projects_menu.gif (2483 bytes)about_menu.gif (



2483 bytes)school_menu.gif (2483 bytes)



education_menu.gif (24


83 bytes)cool_menu.gif (2483 bytes)activity_m


enu.gif (2483 bytes)

คำถามด้านเทคนิคที่ถูกถามบ่อยๆ

Linux-SIS Technical Frequently Asked Questions (FAQ)

แก้ไขครั้งล่าสุด 13 กรกฏาคม 2542
ท่านสามารถหาเอกสารฉบับนี้ได้ที่ http://www.school.net.th/linux-sis/tech-faq.html
     
  1. ใช้ Linux-SIS เป็น Gateway และใช้ Transparent Proxy แต่ดูเหมือนว่า Web Page บางแห่งที่เรียกไปแล้ว ไม่ได้ถูกเก็บไว้ใน Cache อย่างถูกต้อง จะแก้ไขอย่างไร
      • แก้ไขใน /usr/local/etc/squid/etc/squid.conf เพิ่ม options ดังนี้ และ Restart Squid
        httpd_accel_uses_host_header on
        
  2. ไม่สามารถเรียกใช้งาน X-Windows ได้เลย นอกจาก user root คนเดียว
      • ให้เรียก initx แทนที่จะเรียก startx ครับ XFree86 3.3.3.1 มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทำให้เรียกใช้ startx เหมือนเดิมแล้วไม่ได้
  3. ใช้ Linux-3.01 มีปัญหา Add user ได้แล้ว แต่ไม่สามารถ telnet, ftp หรือใช้บริการใดๆ ได้เลย
      • เป็นข้อผิดพลาดของเวอร์ชั่น 3.01 ครับ คือเกิดมีอักขระพิเศษ มองไม่เห็น มาอยู่เติมท้ายบรรทัด ของ user dial ในไฟล์ /etc/shadow วิธีแก้คือใช้ vi หรือ pico เข้าไปลบอักขระที่มองไม่เห็นนั้น (มองไม่เห็นแต่ cursor จะเลื่อนไปได้) หรือถ้าให้แน่ใจก็ลบทั้งบรรทัดเลย แล้วพิมพ์ใหม่ให้เหมือนเดิม
        • dial:*:10589::::::<--- อยู่ต่อท้ายตรงนี้
  4. ต้องการจำกัด Quota ของผู้ใช้แต่ละคน ต้องทำอย่างไรบ้าง
      • เพิ่มคำว่า usrquota ลงใน /etc/fstab สำหรับ partition ที่เราต้องการควบคุม quota ตัวอย่างเช่น
      /dev/hda1     /     ext2     defaults,usrquota     1 1 
      • สร้างไฟล์ quota.user ที่ partition นั้นๆ เช่น สั่งว่า touch /quota.user 
      • แก้ไขไฟล์ /etc/rc.d/rc.local เอา comment (#) ออกบรรทัดที่เกี่ยวข้องกับโควตาดังนี้
        • ##################################################################
          # Uncomment these below lines if you'd like to use quota         #
          ##################################################################
          if [ -x /usr/sbin/quotacheck ]
          then
          echo "Checking quotas. This may take some time."
          /usr/sbin/quotacheck -avug
          echo "Done."
          fi
          if [ -x /usr/sbin/quotaon ]
          then
          echo "Turning on quota."
          /usr/sbin/quotaon -avug
          fi 
      • กำหนด quota ให้ user แต่ละคน โดยใช้คำสั่ง edquota -u username  โดยหน่วยของ quota จะเป็น byte อ่าน man edquota สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
      • กรณีที่กำหนด quota ให้ผู้ใช้ทีละหลายๆ คน ให้กำหนดให้คนหนึ่ง เป็นต้นแบบก่อน แล้วคนต่อๆ ไปก็กำหนดว่า ให้เหมือนกับคนแรก ตัวอย่าง เช่น ให้กำหนด quota สำหรับคุณ bob ก่อน หลังจากนั้นใช้

