ประวัติหน่วยงาน
บทนำ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้ดำเนินงานในเรื่องการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนคนพิการ
โดยเริ่มจัดทำโครงการเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อคนพิการ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เพื่อช่วยสร้างเสริม ศักยภาพคนพิการในการดำเนินชีวิตร่วมกับคนปกติในสังคมตามหลักการของ
ความเสมอภาคในเรื่องของโอกาส (equalization of opportunities) และการพึ่งพิง
ตัวเอง (independent living) ซึ่งเป็นนโยบาย ที่รัฐบาลหลายประเทศรวมทั้งหน่วยงานเพื่อคนพิการนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

นอกจากนั้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้มีมติแต่งตั้ง คณะอนุกรรม
การเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อคนพิการและคนด้อยโอกาส ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบ
ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีงานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี และอุปกรณ์ในประเทศ
เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ให้มากขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพ ให้คนพิการ
ได้รับโอกาส ที่ความเท่าเทียมกัน ในสังคม และ ลดการนำเข้าเทคโนโลยี และอุปกรณ์
จากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง และไม่ทำงาน รองรับ กับภาษาไทย ซึ่งทำให้เกิดปัญหา
การใช้งานในคนไทยดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้จัดทำ โครงการนำร่อง ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ โดยมีคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และ มีมติ
ให้ดำเนินโครงการ เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 - 2548
กลับสู่เนื้อหาหลัก
วัตถุประสงค์
- ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
- เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดเครือข่าย ของการวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ
- ให้การสนับสนุนส่งเสริม ติดตาม
ประสานงาน และประเมินผล งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกศูนย์วิจัยและพัฒนาฯ
- ให้การสนับสนุน ภาคอุตสาหกรรมไทย
ในการนำผลงานวิจัย ไปผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยทำหน้าที่ ประสานงาน ระหว่างภาครัฐ
และเอกชน ให้ดำเนินการ เป็นไปตามมาตรการ ของรัฐในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรม
- เป็นหน่วยงานในการทดสอบ และรับรองมาตรฐานอุปกรณ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
ทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่ผลิตภายในประเทศให้สามารถใช้งานกับผู้ใช้ที่เป็นคนไทยได้
- เป็นศูนย์ข้อมูลในการขึ้นทะเบียนอุปกรณ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่ผลิตภายในประเทศ
- เป็นศูนย์รวม ในการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
งานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาร่วม
กับสถาบันการศึกษา ให้เป็นองค์ความรู้สำหรับการเรียน และการผลิตบุคลากร
ที่มีความรู้ทางเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก
- เผยแพร่ความรู้ และประโยชน์ ของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้กับสังคม วงกว้าง เพื่อให้บุคคลทั่วไป ตระหนักถึงประโยชน์ ของเทคโนโลยี
สิ่งอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนพิการ และประโยชน์ที่ทุกคน
ในสังคมได้รับร่วมกัน
กลับสู่เนื้อหาหลัก
การดำเนินงานวิจัยและพัฒนา
- วิเคราะห์ความต้องการ และออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
เพื่อเป็นแนวทาง การกำหนดมาตรฐาน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อคนพิการ
- ประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ
และเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ให้เกิดเครือข่ายการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับคนพิการ
กลับสู่เนื้อหาหลัก
โครงสร้างการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาฯ
การดำเนินงานวิจัย
และพัฒนา ทำในรูปแบบของทีมงานเครือข่าย โดยประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ
และเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้เกิดเครือข่ายการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี
สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ รวมทั้งให้ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทย
ในการนำผลงานวิจัย ไปผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยโครงสร้าง การดำเนินงานเป็นดังนี้
กลับสู่เนื้อหาหลัก
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ( Assistive
Technology ) เป็นวิทยาการที่ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้พ้นจากอุปสรรค
ที่ทำให้คนพิการ มีสมรรถนะ ที่ด้อยกว่าคนปกติ ทั้งในด้าน การดำเนินชีวิตประจำวัน
การศึกษา และการประกอบอาชีพ วิทยาการของ เทคโนโลยีด้านนี้ จึงต้องคำนึงถึง
สภาพความพิการ อันได้แก่ ความพิการทางกาย ทางตา ทางหู ทางสติปัญญา และ ทางการเรียนรู้
ในการสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก ให้ตรงกับความต้องการ เฉพาะของผู้พิการแต่ละประเภท
การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ
ของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายสาขา นอกจากความรู้เทคโนโลยีแกนหลัก แล้วยังต้องใช้ความรู้
ทางด้านการแพทย์ การบำบัด การศึกษาพิเศษ วิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ ( Rehabilitation
Engineering ) รวมทั้ง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ต้องคำนึงถึงส่วนติดต่อใช้งาน
( User Interface ) กับผู้พิการ ซึ่งมีความต้องการพิเศษ
กลับสู่เนื้อหาหลัก