" เวียงกุมกาม "  นามนี้เป็นสิ่งบ่งชี้ความสามารถของคนสมัยก่อน  ...
แผนผังลักษณะวัดในเวียงกุมกาม  //  ลักษณะโบราณสถาน  //   วัตถุดิบการฉาบ  //  วัตถุดิบการสร้างตัวเมือง

แผนผังลักษณะวัดในเวียงกุมกาม

ลักษณะโบราณสถาน
จากการศึกษาโบราณสถานในเวียงกุมกามสามารถแบ่งออกเป็น 7 ลักษณะใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้
      
ลักษณะที่ 1 คือ ซุ้มประตูทางเข้าและแนวกำแพง เป็นซุ้มโขงขนาดเล็ก ตัวซุ้มมีผนังหนา 1.00 เมตร
ช่องประตูกว้าง 2.80 เมตร กำแพงก่ออิฐหนา 1.00 เมตร แนวกำแพงที่พบวางตัวตามทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก ฐานซุ้มโขงก่ออิฐเป็นฐานบัวย่อเก็จรองรับผนังกรอบประตู
       ลักษณะที่ 2 ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ขุดพบด้านหน้าของวิหารตรงกับซุ้มประตู-วิหาร เหลืออยู่เฉพาะ
ฐาน ก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมขนาด 26 x 11 เมตร มีฐานชุกชีขนาดใหญ่ และคูหาขนาดเล็กอยู่ท้ายวิหาร พื้น
วิหารปูอิฐ มีตอม่อทำจากหินแกรนิตสำหรับรองรับเสาวิหารอยู่เป็นระยะๆ ห่างกันช่วงละ 4 เมตรทั้งตามแนวยาว
และตามขวาง ลักษณะของพื้นวิหารชี้ให้เห็นว่าวิหารหลังนี้ทำหลังคา ซ้อนลดหลั่นเป็น 2 ระดับ หลักฐานที่พบ ในการขุดแต่งยืนยันว่าโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงกระเบื้องดินเผา-เจดีย์ อยู่ด้านหลังวิหาร ฐานแยกออกจากกัน
ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 9 คูณ 9 เมตร ลักษณะเป็นฐานย่อเก็จรองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มพระ 4 ด้าน ประดับลวด
ลายปูนปั้น ลักษณะของลวดลายปูนปั้นที่พบในการขุดค้นเป็นลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลาย
ปูนปั้นที่พระเจดีย์ วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน
       ลักษณะที่ 3 คือ เจดีย์และวิหารอยู่บนฐานก่ออิฐแยกออกจากกัน วิหารหันออกสู่ลำแม่น้ำปิงเก่า
   -วิหาร ผังพื้นปูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ขนาด 21.20 คูณ 15.00 เมตร สูง 2.00 - 3.00 เมตร ฐานชุกชีอยู่ติดผนังท้ายวิหาร ฐานวิหารก่อเป็นฐานบัวประดับลูกแก้วอกไก่ รองรับผนังวิหารซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผนัง
หรือฝาไม้ หลังคาโครงสร้างไม้ มุงกระเบื้อง ด้านหลังเป็นหลังคาต่างระดับเพียง 2 ชั้น ในขณะที่ด้านหน้าเป็นหลังคา
ต่างระดับถึง 3 ชั้น
   -เจดีย์ ฐานล่างสุด เป็นฐานหน้ากระดาน ผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 12.20 คูณ 12.20 เมตร สูง 60 เซนติเมตร ก่ออิฐเรียงสลับสั้นยาวไม่สอปูน ฐานหน้ากระดานชั้นที่ 2 ขนาด 8.80 คูณ 8.80 เมตร สูง 88 เซนติเมตร ก่อเรียงอิฐ
แบบสลับสั้น-ยาว ไม่สอปูน บานหน้ากระดานย่อเก็จ ขนาด 7.90 คูณ 7.90 เมตร
      ลักษณะที่ 4 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังหนึ่งกับอาคารคล้ายวิหารโถงผังพื้นย่อมุมอีกด้านหนึ่งฐานต่อ
เนื่องกัน อาคารหรือวิหารหลังแรกวางตัวตามแนวทิศตะวันตก - ตะวันออกส่วนอาคารที่มีผังพื้นย่อมุมอยู่ทางหน้าวิหาร
วางตัวเป็นมุมฉากกับ หลังแรก พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นวิหารโถง มีหลังคาชั้นเดียว ในขณะที่วิหารขวางทางท้ายนั้น เป็นวิหารโถงมีหลังคาซ้อนต่างระดับถึง 3 ชั้น และน่าจะมีมุขยื่นออกไปทางด้านหน้าด้วย โดยมีการสร้างวิหารหลังคา
ชั้น เดียวเชื่อมต่อในภายหลัง บริเวณรอยต่อของวิหารทั้งสองหลังทำไม่ได้สัดส่วนนัก
       ลักษณะที่ 5 เป็นฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 15.00 คูณ 7.00เมตรซึ่งสันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้ท
ีหลังคา ต่างระดับซ้อนกัน 2 ชั้นที่ด้านข้างทางด้านทิศใต้ค่อนไปทางท้ายอาคารมีทางเดินเชื่อมกับฐานวิหารหลังคาชั้น เดียวของกลุ่มโบราณสถานลักษณะที่ 4 และที่ข้างทิศเหนือของมุขหน้ามีบันไดและทางเดินเชื่อมต่อ
      ลักษณะที่ 6 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 คูณ 12 เมตร สร้างตามแนวทิศเหนือ - ใต้ หันหน้าไปทาง
ทิศเหนือโดยประมาณ มีบันไดทางขึ้นขนาดเล็กทางด้านก่ออิฐแบบหน้ากระดานเรียบ
      ลักษณะที่ 7 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 5.50 คูณ 10.00 เมตร ลักษณะผังพื้นเหมือนกับ
ฐานวิหารโถง


