NECTEC-ACE2017 https://www.nectec.or.th/ace2017 NECTEC Annual Conference and Exhibition 2017 Tue, 22 May 2018 15:56:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.1 https://www.nectec.or.th/ace2017/wp-content/uploads/2017/08/logo_ACE2017-90px.png NECTEC-ACE2017 https://www.nectec.or.th/ace2017 32 32 การประเมินผลการให้บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา https://www.nectec.or.th/ace2017/cc-closedsession/ Fri, 11 Aug 2017 14:50:56 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=200 Read more

]]>
หัวข้อ: การประเมินผลการให้บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา (ไม่เปิดให้ลงทะเบียน)
ห้องสัมมนา : Meeting room 4
เวลา : 10.30 – 12.00

เนื้อหาโดยย่อ

คำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลาเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนทุกกลุ่มได้มีทางเลือกในการรับฟังการบรรยายสดเป็นการแสดงข้อความพร้อมเสียง   โดยเฉพาะการจัดให้มีคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลานี้ จะช่วยคนที่บกพร่องทางการได้ยิน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้ง การประชุมสัมมนา การเรียนการสอน และรายการโทรทัศน์ ที่เป็นรายการแบบสดได้ คุณภาพของบริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลาขึ้นอยู่กับทั้งความถูกต้องของข้อความ และความทันต่อเวลาของข้อความเมื่อเทียบกับเสียงของผู้พูด  การประเมินคุณภาพของการให้บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลานี้ จะประเมินทั้งในแง่ของความถูกต้องและความเร็ว รวมทั้งการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน ซึ่งจะนำมาปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีได้ตรงกับความต้องการ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

]]>
Session 11 – ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things https://www.nectec.or.th/ace2017/education-iot/ Fri, 11 Aug 2017 13:13:35 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=171 Read more

]]>

หัวข้อเสวนา :  ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things
ห้องสัมมนา : Lotus
เวลา : 13.00 – 15.00 น.

เนื้อหาโดยย่อ

ในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเกิดขึ้นรวดเร็ว เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างบุคลากรเข้าไปเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดการใช้ประโยชน์ พื้นฐานทางทฤษฎีที่เข้มแข็ง ผนวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง คือเป้าหมายพื้นฐานในการเรียนการสอนของนักเรียนนักศึกษาในสายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

เทคโนโลยี Internet of Things หรือเรียกย่อๆ ว่า IoT เข้ามาอยู่ในกระแสของวงการ IT ทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีมานี้ การที่เทคโนโลยี IoT ซึ่งรวมไปถึงเซนเซอร์และอุปกรณ์สมองกลฝังตัวสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพได้ในทุกๆ กระบวนการ คือหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เทคโนโลยีนี้เติบโตและถูกนำไปใช้งานในทุกธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในทศวรรษที่จะมาถึงอย่างแน่นอน

สถาบันการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างบุคลากรเข้าไปเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี IoT ให้เกิดการใช้ประโยชน์ ดังนั้นวิสัยทัศน์ของหน่วยงานหรือองค์กรด้านการศึกษา รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเอง จึงเป็นสิ่งที่จะชี้ชะตาอนาคตของประเทศว่าจะเดินไปสู่ยุค 4.0 ได้สำเร็จหรือไม่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงอันเชี่ยวกรากนี้

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา “ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things” จะได้รู้จักกับ KidBright และ NETPIE ซึ่งเป็นเครื่องมือล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดย NECTEC ในการช่วยให้การเรียนการสอน IoT เป็นเรื่องง่ายและสนุก รวมทั้งรับฟังการเสวนาระดมสมองแลกเปลี่ยนแนวคิดในหัวข้อ “แนวทางการประยุกต์ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีและการศึกษามาอย่างยาวนาน

กำหนดการ

13.00 – 13.15 น.  อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียน Programming  “KidBright”
โดย ดร. เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ (BSP)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.15 – 13.30 น. เปิดตัว NETPIE Sketch: เรียนรู้ IoT อย่างมีจินตนาการ
โดย ดร. เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยเพื่อทดลองให้บริการ NETPIE ในเชิงพาณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.30 – 15.00 น. เสวนา หัวข้อ "แนวทางประยุกต์ใช้ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” โดย

  1. อาจารย์ จิระศักดิ์ สุวรรณโณ
    ที่ปรึกษาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. ดร. ธงชัย ชิวปรีชา
    ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์
  3. รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. นายชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล
    กรรมการผู้จัดการ
    บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จํากัด

ดำเนินการเสวนาโดย
ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยเพื่อทดลองให้บริการ NETPIE ในเชิงพาณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

นายชัยวุฒิ สีทา
วิศวกร  ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนาหัวข้อ “ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things” ได้แบ่งเป็นสองช่วง ในช่วงแรก สวทช. โดยหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ให้ความรู้ในผลงาน Kidbright คือ บอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกๆด้านในชีวิตประจำวัน เช่น การเกษตร การแพทย์ การธนาคาร การศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานจากเทคโนโลยีทั้งสิ้น

Kidbright เป็นอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่เหมาะใช้เป็นสื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 2 ส่วน 1.โปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง ที่สามารถเลือกมาวางเรียงกันตามความต้องการ ทำงานบน Android และ web based 2.อุปกรณ์ Hardware (Embedded Board)  เช่น บอร์ดแสง เซ็นเซอร์ต่างๆ ที่เป็นตัวแสดงผล

หลังจากนั้นเป็นการเปิดตัว PIE Sketch เรียนรู้ IoT อย่างมีจินตนาการ โดย NETPIE คือ IoT Platform ของเนคเทคที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ ให้รู้จัก และติดต่อกันแบบ Real time มีการเชื่อมต่อด้วยหลายๆภาษา หลายๆ OS รองรับหลากหลายอุปกรณ์ มีการเก็บข้อมูล และมี Dashboard ให้ใช้งาน บริการ PIE Sketch เป็นบริการเรื่องการเรียนการสอนด้าน IoT ที่เหมาะกับผู้เรียนสายศิลปะ เป็นการเชื่อมต่อ P5JS เข้ากับ NETPIE เหมาะกับการให้ศิลปินที่จะเขียนโปรแกรมเพราะการใช้งานง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน สามารถ share ได้ง่าย และ Run บน Browser ได้เลย พร้อมกับมีการสาธิต PIE Plant และ ให้ร่วมเล่นเกม BINGO ผ่าน NETPIE

ในช่วงสุดท้ายเป็นการเสวนาหัวข้อ “แนวทางการประยุกต์ใช้ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” ดำเนินการเสวนาโดยเนคเทค  ผู้เสวนาประกอบด้วย 1.ผอ.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ 2.ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 3.อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4.กรรมการบริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด 5. เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สสวท. เริ่มจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ STEM คือเป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรัก และสนใจใน วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematic) อีกทั้งยังมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นห้องเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยโครงการนี้ได้ทำงานร่วมกับคณะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ STEM นี้ยังได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนกับเด็กในพื้นที่ห่างไกล พระ เณร และเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากว่า 10 ปีภายใต้โครงการสมองกลฝังตัว ในมุมของบริษัทก็ยืนยันว่าทุกอย่างต้องมาจากความแม่นยำของพื้นฐานทั้ง 4 ด้าน (STEM) และในมุมนโยบาย สสวท. ปกติการเรียนการสอนจะใช้แบบบูรณาการ และภายหลังปรับมาเป็นการเรียนการสอนแบบ STEM โดยเน้นให้เป็นการนำความรู้ทาง STEM มาพัฒนาทำสิ่งใหม่ และประกอบอาชีพ ซึ่งจะได้มีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ STEM บูรณาการ และการคิดเชิงคำนวณ (Computing)