      • edquota -p bob `awk -F: '$3 > 499 {print $1}' /etc/passwd`
        จะเป็นการสั่งให้ผู้ใช้ที่มีบัญชีใน /etc/password ที่มี UID ตั้งแต่ 499 ขึ้นไปมีโควตาเหมือนกับคุณ bob
      • รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่าน ftp://ftp.nectec.or.th/pub/mirrors/linux/docs/HOWTO/mini/Quota
  5. แผ่น boot ของ Linux-SIS ไม่สามารถค้นหาฮาร์ดแวร์ในเครื่องได้?
      • ท่านสามารถใช้แผ่น Boot disk ของ Slackware Linux แทนได้ สามารถดาวน์โหลได้จาก ftp://ftp.nectec.or.th/pub/mirrors/linux/distributions/slackware/bootdsks.144/ โดยเลือก Image file ที่เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ของท่าน (อ่านไฟล์ README.TXT ในไดเรทอรีนั้นเพิ่มเติมถึงวิธีการเลือก Image file) กรณีที่ท่านใช้แผ่น boot ของ Slackware เมื่อท่านทำการติดตั้งเสร็จแล้ว มีการ Reboot เครื่องครั้งแรก เครื่องของท่านยังจะไม่สามารถบูตด้วยตัวเอง (แล้วเห็นฮาร์ดแวร์ครบตามต้องการ) ได้ ให้ใช้แผ่น boot เดิม boot เมื่อขึ้น boot: Prompt ให้พิมพ์ว่า mount root=<root_partition> เช่น 
        •  
          boot: mount root=/dev/hda1 
      • ทำการติดตั้งให้เสร็จและเมื่อสามารถ Log in เป็น root ได้แล้ว ให้ทำการ Rebuild Kernel ให้เห็นฮาร์ดแวร์ตัวนั้นๆ ของท่าน ( cd /usr/src/linux; make menuconfig ; make dep ; make clean ; make zlilo หรือ make bzImage) โปรดอ่านบทที่ 17 ในคู่มือเพิ่มเติม สำหรับวิธีการ Rebuild Kernel
      • หากใช้แผ่น Boot ของ Slackware Linux แล้วก็ยังไม่สามารถค้นหาฮาร์ดแวร์ของท่านได้ (เช่น CD-ROM หรือ Hard disk SCSI ที่รุ่นใหม่มากๆ) แนะนำให้ลงบนฮาร์ดดิสค์ IDE ง่ายๆ ก่อน แล้ว ลอง Compile Kernel ใหม่ ให้เห็นฮาร์ดแวร์นั้นๆ แล้วจึงทำสำเนาข้อมูลถ่ายจากฮาร์ดดิสค์ IDE สคริปต์ /usr/local/sbin/fullbackup อาจจะมีประโยชน์สำหรับท่านในช่วย format และทำสำเนาไปยังฮาร์ดดิสค์ลูกใหม่ โปรดดูในเนิ้อหาของสคริปต์ก่อนใช้งาน (ระวัง)
  6. ติดตั้งแล้ว DHCP Server ไม่สามารถแจกจ่าย IP ให้เครื่องลูกๆ (Windows 95 ได้)
      • หากท่านใช้ Linux-SIS Version 3.0 ท่านจะต้องเพิ่มบรรทัดด้านล่างนี้ลงไปในไฟล์ /etc/rc.d/rc.dhcpd (ซึ่งจะถูกเรียกทุกครั้งที่เครื่อง boot)
      /sbin/route add -host 255.255.255.255 dev eth0
      • หากท่านใช้ Linux-SIS เวอร์ชั่น 3.01 ขึ้นไป จะมีการบรรจุบรรทัดดังกล่าว ลงไปในไฟล์ /etc/rc.d/rc.dhcpd เรียบร้อยแล้ว หากยังไม่สามารถแจกจ่าย IP ให้เครื่องลูกๆ ได้ ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อของสาย LAN ให้แน่ใจ และดูไฟล์ /var/adm/messages ช่วยว่า มี Request ขอ IP จากเคริ่องลูกๆ เข้ามาหรือเปล่า
  7. เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว แต่ใช้งานได้เฉพาะ IP Address เช่น เรียกไปที่ 202.44.204.33 จะปรากฏ Web Site ของ NECTEC แต่ถ้าใช้ชื่อ เช่น www.nectec.or.th จะไม่สามารถ Browse Web ได้เลย
      • ตรวจสอบว่าท่านได้ตั้ง DNS Server ไว้ถูกต้องแล้วในไฟล์ /etc/resolv.conf
      • ตรวจสอบว่าในไฟล์ /etc/host.conf มีบรรทัดที่มีคำว่า order hosts,bind ไม่ใช่แค่ order hosts เฉยๆ
      • ตรวจสอบไฟล์ /etc/hosts ว่ามีชื่อ host ของท่าน และ IP ที่ถูกต้องตรงกัน และมี บรรทัดของ localhost ที่มี IP เป็น 127.0.0.1
  8. ติดตั้งเสร็จแล้ว เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่ดูเหมือน Squid Cache/Proxy Server จะทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถ Browse Web ไปที่ไหนได้เลย
      • หากท่านเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย SchoolNet ท่านควรจะใช้งาน Squid Cache/Proxy Server ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแก้ไขอะไร
      • แต่หากท่านเชื่อมต่อไปยัง ISP อื่นๆ ท่านจะต้องแก้ไข /usr/local/etc/squid/etc/squid.conf ในบรรทัด