วัตถุดิบการฉาบ

      เวียงกุมกามเป็นนครโบราณที่มีมานานกว่าหลายร้อยปี ซึ่งในยุคสมัยนั้นผู้คนได้มีการสร้างโบราณ สถานหลายๆ แห่ง อาทิเช่น วัด วิหาร กำแพงเมือง กำแพงแก้ว อุโบสถเจดีย์ ฯลฯ และภูมิปัญญาของคน สมัยก่อนที่ได้นำมา แสดให้เห็นถึงความสามารถคือ การสามารถสร้างสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ใช้วัตถุ ประสาน เช่นเดียวกับปัจจุบันที่ใช้กันกล่าวคือในการสร้างวิหารหรือกำแพงแก้ว จะใช้อิฐหลาย ๆ ก้อนมาเรียงต่อกันโดยที่มีวัตถุประสาน ในที่นี่ตามคำบอกเล่าของคนในเวียงกุมกาม จะใช้ปูนหมักเป็นวัตถุประสานระหว่างอิฐต่ออิฐ เช่นเดียวกับเราใช้ปูนเชื่อมระหว่างอิฐต่ออิฐ แต่ความพิเศษของปูนหมักคือ

       ปูนหมักจะประกอบได้ด้วย ปูนขาว น้ำอ้อย หนังวัวหนังควาย (สารอินทรีย์)รากไม้หรือเปลือกไม้ 7 ชนิด (ส่วนมากจะเลือกพืชที่มีเปลือกไม้ที่ลอกและกะเทาะออกจากต้นได้ )
      กรรมวิธีการทำปูนหมัก คือการนำ หนังวัวหนังควายเคี่ยวกับน้ำอ้อยจากนั้นนำมาหมักกับปูนขาว และรากไม้ 7 ชนิด และในการฉาบพื้นผิวของวัตถุนั้น จะใช้ปูนขาวเป็นตัวฉาบ
      ปูนขาวในที่นี้ประกอบด้วย ปูนขาว หนังวัวหนังควาย เป็นหลัก
       กรรมวิธีการทำปูนขาว คือการเคี่ยวหนังวัวหนังควายแล้วนำมาผสมกับปูนขาวในสัด
ส่วนที่พอเหมาะจากนั้นก็นำมาฉาบวัตถุต่าง ๆ ต่อไป