ส่วนความเกี่ยวข้องของการเรียนการสอน STEM กับ IoT นั้น การเรียนการสอน STEM จะใช้ IoT เป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจในการเรียน โดยต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และต้องมองถึงความสำคัญของ IoT ในยุคปัจจุบันที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตทุกๆด้าน

 

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Part 3


Watch more on Youtube

]]>
Session 10 – Health Tech: The Next Frontier for Thailand 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2017/healthtech/ Wed, 09 Aug 2017 15:25:43 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=105 Read more

]]>

หัวข้อ : Health Tech: The Next Frontier for Thailand 4.0
เทคโนโลยีสุขภาพ: พรมแดนถัดไปของ Thailand 4.0
ห้องสัมมนา
: meeting room 4
เวลา : 13.00 – 16.00 น.

เนื้อหาโดยย่อ

การก้าวสู่อนาคตด้วยวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 นั้น หนึ่งในหัวข้อที่มีการพูดถึงอยู่เสมอคือ ระบบสุขภาพของประเทศ ในสัมมนานี้ เรานำเสนอแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพของประเทศ อะไรคือสิ่งที่จะมา และจะมาอย่างไร เมื่อไหร่ พร้อมกับกลยุทธ์วิธีการเตรียมความพร้อมและรับมือเพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกันดังเช่นที่กำลังเกิดในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลสุขภาพนั้นมีความอ่อนไหวมากกว่าข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ ทางเนคเทคจะนำเสนอ Ulife.info แพลตฟอร์ม API ด้านข้อมูลสุขภาพเพื่อให้การเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพสามารถทำได้อย่างสะดวกทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูล พร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นทางด้านแม่และเด็ก เช่น มุมแม่ และ KidDiary ที่เชื่อมโยงถึงกันผ่านแพลตฟอร์ม Ulife.info

กำหนดการ

12:30-13.00 น. ลงทะเบียน

13.00-14.30 น. เปิดตัว ULife: แพลตฟอร์มสาธารณะเพื่อสุขภาพ ชวนเมคเกอร์ไทยร่วมต่อยอด

  • ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์
    นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ULife Show Case: ตัวอย่างแอปพลิเคชั่น เพื่อเชื่อมต่อและติดตามพัฒนาการลูกน้อย

  • ดร.พิมพ์วดี เชาวลิต อาหวาด
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
    นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดําเนินชีวิต
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

14.30-14.45 น. ภาพรวมเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของเนคเทค

  • ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
    ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

14.45-16.00 น. การเสวนาหัวข้อ “Digital Trends in Health care Services แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์”

ร่วมเสวนาโดย

  • นายแพทยชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์
    ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน
    สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด
    ผู้อํานวยการ สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  • เภสัชกรหญิงวลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล
    บริษัท Zeekdoc จํากัด

ดำเนินรายการ โดย
ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์
นักวิจัยอาวุโส
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนาหัวข้อ “เทคโนโลยีสุขภาพ : พรมแดนถัดไปของ Thailand 4.0” (Health Tech: The Next Frontier for Thailand 4.0) ประกอบด้วยการเสวนา 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นการเปิดตัว Ulife : แพลตฟอร์มสาธารณะเพื่อสุขภาพ และชวนเมคเกอร์ไทยร่วมต่อยอด โดย ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และได้นำเสนอ ULife Show Case : ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมต่อและติดตามพัฒนาการลูกน้อย โดย ดร.พิมพ์วดี เชาวลิต อาหวาด นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ นำเสนอแอปพลิเคชั่น “มุมแม่ เป็นแอพพลิเคชั่น บันทึกประวัติและสถิติการให้นมแม่ ช่วยหาห้องให้นมลูกเมื่อออกนอกบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ สามารถทั้งใช้ข้อมูลและแชร์ข้อมูลได้ สามารถดาวน์โหลดได้แล้วบนระบบ Android หรือเข้าดูข้อมูลอื่นๆ ที่เว็บไซต์ www.moommae.com และ ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดําเนินชีวิต นำเสนอ Kid Diary Platform” โปรแกรมบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถติดตาม เฝ้าระวัง กำหนดการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ พร้อมทั้งคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 19 ปี โดยมีการแจ้งเตือนเมื่อพบเด็กที่มีความเสี่ยง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพบแพทย์และรับการประเมิน พร้อมรับทราบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมรอบด้านตามวัย ซึ่งข้อมูลที่บันทึกและแสดงในโปรแกรมนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้ง ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นำเสนอภาพรวมเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของเนคเทค

ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาหัวข้อ “Digital Trends in Health care Services แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์” โดยนายแพทยชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อํานวยการ สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเภสัชกรหญิงวลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล บริษัท Zeekdoc จํากัด ทั้งนี้แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์ยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานแบบอัจฉริยะให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ซึ่งระบบดิจิทัลดังกล่าว คือ Electronic Health Record Sharing System (eHRSS) คือ ระบบกลางที่รวบรวมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์บันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย และการให้การรักษาของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นระบบสมัครใจ (Voluntary System) ผู้ป่วยสามารเลือกได้ว่าจะเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของตนเองให้กับสถานพยาบาลใดบ้างในระบบ eHRSSซึ่งการสมัครเข้าสู่ระบบนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยในส่วนของสถานพยาบาลจะสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ต่อเมื่อสมัครอยู่ในระบบ eHRSSและผู้ป่วยยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้แก่สถานพยาบาลนั้นๆ

ความสำเร็จและประโยชน์ของระบบ eHRSS

  • eHRSSจะช่วยให้ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยออนไลน์บนระบบอิเล็กทรอกนิกส์ตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
  • สถานพยาบาลจะสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีข้อมูลสุขภาพสำหรับการบริการพยาบาลได้ดีมากขึ้นแม่นยำขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการระบุข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบกระดาษเดิม

 

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Part 3


Watch more on Youtube

]]>
Session 7 – Dynamic Data Driven Application Systems (DDDAS) https://www.nectec.or.th/ace2017/dynamicdata/ Sun, 06 Aug 2017 14:13:26 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=54 Read more

]]>

หัวข้อ : Dynamic Data Driven Application Systems (DDDAS) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในยุค Big Data
ห้องสัมนา : Meeting room 2
เวลา : 14.45 – 16.15 น.