      • cache_peer cache.school.net.th parent 8080 3130 no-query 
        ให้ลบทิ้งไป หรือเปลี่ยน cache.school.net.th 8080 3130 เป็นชื่อ Parent Proxy/Cache Server และ port ของ ISP ของท่าน และให้ลบ 3 บรรทัดด้านลางนี้ออก (3  บรรทัดนี้ใช้เฉพาะ เมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีการปิดกั้น port 80 ไม่ให้ออกตรงเท่านั้น เช่น เครือข่ายไทยสาร หรือ เครือข่าย SchoolNet
        acl local-servers dstdomain intranet
        never_direct deny local-servers
        never_direct allow all
        หลังจากนั้นให้ Restart Squid Process ใหม่ และตรวจสอบดูใน Logfile cache.log, access.log ว่ามี Request เข้ามาหรือยัง และมี Error อะไรหรือไม่ โปรดอ่านบทที่ 22 เพิ่มเติม
  9. telnet / เล่น web จากเครื่องอื่น มายังเครื่อง Linux-SIS ทำได้แต่ช้ามาก แต่ถ้า Log on ข้างหน้าเครื่องทำได้รวดเร็วดี
      • แสดงว่าท่านตั้ง IP ของเครื่อง Linux-SIS หรือเครื่อง PC นั้นๆ ไม่อยู่ในวง 192.168.1.0/24 หากท่านเชื่อมต่อกันแค่ Intranet และไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ IP Address อะไร แนะนำว่าให้ใช้ IP Address ตาม Default configuration ของ Linux-SIS (อ่านบทที่ 15 และ 16 ในคู่มือ) คือ เวลาติดตั้ง Server ตอนที่ถามว่าท่านจะตั้งค่า Network Configuration ให้ตอบ No ระบบจะตั้งให้ท่านโดยอัตโนมัติ
      • หากท่านมีความจำเป็นต้องใช้ IP อื่นนอกเหนือจาก 192.168.1.0/24 ให้แก้ไขค่า DNS ในไดเรทอรี่ /var/named ในไฟล์ต่างๆ ให้มีชื่อ hostname และ IP ตามที่ท่านตั้ง ทั้ง Forward และ Reverse หลังจากนั้นให้ Restart named process โปรดอ่านบทที่ 23 ถึงวิธีทำอย่างละเอียด
  10. telnet จากเครื่อง PC อื่นๆ มายังเครื่อง Linux-SIS ไม่ได้เลย แต่ใช้งานบริการอื่นๆ ได้ดี
      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านได้อ่านบทที่ 37 เรื่อง TCP Wrapper และตั้งค่าต่างๆ ถูกต้องแล้ว ปัญหามักเกิดเมื่อท่านตั้ง IP Address ของเครื่อง PC เป็นค่าอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน192.168.1.0/24 และในไฟล์ /etc/hosts.deny ไม่ได้อนุญาตให้เครื่องที่ใช้ IP เหล่านั้น ทำการ telnet เข้ามา
  11. ใช้ Linux-SIS เป็น Mail Server ปรากฏว่ารับ E-mail จาก host อื่นๆ ที่ส่งมาไม่ได้เลย
      • ตรวจสอบว่า ชื่อเครื่องของท่านและ IP Address ได้รับการลงทะเบียนใน ระบบ DNS สากลเรียบร้อยแล้ว วิธีทดสอบโปรดอ่านบทที่ 34 หากไม่ได้ลงทะเบียนให้ถูกต้อง จะไม่สามารถส่ง E-mail มายังเครื่องนี้ได้
  12. ใช้ Linux-SIS เป็น Mail Server เครื่องชื่อ mail.domain.co.th สามารถรับ E-mail จาก host อื่นๆ ที่ส่งมายัง username@mail.domain.co.th ได้ แต่ต้องการให้ถ้าส่งถึง username@domain.co.th ก็ให้ส่งมาถึงเครื่องนี้ด้วย จะต้องทำอย่างไร?