      จากข้างต้นอาจจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีผลทำให้เวียงกุมกามสามารถมีโครงสร้างที่ค่อนข้างคงทน และถาวร ถึงแม้จะมีการล่มสลายโดยอุทกภัย ก็ยังเหลือซากให้ศึกษาได้ นั่นเป็นสิ่งบ่งชี้ ให้คนปัจจุบัน เห็นว่าคนสมัยก่อนมีภูมิปัญญาที่สามารถนำมาสร้างและรักษาสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ วิวัฒนาการเทคโนโลยีหรือวัตถุดิบที่เราใช้กันทุกวันแต่โดยการนำวัสดุและวัตถุที่มีคุณสมบัติยึดเหนี่ยว
เช่น พวกสารอินทรีย์และน้ำอ้อย มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างวัตถุแต่ละชนิดขึ้นมา


วัตถุดิบการสร้างตัวเมือง

      รูปแบบของสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามมีแนวความคิดของล้านนาไทย ซึ่งเป็นดินแดนที่รับพุทศาสนา จากลังกา อินเดีย โดยผ่านทางสุโขทัย จนกระทั่งเข้ามารวมตัวกันกระจาย อยู่ทั่วไปในล้านนา โดยเฉพาะเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การปกครองและการศาสนา ดังนั้นเวียงกุมกามจึงได้รับอิทธิพลของล้านนาอยู่บ้าง ซึ่งรูปแบบศาสนสถาน ที่เกิดขึ้นเนื่องจากแนวความคิดทางด้านพุทธศิลป์ พบว่ารูปแบบของวิหารมีขนาดไม่ใหญ่โตมาก สร้างด้วยไม้ มีฐานหรือผนังก่ออิฐฉาบปูน ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกเก็จด้านหน้า และหลังยังคง รักษาระเบียงของล้านนาดั้งเดิมคือ
      1. รูปแบบ โครงสร้างเป็นโครงหลักในการก่อสร้าง
      2. มีการใช้ผนังไม้ นิยมการก่อผนังไม้ผสมกับอิฐกับปูน
      3. วิหารนิยมการวางแผนผังในรูปของสี่เหลี่ยมจัตุรัส
      4. เจาะช่องหน้าต่างรูปกากะบาท
      5. การวางแผนผังศาสนสถานนิยมสร้างศาลาบาตรล้อมรอบอาคารที่เป็นเจดีย์
      6. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
                   6.1 หน้าบัน มีรูปแบบม้าตั่งไหม
                   6.2 ค้ำยัน นิยมแบบแกะสลักไม้อยู่ในกรอบสามเหลี่ยม
                   6.3 ลวดลาย นิยมทำรูปสัตว์ประดับวิหาร
ฉะนั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามจะมีอยู่บางส่วนเท่านั้นที่จะมีศิลปะแบบล้านนา เช่น ในศิลปะของสถาปัตยกรรมตอนปลาย ที่สร้างขึ้น ภายหลังย้าย เมืองหลวงไปที่เชียงใหม่นอกจากนี้ความเชื่อของผู้คนในเวียงกุมกามจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ที่กลุ่มชนชาวโยนกที่รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมพุทศาสนาของหริภุญชัยมาใหม่ ๆ ก็เป็นได้เนื่องจาก ได้ขุดพบว่าภายใต้แท่นฐาน ของซุ้มปราสาทหรือซุ้มโขงนั้นมีร่องรอยของกองกระดูกสัตว์ใหญ่ประเภท วัว ควาย หรือม้าถูกเผาปน เถ้าถ่าน มีประทีปดินเผา และชิ้นส่วน พระพิมพ์ดินเผาปนอยู่ในหลุมรวมกัน ดูเหมือนพิธีกรรมทำนองคล้ายยัญพิธีบางอย่าง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบในโบราณสถาน แห่งใดมาก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเชื่อที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนากับ ความเชื่อบาง ประการ