ภาพรวมสถาปัตยกรรมของ Dynamic Data-Driven Application Systems (DDDAS)

Dynamic Data-Driven Application Systems (DDDAS) เป็นระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่ขับเคลื่อนด้วย "ข้อมูล" แบบพลวัตร มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ แหล่งข้อมูล (Data Sources) แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data Platform) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดยมีการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง จากแหล่งข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มฯ และระบบสนับสนุนฯ และย้อนกลับ

ร่วมเสวนาสถาปัตยกรรมและศักยภาพของ DDDAS ในการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการแก้ไขปัญหาและการวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคาดการณ์ผลกระทบของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติในยุค Big Data แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และอัพเดทเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อน DDDAS อันได้แก่ ระบบการจัดหาข้อมูล แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

กำหนดการย่อย

14:30-14:45 น. ลงทะเบียน

14:45-15.10 น.
การบรรยายหัวข้อ “หุ่นยนต์สำหรับสำรวจข้อมูลทางอุทกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม”

โดย ผศ.ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

15.10-15.35 น.
การบรรยายหัวข้อ “BigStream: แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์”

โดย คุณคำรณ อรุณเรื่อ
ผู้ช่วยวิจัย ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

15.35-16.00 น.
การบรรยายหัวข้อ “Model-driven and data-driven DSS สำหรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่”

โดย ดร. ศิโรจน์ ศิริทรัพย์
นักวิจัย ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

นายสุริยะ อุรุเอกโอฬาร
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนานี้ได้แนะนำและนำเสนอศักยภาพของระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่ขับเคลื่อนด้วย "ข้อมูล" แบบพลวัตร (Dynamic Data-Driven Application Systems: DDDAS) ที่มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ แหล่งข้อมูล (Data Sources) แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data Platform) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดยมีการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง จากแหล่งข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มฯและระบบสนับสนุนฯ และย้อนกลับ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา การวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และการคาดการณ์ผลกระทบของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ดังนี้

  1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดย ดร.ศิโรจน์ ศิริทรัพย์ บรรยายถึงหลักการและความสำคัญของ DSS ประกอบด้วย (1) Early Warning System (2) Forecasting Systems และ (3) Scenarios-Based/Optimization System ภายใต้ความสำคัญของข้อมูล คือ ข้อมูลที่ดีนำไปสู่แบบจำลองที่ดีด้วย
  2. หุ่นยนต์สำหรับสำรวจข้อมูลทางอุทกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดย ผศ.ดร.ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ แนะนำถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเก็บข้อมูลซึ่งมีทั้งจากภาคสนามและโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แนะนำ ได้แก่ เทคโนโลยีและเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ เทคโนโลยีและเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมทางอากาศ และเซ็นเซอร์ทางภาคพื้นดิน เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับ DDDAS ได้เป็นอย่างดี
  3. แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดย คุณคำรณ อรุณเรื่อ บรรยายถึงความสำคัญและศักยภาพของ Data-Driven Platform สำหรับเป็นสื่อกลางในการวิเคราะห์ข้อมูล หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งในที่นี้คือ BigStream มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ (1) Multi-purpose Stream Storage (2) NoSQL Database (Batch, Real-Time) และ (3) Feature (Large-Scale Data Store (Billions Records Per Storage), Fast Read/Write, Fast Access, Light Weight & Portable, Various Data Types)

ทั้งนี้ มีตัวอย่างผลงานสำคัญที่ผ่านมา ได้แก่ TanPibut (ทันพิบัติ), TanRabad (ทันระบาด), RakNam (รักษ์น้ำ) และ TanBumbud (ทันบำบัด) เป็นต้น

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Part 3


Watch more on Youtube

]]>
Session 8 – พลังแห่งการศึกษาดิจิทัล (Power of Digital Education) https://www.nectec.or.th/ace2017/digitaledu/ Sun, 06 Aug 2017 14:05:54 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=56 Read more

]]>

หัวข้อ : พลังแห่งการศึกษาดิจิทัล (Power of Digital Education)
ห้องสัมมนา
: meeting room 3
เวลา : 10.30 – 12.00

เนื้อหาโดยย่อ

ภายใต้ยุคไทยแลนด์ 4.0 การศึกษาไทยก็กำลังก้าวเข้าสู่ดิจิทัลเช่นกัน ปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย หลายแห่งที่มีการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา เข้ามาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน เมื่อปี 2558  สวทช. ได้ริเริ่มโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปี 2560 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้ริเริ่มโครงการระบบการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน ผลลัพธ์ของโครงการเกิดระบบบริการการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Courses) หรือ MOOC ระดับชาติ สนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์รองรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผลการเปิดให้บริการการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่งผลให้เห็นข้อมูลการใช้งานในเชิงลึกซึ่งสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้เรียนและศักยภาพของระบบ ในขณะที่การศึกษาได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ประสบการณ์ของหน่วยงานการศึกษาที่ได้เปิดระบบให้บริการการศึกษาแบบออนไลน์นี้ จะเป็นเนื้อหาสำคัญในการวางแผน ออกแบบ และปรับปรุงระบบและกระบวนการให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ กับสังคมไทยยิ่งขึ้น การเสวนานี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสร้างระบบและให้บริการการศึกษาออนไลน์มาร่วมอภิปราย ถ่ายทอดประสบการณ์ และชี้แนะแนวทางของการจัดการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไป

ร่วมเสวนาโดย

  1. รศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
    รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ
    อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
    AIT (Asian Institute of Technology)
  3. ดร.วรสรวง ดวงจินดา
    ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  4. รศ.ดร. อติวงศ์ สุชาโต
    อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการ โดย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

 

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย  นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้กล่าวในช่วงแรกไว้ว่าปัจจุบันเราต้องเจอกับ Disruptive Technology ต่าง ๆ และในด้านการศึกษาก็มี disruptive education ด้วย McKinsey & Co ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนในศตวรรษที่ 21 จะมีลักษณะความเป็น  personalized learning ซึ่งประกอบไปด้วย self-directed,  relevant,  Journey focused  และ Strength based  มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) เช่น ออกแบบตามหลัก cognitive science มีการใช้ Evidence based เป็นต้น และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ต้องการ มีการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเป็นสังคมมากขึ้น

ผศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี  รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่านิยามของ digital education คือ

  • ทำให้เกิดการสื่อสารความรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นสื่อที่มาจากผู้เผยแพร่หลายแหล่ง (Variety of learning resources.)
  • ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่ (Ubiquitous learning; learning at any place any time)
  • แก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง/เฉพาะบุคคล (On-demand and personalized learning)
  • ระบบการศึกษายืดหยุ่นมากขึ้น การเชื่อมโยงในระบบ/ นอกระบบเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา (Mix and blended between education system)
  • สร้างโอกาสเข้าถึง/แลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน (People are connected)
  • สามารถประเมินผู้เรียนได้อย่างแท้จริงสามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลาย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้

ดร. อติวงศ์ สุชาโต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีกับค่านิยม Digital Technology พลังแห่งการขับเคลื่อนด้วยวิศวกรรม หรือพฤติกรรมของคน

  • เทคโนโลยี / วัฒนธรรม / ค่านิยม เป็นพลังขับเคลื่อนให้โลกดำเนินไปพร้อมๆ กัน ดำเนินไปตามธรรมชาติ
  • เทคโนโลยีปัจจุบัน เข้ามา break through communication เทคโนโลยีทำให้ cost ต่างๆมันถูกลง เช่น ค่า Internet ทึ่ถูกลงมาก ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น
  • นอกจากนี้ความก้าวหน้าของ Digital Technology เช่น web, HTML5 ทำให้การเรียนรู้มีสิ่งที่น่าสนใจ
  • เทคโนโลยีทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connected) เข้ามาเติมเต็มช่องว่าง

รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นในแง่ผู้ใช้งานว่า

  • Digital Education ทำให้เข้าถึงการเรียนสามารถทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก  
  • Digital Education โอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้ รวมไปถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ทราบว่านักเรียนมีความสามารถในระดับใด ระบบสามารถที่จะปรับเปลี่ยนในการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับการเรียนของแต่ละคนได้ เช่น บางคนอาจชอบที่จะเรียนทฤษฎีให้เข้าใจก่อนแล้วจึงทำตามตัวอย่างขณะที่บางคนจะชอบดูตัวอย่างควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี
  • กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียน (Personalized)
  • Learning/Learner Analytics Personalized & Adoptive Learning
  • Learning/Learner Analytics วิเคราะห์ประวัติการเรียน > วิเคราะห์ผลการเรียน > วิเคราะห์พฤติกรรม > พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
  • Paganized & Adaptive Learning

ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้กล่าวเสริมว่าการเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำให้เราสามารถเรียนในเวลาที่ชอบและพบปะกับผู้คนได้หลากหลายมากขึ้น 

Digital Education ให้อะไรในสิ่งที่ Education สมัยก่อนทำไม่ได้

  • Education revolution
  • Readiness            
  • Diversity                              
  • Options
  • Freedom of voice (กล้าแสดงความคิดเห็น)
  • Cost – based opportunities
  • Languages & skills
  • globalization

ผศ.ดร.อนุชัยฯ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Thai MOOC ซึ่งเป็นตลาดความรู้ ที่ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยกว่า 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาร่วมจัดทำรายวิชาได้ 140 รายวิชาแล้ว นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ J-MOOC ประเทศญี่ปุ่น และ K-MOOC ประเทศเกาหลี

ด้วย ดร.วรสรวงฯ  ได้กล่าวเสริมว่าได้มีการเปิด facebook thai academic เพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการทำ thai mooc และมีการแบ่งปันประสบการณ์ เช่น เครื่องมืออะไรเหมาะกับผู้เรียนอะไรบ้าง และมีการแนะนำให้ผู้สอนเข้าใจการสอนแบบที่มีผู้เรียนจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการสอนแบบเดิมมาใช้กับการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากเช่นนี้ได้

รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ยังได้แนะนำ Chula MOOC ที่พัฒนาด้วย platform courseville เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 โดย รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ได้นำเสนอคุณลักษณะของ Platform couseville ในด้านการจัดการเนื้อหาการสอน การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงท้ายของการเสวนา ยังได้กล่าวถึง ข้อดี-ข้อเสียของ Digital Education รวมไปถึง ข้อจำกัด แนวทางในการพัฒนาในอนาคต ดังนี้

ปัญหา/ข้อจำกัด

  • อาจารย์/ผู้สอน ยังไม่ชำนาญ ในการจัดการกับผู้เรียนจำนวนมากมหาศาลอย่างไร ผู้สอนต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่ ๆ
  • ผู้สอนต้องเข้าใจว่า Technology ไหนเหมาะสมกับผู้เรียนของตน
  • ผู้สอน ต้องการ support อะไรเพิ่มบ้าง ผู้พัฒนา Thai MOOC จะต้องให้การ support โดยปัจจัยพื้นฐาน เช่น e-mail, YouTube

ความท้าทาย

  • แรงจูงใจและการกระตุ้นการเรียนรู้
  • การพิสูจน์ตัวตน
  • การผลิต content ที่มีคุณภาพ
  • น่าสนใจ ดึงดูด สอดคล้องเป้าหมาย
  • ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ, เวลา, ทรัพยากร

ข้อดี

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย, สถานที่, การเดินทาง    
  • ลดปัญหาการจัดการตารางเวลาผู้สอน/ผู้เรียน  
  • ใช้สอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนผู้สอน        

คำแนะนำในการพัฒนาต่อไป

  • ปัจจุบันค่อนข้างขาดแคลน Programmer
  • Platform, content เริ่มมีการพัฒนาดีขึ้นแล้ว แต่การทำ e-Portfolio ยังติดเงื่อนไขว่าจะทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
  • แรงบัลดาลใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-motivation) ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องสร้างแรงกระตุ้น จะทำอย่างไรให้คนใฝ่รู้ ให้สนใจแหล่งความรู้มีความใฝ่รู้
ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)
]]>
Session 6 – แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ https://www.nectec.or.th/ace2017/smartgrid/ Sun, 06 Aug 2017 06:22:26 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=52 Read more

]]>

หัวข้อ : แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ การจัดเก็บพลังงาน และการจัดการพลังงาน
ห้องสัมมนา
: meeting room 2
เวลา : 13.00 – 14.30 น.

เนื้อหาโดยย่อ

ร่วมเสวนาเกี่ยวกับ แนวทางการบูรณาการ (Integration) เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources) การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และการจัดการพลังงาน (Demand Side Management) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า เนื่องด้วยประเทศไทยได้มีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์จากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีมาตรการต่างๆเพื่อสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ มีคุณภาพและมีความมั่นคง อย่างไรก็ดีการผลิต การจำหน่ายและการบริหารการใช้ไฟฟ้า ยังมีประเด็นท้าท้ายอีกมากในระบบที่มีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์จากพลังงานหมุนเวียน

ประเด็นมุ่งเน้นในการเสวนานี้คือ (1) Smart Grid Implementation in MEA (2) Renewable Energy Integration and Energy Storage in Commercial Scale และ (3) Future Trend in Electrical Power Systems

กำหนดการย่อย

12:30-13.00 น. ลงทะเบียน

13.00-13.30 น. การบรรยายหัวข้อ “Smart Grid Implementation in MEA”
โดย นายทวีชัย กุศลสิทธารถ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า
การไฟฟ้านครหลวง

13.30-14.00 น. การบรรยายหัวข้อ “Renewable Energy Integration and Energy Storage in Commercial Scale”
โดย นายสุวัฒน์ กมลพนัส
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรม พลังงานทดแทน
สภาอุตสาหกรรม

14.00-14.30 น. การบรรยายหัวข้อ “Future Trend in Electrical Power Systems”
โดย ดร.ชาญชัย อมรวิภาส
ผู้ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายวิศวกรรมและวิชาการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ดำเนินรายการ โดย

ดร.เจษฎา ขัดทองงาม
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

แนวทางการบูรณาการ (Integration) เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources) การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และการจัดการพลังงาน (Demand Side Management) ในการเสวนานี้ มุ่งเน้นใน 3 ด้าน คือ (1) Future Trend in Electrical Power Systems (2) Renewable Energy Integration and Energy Storage in Commercial Scale และ (3) Smart Grid Implementation in MEA ดังนี้