      • ลงทะเบียนในระบบ DNS สากล ให้โดเมน domain.co.th มี MX record ชี้มายังเครื่อง Linux Server ของท่าน (mail.domain.co.th) หากท่านไม่เข้าใจคำว่า MX record ให้อ่านบทที่ 24 เพิ่มเติม
      • อ่านบทที่ 23 ท่านจะพบว่า ท่านจะต้องใส่ชื่อโดเมน domain.co.th ลงในไฟล์ /etc/sendmail.cw ในเครื่อง Linux Server แล้ว restart sendmail 
  13. ใช้ Linux-SIS เป็น Mail Server ปรากฏว่ารับ E-mail จาก host อื่นๆ ที่ส่งได้ดี แต่ไม่สามารถส่งออกโดยใช้ Program จำพวก Eudora, Netscape Mail จากเครื่อง PC ได้
      • แสดงว่า IP Address ของเครื่อง PC นั้นๆ ยังไม่ได้อยู่ในไฟล์ /etc/mail/relay-domains อ่านบทที่ 24 เพิ่มเติม
  14. จะติดตั้ง Printer กับ Linux-SIS ได้อย่างไร?
      • วิธีที่ยากคือ อ่าน Printing-HOWTO และทำการใส่ค่าที่ถูกต้องลงใน /etc/printcap
      • วิธีที่ง่ายคือใช้โปรแกรม Webmin ช่วย โปรดอ่านบทที่ 32 ในหนังสือคู่มือ เพิ่มเติมสำหรับการติดตั้ง Webmin
  15. ติดตั้ง X-Window จนใช้งานได้แล้ว ปรากฏว่าแสดงภาษาไทยไม่ได้เลย
      • แสดงว่าท่านได้ใช้คำสั่ง xf86config, XF86setup หรือคำสั่งใดๆ ที่มีการแก้ไขไฟล์ /etc/XF86Config ทำให้บรรทัดที่มีคำว่า   FontPath   "tcp/localhost:7100"   หายไป ให้ใส่กลับเข้าไป (จะ1ีส่วนของไฟล์ที่จะระบุเกี่ยวกับที่อยู่ของฟอนต์ต่างๆ และดูให้แน่ใจว่า ใน /etc/rc.d/rc.local ได้มีการเรียกใช้งาน /usr/X11R6/bin/xfs เพื่อที่ X Font Server (XFS) จะได้ทำงานทุกครั้งที่เครื่อง boot  โปรดอ่าน README.TXT ของ Linux-SIS 3.0 เพิ่มเติม
  16. ทำไม Linux-SIS ต้องพัฒนาโดยใช้ Slackware เป็นพื้นฐาน ทำไมไม่ใช้ RedHat?
      • เป้าหมายของ Linux-SIS คือ การเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้ง และใช้งานเป็น Internet Server ได้โดยง่าย และใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้น จึงไม่สำคัญที่ว่าจะพัฒนามาจาก Linux distribution ใด เหตุผลที่ใช้ Slackware เนื่องจากผู้พัฒนามีความชำนาญ และตัว Slackware เอง มีความไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ระบบมีเสถียรภาพสูง เมื่อเทียบกับ Distribution อื่นๆ
      • หากในอนาคต Linux-SIS จะใช้  RedHat หรือ distribution อื่นใดเป็นพื้นฐาน ก็จะเป็นเพียงการนำซอฟต์แวร์มาใช้เท่านั้น ทางศูนย์ฯ ไม่มีนโยบายที่จะแข่งขันทางธุรกิจใดๆ กับภาคเอกชน ในเรื่อง Linux
  17. อนาคตของ Linux-SIS จะเป็นอย่างไร จะยังคงเน้นด้าน Internet Server หรือด้าน Desktop?
