอร์ไปขยายในถุงเพาะชำ หรือแปลงเพาะกล้าเพื่อขยายให้มีปริมาณมากขึ้นในต้นกล้าพวกถั่ว ข้าวโพด หรือพืชวงศ์หญ้า แล้วใมช้ดินเชื้อและรากของพืชที่นำมาขยายเชื้อนั้นไปคลุกผสมกับต้นกล้าที่เราต้องการเพาะปลูกต่อไป

[HOME]

[BACK]