  1. Future Trend in Electrical Power Systems
    ดร. ชาญชัย อมรวิภาส บรรยายให้เห็นถึงแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในอนาคต โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานทดแทนและการเข้ามามีบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน ทำให้เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ และสถานีอัดประจุ นอกจากนี้ ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยสร้างเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ตลอดจนแนวคิดของ Smart Grid, Smart Home และ Smart City รวมทั้ง Internet of Things (IoT) และ Cyber Security จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางของ Thailand Energy Policy 4.0
  2. Renewable Energy Integration and Energy Storage in Commercial Scale
    คุณสุวัฒน์ กมลพนัส บรรยายให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของ ESS ในระดับเชิงพาณิชย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องของ (1) Peak-load Shifting and Frequency Regulation (2) Renewable Energy Integration และ (3) Off Grid Applications โดยที่ทั่วโลกนิยมใช้กันมากจะเป็นในเรื่องของ Pumped Hydro ดังจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมด้าน ESS มีโอกาสเติบโตสูง โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน “โครงการสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม New S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง” เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา โดยจะสนับสนุน “Energy Storage Giga Factory” เป็นโครงการเร่งด่วนด้วย
  3. Smart Grid Implementation in MEA 
    คุณทวีชัย กุศลสิทธารถ กล่าวแนะนำถึงขอบเขตการดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.64 ของพื้นที่ประเทศไทย และนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของ กฟน. ที่เกี่ยวข้องกับ ESS ตามแผน Smart Metro Grid ปี 2560 – 2564 ประกอบด้วย (1) แผนระบบไฟฟ้ามั่นคง ได้แก่ Substation Automation (SA), SCADA/EMS/DMS, FCI, LBS/FRTU, Asset Management, IT integration (2) แผนบริการมั่นใจ ได้แก่ MEA Smart Life, AMI Commercial & Industrial, Web Portal, OMSAMI Pilot Project และ (3) แผนห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Electric Vehicle (EV) & Charging Station, BEMS/FEMS/DR, Microgrid, Intelligent Street Light

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Part 3

Watch more on Youtube

]]>
Session 9 – เทคโนโลยีก้าวไกล ไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2017/smartfarm/ Sat, 05 Aug 2017 09:04:03 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=58 Read more

]]>

หัวข้อ : เทคโนโลยีก้าวไกล ไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0
ห้องสัมมนา
: meeting room 3
เวลา : 13.00 – 16.00

เนื้อหาโดยย่อ

ในวันที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายว่าจะไปให้ถึงไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ทั่วโลกต่างเร่งพัฒนากันอย่างรวดเร็ว ทั้งภาคหน่วยงานวิจัยและภาคเอกชนทั่วโลกต่างพากันเร่งก้าวเท้า บ้างก็เขย่งก้าวกระโดดเพื่อพยายามผลิตเทคโนโลยีที่ทิ้งห่างคู่แข่งให้ได้ไกลที่สุด ในวันนี้เราจึงไม่ควรหยุดนิ่งหรือเดินช้า และปล่อยให้ทุกคนแซงหน้าเรา

เนคเทค สวทช. ในฐานะสถาบันวิจัยภาครัฐ ได้มีพันธกิจสำคัญที่จะร่วมผลักดันเกษตรกรไทยให้ก้าวทันยุค 4.0  โดยในวันนี้เนคเทคได้มีชุดผลงานวิจัยพร้อมใช้ “NECTEC FAARM Analytics Solutions” ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2560 แล้ว ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยชุดเทคโนโลยีเซ็นเซอร์เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเกษตร (FAARM SENSE FAMILY + Atmosphere-Earth Information) รวมถึงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (TAMIS) ชุดเทคโนโลยีประมวลข้อมูลทางด้านการเกษตร (FAARM ALICE) และชุดเทคโนโลยีควบคุมสภาพแวดล้อมการเกษตร (FAARM FIT FAMILY) มาร่วมเรียนรู้ผลงานชุดนี้แบบรู้ลึกและเข้าใจ จะไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0 ต้องรู้จักเทคโนโลยีอะไรบ้าง และเนคเทคจะมีทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรไทยอย่างไรต่อไป โปรดมาร่วมกันหาคำตอบได้ในเสวนา “เทคโนโลยีก้าวไกล ไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0”

กำหนดการเสวนา

12.30 – 13.00 ลงทะเบียนหน้าห้องเสวนา

13.00 – 14.30 รู้ลึกผลงาน “NECTEC FAARM Analytics Solutions”

ร่วมเสวนาโดย

  1. ดร. กัลยา อุดมวิทิต
    รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  2. ดร. อัมพร โพธิ์ใย
    ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
  3. ดร. นพดล คีรีเพช็ร
    นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  4. ดร. ธีระ ภัทราพรนันท์
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยแมชชีนวิชั่น
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  5. ดร ศุภนิจ พรธีระภัทร
    หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  6. นายทวี ป๊อกฝ้าย
    ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

14.30 – 14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 การเสวนา “เทคโนโลยีก้าวไกล ไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0

ร่วมเสวนาโดย

  1. นายคมสัน จำรูญพงษ์
    รองเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  2. นายสถาพร ใจอารีย์
    ผู้อำนวยการ กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน
  3. นายอนุวัฒน์ ปัญจมาภิรมย์
    รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย
    ประธาน บริษัท โกลบอลอะโกรเทรด จำกัด
  4. นายสรพัศ ปณกร
    อุปนายก สมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย

ดำเนินรายการ โดย

  1. นายพิสุทธิ์ ไพบูลย์รัตน์
    ผู้เชี่ยวชาญวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  2. ดร. กัลยา อุดมวิทิต
    รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

เนื้อหาช่วงที่ 1 รู้ลึกผลงาน “NECTEC FAARM Analytics Solutions”

การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของเนคเทคเป็นไปเพื่อตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 ทางด้านเกษตร ก้าวข้ามความท้าทายของภาคการเกษตรไทย พัฒนาการเกษตรแบบ “ทำมากได้น้อย” (ต้นทุนมาก ลงแรงมาก แต่ได้ผลผลิตน้อย) ให้เป็นแบบ “ทำน้อยได้มาก” (ต้นทุนน้อย ลงแรงน้อย แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น) มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาวะตลาด เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรของเนคเทคประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 กลุ่ม คือ

  1. Agri-information (ระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการเกษตร)
  2. Sensor System and IoT (ระบบรับข้อมูลและอินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง)
  3. Automation & Control System (ระบบอัตโนมัติและการควบคุม)
  4. Learning Tools (ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเกษตร)

ซึ่งเนคเทคได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด (Massive Open Online Course, MOOC) ทางด้านการเกษตรที่เปิดกว้างและมีทั้งช่องทางออนไลน์ (www.nectec.or.th/zoning) และช่องทางออฟไลน์

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีในการทำเกษตรประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การใช้ระบบเซนเซอร์เพื่อติดตามข้อมูลในแปลงเกษตร (Data Input) 2. การประมวลผลข้อมูล (Data Analytic) และ 3. ระบบการควบคุมที่แม่นยำ (Precise Control) ผลงานเทคโนโลยีทางด้านเกษตรของเนคเทคที่นำเสนอในงานสัมมนานี้ประกอบด้วย