      • ทางห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้พัฒนา Linux-SIS จะมีความรู้ความชำนาญในด้าน Internet Server และจะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการใช้งานจริง ลงมาสู่ Linux-SIS ฉะนั้น งานด้าน Internet Server จึงเป็นงานหลักของ Linux-SIS และจะยังคงมีต่อไป ส่วนงานด้าน Desktop ดังที่ได้เห็นว่า ในเวอร์ชั่น 3.0 มีส่วน Desktop มาเป็นตัวอย่างให้ดูนั้น เป็นเพียงการชิมลาง และคาดว่างานทางด้านภาษาไทย และ Desktop จะอยู่นอกเหนือขอบเขตของ Linux-SIS
      • อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกับ Thai Linux Working Group (http://linux.thai.net) ก็จะประสานงานเพื่อสร้างสรรค์งานในด้าน Desktop และ ภาษาไทย ต่อไป ตัวอย่างผลงาน ที่กำลังดำเนินงาน เช่น Thai Extension สำหรับ RedHat/Mandrake Linux ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในด้านภาษาไทย เป็นต้น
  18. หากมีปัญหาในการใช้งาน Linux-SIS ใครมีหน้าที่ต้องตอบและช่วยเหลือท่าน?
      • เนื่องจากซอฟต์แวร์ Linux-SIS เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ รวมถึงผู้พัฒนา Linux-SIS ไม่มีการรับประกัน ใดๆ ว่าจะต้องให้ช่วยเหลือ, แก้ไขปัญหา หรือ ตอบคำถามท่านเสมอ ดังนั้นท่านจึงไม่สามารถบังคับ, เรียกร้องในการรับคำปรึกษา หรือความ ช่วยเหลือจากผู้ใด (เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ของ GNU อื่นๆ) แต่ใน ความเป็นจริงแล้วท่านสามารถหา ความช่วยเหลือได้ง่ายมาก บางทีอาจจะเร็วกว่าบริการ commercial software บางตัวเสียอีก 
      • ปรึกษาปัญหาการติดตั้งและใช้งานได้ที่ Thai Linux Working Group Web Board หรือ newsgroup th.pubnet.linux จะมีผู้ที่ชำนาญการใช้งาน สามารถให้คำตอบ หรือแลกเปลี่ยนความเห็นกันอยู่มากมาย
      • ปรึกษาด้านนโยบายได้ที่ sis-master@nectec.or.th โปรดอย่าถามคำถามทางเทคนิคไปที่ sis-master@nectec.or.th หรือ ott@nectec.or.th หรือทางโทรศัพท์ จักเป็นพระคุณยิ่ง มิฉะนั้น บุคคลเหล่านี้จะต้องตอบคำถามของแต่ละท่านทั้งวัน และ Liunx-SIS เวอร์ชั่นต่อไป อาจจะทำได้ช้ากว่ากำหนด :)
      • ปรึกษาปัญหาการพัฒนาโปรแกรม หรือการใช้งาน Linux ในแง่ที่สูงไปกว่าการติดตั้งและใช้งานเบื้องต้นได้โดยสมัครเป็นสมาชิกของ mailing list linux-sis@nectec.or.thโดยส่ง e-mail ไปที่ majordomo@nectec.or.th โดยให้มี Subject ว่า subscribe linux-sis your-email-address
      • ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกของ Newsgroup เกี่ยว กับ Linux จำนวนมาก และ mailing list ต่างๆ สามารถดูได้จาก www.linux.org


What's new | About | Thai School | Interesting | Education | Activity
NTL | NITC | NSTDA | NECTEC | Internet Thailand

This website is maintained by 
Network Technology Laboratory of NECTEC.
Send comments to Thailand SchoolNet Webmaster

Copyright (C) 1997 by Network Technology Laboratory of NECTEC.
All Rights Reserved.

$Id: tech-faq.src.html,v 1.3 1999/06/28 08:56:26 ott Exp ott $