  • Smart Farm Platform โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ซึ่งประกอบด้วยชุดเซนเซอร์คุณภาพสูง 7 ชนิด (อุณหภูมิในอากาศและในดิน ความชื้นในอากาศและในดิน ความเข้มแสง แรงดันอากาศและแรงดันน้ำ) Data Logger ระบบคลาวด์และระบบควบคุมในโรงเรือนแบบครบวงจร สามารถนำมาใช้ติดตั้งในฟาร์มทั้งระบบเพื่อช่วยให้เกษตรกรมือใหม่สามารถปลูกพืชให้มีคุณภาพใกล้เคียงหรือสูงกว่าเกษตรกรมืออาชีพจากการทดสอบใช้งานจริง (ผู้สนใจติดตั้งระบบสามารถติดต่อได้ที่ https://tmec.nectec.or.th)
  • เทคโนโลยีสำหรับการเพาะปลูกในโรงเรือน (Smart Green House) เช่น Water Fit หรือระบบให้น้ำสำหรับการเพาะปลูกที่ปรับอัตราให้น้ำอัตโนมัติตามระดับความชื้นในดิน ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่หรืออัตราการคายระเหยของพืชได้ Ambient Sense หรือระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือน Ambient Fit หรือระบบปรับและควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและก๊าซในโรงเรือน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ โดยเทคโนโลยีชุดนี้สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์เพื่อควบคุมระบบได้ในระยะไกล และมีการส่งบันทึกข้อมูลของเซนเซอร์เข้าอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบการเพาะปลูกในโรงเรือนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพืชโดยตรงโดยอาศัย Imaging Technology และ Variable Rate Technology เป็นหัวใจสำคัญ
  • เทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-nose) หรือระบบเซนเซอร์ตรวจวัดกลิ่นจากแก๊ซในอากาศซึ่งนำมาต่อยอดเป็นผลงานวิจัยทางด้านการเกษตรได้หลากหลาย เช่น เครื่องตรวจวัดความหอมของข้าวแบบพกพาสำหรับใช้ทดแทนเครื่อง Gas Chromatography ระบบวัดกลิ่นในสภาพแวดล้อม (Cloud Nose) เพื่อตรวจสอบระดับความแรงและทิศทางของกลิ่นเหม็นจากโรงเลี้ยงสัตว์ โดยเป็น Wireless Sensor Network ที่มีความสามารถในการวัดแก๊ซหลากหลายชนิดก่อนนำมาคำนวณและแปรผลเป็นกลิ่นที่ต้องการวัด โดยระบบมีการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ของผู้ใช้งานด้วยระบบคลาวด์ ท้ายที่สุด คือ Ammonia Sensor Network ซึ่งเป็น Wireless Sensor Network สำหรับตรวจวัดแก๊ซแอมโมเนียในโรงเลี้ยงสัตว์หรือโรงงานอุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีสำหรับผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aqua Solution of Sustainable, Aqua-SOS) ซึ่งประกอบด้วย Bubble fit หรือระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศอัตโนมัติตามค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) ChemEyeหรือเครื่องอ่านค่าสารเคมีในน้ำ Minimal Shrimp Lab หรือระบบตรวจติดตามสมดุลอินทรีย์ในน้ำซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคตายด่วนในกุ้ง (โรค EMS) และหลัก Key5 ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสภาวะสมดุลธรรมชาติเพื่อกำจัดแบคทีเรียตัวก่อโรค EMS ในกุ้ง
  • เทคโนโลยี Data Analytics สำหรับการเกษตร ซึ่งเนคเทคได้เริ่มต้นพัฒนาจากระบบบูรณการพื้นที่เพาะปลูก (What2Grow) มาเป็นแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จนมาสู่แพลตฟอร์ม Analytics Engines สำหรับการเกษตร (FAARM AlicE) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเกษตรแม่นยำให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (ทดลองใช้ Agri-Map Online ได้ฟรีที่ https://agri-map-online.moac.go.th/login และ Application Agri-Map Mobile ใน Google Play)

เนื้อหาช่วงที่ 2 เสวนา “เทคโนโลยีก้าวไกล ไปให้ทันเกษตรกรรม 4.0”

การเสวนาช่วงนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรจากภาครัฐ 2 ท่าน และภาคเอกชน 2 ท่าน ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรม 4.0 ของประเทศไทย คุณคมสันต์ จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้กล่าวถึงเป้าหมายการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย โดยการนำเทคโนโลยี อาทิ Big Data Analytics, Artificial Intelligence เข้ามาใช้ร่วมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ สศก. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคาดการณ์และวางแผนการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรให้ดีและมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น สศก. ยังร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรจัดทำโครงการฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One) และต้องการต่อยอดให้ฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลลึกถึงระดับรายบุคคลเพื่อปรับการสนับสนุนเป็นรายบุคคลได้ อีกทั้งยังมีวิสัยทัศน์ในการเปิดเผยฐานข้อมูลเป็น Open Data ให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นไป

ดร.สถาพร ใจอารีย์ ผู้อำนวยการกองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน Bio Economy หนึ่งในคีย์หลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปถึงเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 สิ่งสำคัญในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย คือ การจัดทำโซนนิ่งการเกษตรเพื่อช่วยแนะนำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชทดแทนที่เหมาะสมกับพื้นที่ตนเองและให้ผลตอบแทนดีกว่าพืชชนิดเดิม ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับเนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรในการพัฒนาระบบแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) เพื่อช่วยในการจัดโซนนิ่งการปลูกพืชในประเทศซึ่งเกษตรกรก็สามารถใช้งานระบบนี้ได้ฟรีด้วยตนเอง นอกจากการจัดทำโซนนิ่งการปลูกพืชแล้ว การพัฒนาเรื่องการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรกรรม เช่น การแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาล เอทานอล พลาสติกชีวภาพ สารให้ความหวานไซลิทอล ไปจนถึงยาชีวภาพหรือไบโอฟาร์มา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยในอนาคต

คุณอนุวัฒน์ ปัญจมาภิรมย์ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย ได้กล่าวว่าตนเองได้รับนโยบายจากหอการไทยให้เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่ม GDP ของประเทศด้วยภาคการเกษตร คุณอนุวัตน์ได้ให้ความเห็นว่าการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยจะต้องคิดให้ตลอดทั้ง Value Chain ซึ่งในแต่ละช่วง Value Chain สามารถใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีดมกลิ่นหรือวัดความหวานเพื่อช่วยคัดเลือกคุณภาพของผลไม้ การใช้ QR Code ในการตรวจสอบย้อนกลับจากปลายน้ำไปถึงต้นน้ำ การใช้เทคโนโลยีแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้คุณอนุวัตน์ยังกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วยลดปัญหานี้ได้ โดยควรจะมีหน่วยงาน เช่น เนคเทค ช่วยผลิตผลงานเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ที่ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่าย โดยนำผลงานดังกล่าวไปเชื่อมต่อกับภาคการศึกษาเพื่อให้มีการเรียนรู้ก่อนออกมาสู่ภาคแรงงานด้วย

คุณสรพัศ ปณกร อุปนายก สมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ได้กล่าวถึงความต้องการเทคโนโลยีของเกษตรกรว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มักต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่ในขณะเดียวกันมักจะไม่รู้ตัวว่าต้องการเทคโนโลยีอะไร จึงควรมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือ โดยส่วนตัวของคุณสรพัศให้ความชื่นชมผลงานที่เนคเทคนำเสนอ และอยากให้เนคเทคมีการผลักดันผลงานให้เป็นที่รู้จักของภาคการเกษตรโดยตนเองยินดีให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้คุณสรพัศได้ให้โจทย์ทางด้านเกษตรที่น่าสนใจ อาทิ เรื่องสารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตร เรื่องลดความเสี่ยงเพิ่มความสุขให้เกษตรกร เรื่องการทำ Virtual Shelf เพื่อวางจำหน่ายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เรื่องการเพิ่มคุณภาพสินค้าเกษตรไทยให้เป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของปราชญ์เกษตรกรท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย ในตอนท้ายคุณสรพัศได้แสดงความกังวลถึงระบบฟาร์มอัตโนมัติแบบครบวงจรจนไม่ต้องพึ่งพาแรงงาน เนื่องจากจะแย่งงานเกษตรกรไทยได้

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2


Watch more on Youtube

]]>
Session 5 – HPC Meets Big Data https://www.nectec.or.th/ace2017/hpc-bigdata/ Sat, 05 Aug 2017 09:04:03 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=50 Read more

]]>

หัวข้อ : HPC Meets Big Data
ห้องสัมมนา
: Meeting Room 2
เวลา : 10.30-12.00 น.

เนื้อหาโดยย่อ 

การใช้งาน High Performance Computing (HPC) โดยทั่วไปมักจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลในงานด้าน Computational Science แต่ปัจจุบันงานที่มีลักษณะเป็น Data-Intensive ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กำลังเป็นที่นิยม จึงเป็นที่มาของการเริ่มนำ HPC มาใช้กับงานประเภท Data Analytics หรือเรียกว่า High-Performance Data Analysis เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านการคำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูล ในหัวข้อสัมมนานี้จะเป็นการอภิปรายโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน HPC ที่มีอยู่ในประเทศไทย คือโครงการ National e-Science Consortium ซึ่งเป็นการให้บริการกำลังการคำนวณแก่งานวิจัยของประเทศไทย และนำเสนอโครงการด้าน Big Data Analytics คือโครงการ KitWai ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มการให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายภาพรวมของงานวิจัย และโอกาสที่จะต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทำ High-Performance Data Analysis ไปสู่นวัตกรรมบริการต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ประเทศไทย

กำหนดการย่อย

เวลา 10.00 – 10.30น. ลงทะเบียน
เวลา 10.30 – 12.00 น. การเสวนา "HPC Meets Big Data”
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

ผู้ร่วมเสวนา

  1. ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์
    กรรมการบริหาร
    มูลนิธิเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (C&C)
  2. ดร.ภุชงค์  อุทโยภาศ
    รองอธิการบดี ฝ่ายสารสนเทศ 
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. ดร.เอกสิทธิ์ กิจสิพงษ์
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ (LSR)
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
  4. ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการคํานวณระดับนาโน (SIM)
    ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ดำเนินรายการโดย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ( CSL)
 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนาหัวข้อ “HPC meets Big Data” หรือ”High Performance Computing Meets Big Data” ผู้ร่วมเสวนาได้นำเสนอประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย ดร.มนู อรดีดลเชรษฐ์ กรรมการบริหารมูลนิธิเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (C&C) ได้นำเสนอภาพรวมความต้องการในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Big Data & Service Innovation, The New Business Ecosystem, The Smart Service System และการประยุกต์ในภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ สำหรับ Thailand 4.0 ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอวิวัฒนาการของ HPC และการเข้ามาของ Cloud และ Big Data รวมทั้ง การนำ HPC และ Big Data ไปใช้ประยุกต์ในภาคการศึกษา และได้ฝากเน้นย้ำให้ตระหนักถึงการแสดงตัวตนในโลกออนไลน์ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เนื่องจากข้อมูลนั้นจะปรากฏและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดไป

ดร.เอกสิทธิ์ กิจสิพงษ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ หน่วยวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นำเสนอโครงการที่สำคัญที่เกี่ยวกับ Big Data Analytics คือ โครงการ KitWai คลาวด์คอมพิวติงแพลตฟอร์มสำหรับการประมวลผล Data Mining บนข้อมูลขนาดใหญ่ (Cloud Computing Platform for Large-scale Data Mining) เป็นต้นแบบคลาวด์คอมพิวติงแพลตฟอร์มในลักษณะของ On-demand Apache Spark Cluster บน OpenStack Cloud ที่จะช่วยสร้างบริการประมวลผล data mining หรือ machine learning ที่ขยายได้แบบยืดหยุ่น (elastic scale-out) ด้วยตนเอง (self-configure) โดยรองรับการประมวลผลบนหน่วยประมวลผลร่วมหรือ GPU และได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ HPC

และ ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ นักวิจัยห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน หน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) นำเสนอตัวอย่างโครงการที่ต้องใช้ HPC ที่เกี่ยวข้องกับ Big Data ได้แก่ Computer-Aided Drug Design, HPC Application: Molecular Simulation, Catalysis for Energy Production, Catalysts and Adsorbents for Pollutant Removal และ Biorefinery รวมทั้งได้กล่าวถึงความเหมือนและความต่างระหว่าง HPC & Big Data Applications

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

  1. Big Data & Service Innovation โดย ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์
  2. Are You Ready for Big Data? โดย ดร.ภุชงค์  อุทโยภาศ
  3. KitWai : Big Data Analytics in The Cloud โดย ดร.เอกสิทธิ์ กิจสิพงษ์
  4. HPC Meets Big Data โดย ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ
]]>
Session 3 – สปริงบอร์ดอุตสาหกรรมไทย 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2017/springboard-industry/ Sat, 05 Aug 2017 09:04:03 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=42 Read more

]]>

หัวข้อ : สปริงบอร์ดอุตสาหกรรมไทย 4.0
ห้องสัมมนา
: meeting room 1
เวลา : 10.30 – 12.00 น.

เนื้อหาโดยย่อ 

จากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ที่วงการอุตสาหกรรมต่างหันมาให้ความสนใจที่เรียกว่ายุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ อุตสาหกรรม4.0 เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตลาด ซึ่งประเทศไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่กำลังเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-based economy) ซึ่งเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ (Smart country) ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาระบบการผลิตอัจฉริยะที่จะต้องบูรณาการข้อมูลต่างๆ จากเครื่องจักรในสายการผลิตผ่านเทคโนโลยีไร้สายเพื่อประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

การเสวนาในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายอุตสาหกรรม4.0ของประเทศไทย และการนำเทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย (IoT) ไปประยุกต์ใช้จริงในด้านอุตสาหกรรมการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัท นิเด็ค ชิบาอุระ อีเล็คโทรนิกส์ ประเทศไทย จำกัด ได้นำแพลตฟอร์ม NETPIE (Network platform for internet of everything) ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงานเพื่อปรับตัวให้กลายเป็นโรงงาน 4.0ตลอดจนงานวิจัยที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้ดำเนินการเพื่อเป็นส่วนนำร่องของSmart factory ที่เป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีต่างๆ อันได้แก่ Sensor, IoT devices, IoT Cloud Platformและ Manufacturing Data analytics สำหรับตอบโจทย์และรองรับอุตสาหกรรม 4.0  อันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้ใช้งานทั้งในด้าน System integration (SI) โรงงานต่างๆภายในประเทศ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ร่วมเสวนาโดย

  1. นายสมหวัง  บุญรักษ์เจริญ
    ผู้อำนวยการ สถาบันไทยเยอรมัน
  2. นายเอกสิทธิ์  อินทร์ทอง
    ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป
    บริษัท นิเด็ค ชิบาอุระ อีเล็คโทรนิกส์ ประเทศไทย จำกัด
  3. ดร.สุวัฒน์ โสภิตพันธ์
    ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส  ฝ่ายวิศวกรรม
    ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
  4. นาย ดนุชา อิศรางกูร ณ อยุธยา
    โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP)
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

นายชัยวุฒิ สีทา
วิศวกร  ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนาหัวข้อ “สปริงบอร์ดอุตสาหกรรมไทย 4.0” ร่วมกับสถาบันไทยเยอรมัน บริษัท นิเด็คชิบาอุระ อีเล็คโทรนิกส์ประเทศไทย จำกัด ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) และงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ (สวทช.) ซึ่งสถาบันไทยเยอรมันได้ให้ความรู้เกี่ยวกับแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย พร้อมได้ให้ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ควรเริ่มพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้แก่ ระบบอัตโนมัติและหุ่นนยนต์ (Automatics and Robotics) ตลอดจนสถาบันไทยเยอรมันได้ให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม เป็นต้น ส่วนงานวิจัยด้าน Smart factory platform เป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีต่างๆได้แก่ เทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ (TMEC) IoT (NETPIE) และการวิเคราะห์เข้ามูล (KitWai) เพื่อ
มุ่งถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานหุ่นยนต์และผู้ดูแลผู้รับเหมาในด้านการรวมระบบ (System Integrator) โดยขับเคลื่อน ผ่าน Center of Robotic Excellence (CoRE)

ทั้งนี้ บริษัท นิเด็คชิบาอุระ อีเล็คโทรนิกส์ประเทศไทย จำกัด ได้แบ่งปันประสบการณ์การนำเทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย (IoT) อย่าง NETPIE ไปใช้จริงในการเชื่อมต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงานเพื่อปรับตัวให้กลายเป็นโรงงาน 4.0 อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในองค์กรได้ และนอกจากนี้ งานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ได้ให้ข้อมูลการเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย โดยได้ดำเนินโครงการให้บริการกิจกรรมบริษัทปรึกษาอุตสาหกรรมในรูปแบบของการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดการค้าสากลได้อย่างเข้มแข็งต่อไป

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

]]>
Session 4 – Trends and Technology for Smart Living https://www.nectec.or.th/ace2017/smartliveing/ Sat, 05 Aug 2017 08:59:30 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2017/?p=46 Read more

]]>

หัวข้อ : Trends and Technology for Smart Living
ห้องสัมมนา
: Meeting room 1
เวลา : 13.00 – 16.15 น.

เนื้อหาโดยย่อ

ไทยแลนด์ 4.0 หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ที่นำมาช่วยในการขับเคลื่อน คือ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) จะเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ มีการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เติบโตเพื่อเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) และเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในชีวิต (Smart Living) ทำให้เมืองเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเพิ่มเติมความสะดวกให้แก่วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ

การเสวนาในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Smart Living ทั้งในส่วนของภาพรวมและทิศทางของเทคโนโลยีโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตลอดจนตัวอย่างการนำงานวิจัยของ ศอ. ไปใช้งานจริงที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อสอดรับกับนโยบายภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ อาทิเช่น ระบบรู้จำป้ายทะเบียนรถรวมชื่อจังหวัดที่ได้นำเอาเทคโนโลยีประมวลผลภาพ (Image Processing) เข้ามาช่วยเพื่อรองรับงานของตำรวจจราจร ระบบอัจฉริยะจัดเก็บขยะ (Traffy Waste) ที่ถูกใช้งานโดยเทศบาลเมืองป่าตอง เป็นต้น พร้อมพบกับงานวิจัย Partii2goแปลงเสียงพูดเป็นข้อความตัวหนังสือ (Speech to Text Application) เพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรืองานที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล โดยได้เปิดให้ใช้งานแล้วอย่างเป็นทางการ

กำหนดการ

เวลา13.00-13.45 น.   เสวนาเรื่อง “Convergence for Smart Living”
โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการ
กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

เวลา13.45-16.15 น.   เสวนาเรื่อง “Technology for Smart Living”
ผู้ร่วมเสวนา

  1. พ.ต.อ.พีรยุทธ การะเจดีย์
    รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดภูเก็ต
  2. นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
    นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง
  3. นางสาวชัชฎา อภิชาสุทธากุล
    นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
  4. นายวศิน สินธุภิญโญ
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีภาพ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  5. ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  6. ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
    นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินการเสวนาโดย
 ดร.ศุภกร สิทธิไชย
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

  • บรรยาย เรื่อง Convergence for Smart Living

พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหลอมรวมของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับ Smart living ไม่ว่าจะเป็น Mobile wireless, Social media, Big data analytics, Blokchain, AI, IoTและ Smart material เป็นต้น ก่อให้เกิดนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Disruption innovation เช่น Robot, Cloud, Smart social media, Advanced search engine (AI search), Drone, Self driving vehicle & EV, Clean energy (Micro grid), Biometrics identification และ Cryptocurrency เป็นต้น ซึ่งเป็นการยกระดับองค์กรต่างๆ ให้มีศักยภาพสู่การเป็น Smart Business Model ต่อไป

  • เสวนา เรื่อง Technology for Smart Living

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีความสะดวกในชีวิต โดยมีภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ซึ่งในการพัฒนาเมืองจำต้องอาศัยงานวิจัยไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น

1) ด้านความปลอดภัยของเมือง โดยการบูรณาการเชื่อมโยงกล้อง CCTV ที่มีอยู่แล้วในจังหวัดและการประมวลผลภาพเพื่อป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ซึ่งเนคเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของตำรวจ ได้แก่ ระบบรู้จำป้ายทะเบียนรถยนต์ ระบบประมวลผลสภาพการจราจร เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เมื่อมีสภาพการจราจรติดขัด ระบบตรวจสอบการจอดรถในที่ห้ามจอด

2) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย น้ำท่วมขัง landslide เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องขยะที่มีจำนวนมาก ยากต่อการบริหารจัดการ เนคเทคได้พัฒนาระบบจัดการการเก็บขยะอัจฉริยะ (Traffy Waste) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการถังขยะ รถเก็บขยะ ร่วมกับการใช้ Mobile Application และGNSS ซึ่งสามารถช่วยวางแผนSchedule Route การจัดเก็บขยะแบบ Dynamic ได้ด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยีในอนาคตที่สามารถตอบโจทย์ด้าน Smart living ได้แก่ Smart home speaker เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุม (Control hub) การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านด้วยเสียงพูด โดยเนคเทคได้พัฒนาระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย: พาที (Partii) ใน2 รูปแบบ คือ 1) แบบ Client-server ครอบคลุมคำศัพท์กว่า 140,000 คำ ด้วยความถูกต้อง 80% ให้บริการได้ผ่าน Web serviceและ 2) แบบ Offlineที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมคำศัพท์ 1,000 คำ ด้วยความถูกต้อง 80% ซึ่งได้เปิดให้บริการฟรีในชื่อ Partii2go นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอื่นๆ ที่งานวิจัยสามารถช่วยตอบโจทย์เพื่อรองรับ Smart living อีกมากมาย เช่น เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับตำรวจ เทคโนโลยีเก็บค่าจอดรถ และการช่วยปิดช่องโหว่ในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Watch more on Youtube

]]>