รายละเอียดโครงงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง เพลงในภาคต่างๆ แผนภูมิ สรุปผลการศึกษา
     

 

คำว่าไทยหรือชาติไทย ที่มีไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยอีสาน ไทยกล่าง รวมทุกๆภาค ก็คือไทยทั้งนั้น รวมกันแล้วก็เป็นชาติไทย แม้สำเนียงภาษาแต่ล่ะถิ่นจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถฟังกันรู้เรื่อง เพราะว่าเป็น "ศัพย์ไทย" ด้วยกันนั่นเอง

การวิวัฒนาการของภาษาและภาษาถิ่นต่างๆ วิถีคนไทยส่วนใหญ่อยู่ได้ด้วยภาวะการศึกษาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนไทยต้องแยกย้ายกันไป จึงทำให้ภาษาไทยสมัยต่อมาแตกต่างกันไป เพราะได้รับอิทธิพลจากภาษาที่เราไปอยู่ใกล้เคียง เช่น ภาษาเหนือมีภาษาพม่าเข้ามาปน ภาคใต้มีภาษามลายูเข้ามาปน ภาคอีสานมีภาษาญวนเขมรเข้ามาปน นอกจากนั้นยังมีภาษาต่างประเทศอื่นๆ เข้าปนตามกาลสมัย ทำให้เกิดความแตกต่างของภาษาถิ่นต่างๆ เช่น การออกเสียงสั้นยาว เสียงนาสิก เสียงควบกล้ำ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ ถ้าเทียบคำของภาษาถิ่น จะเห็นว่าภาษาถิ่นแต่ละภาษามีคำตรงกัน ความหมายอย่างเดียวกันก็มีมาก แต่ก็มีคำอีกจำนวนหนึ่งมีความหมายต่างกันออกไป

ภาษาถิ่น บางทีเรียกว่า ภาษาพื้นเมือง เมื่อเทียบกับภาษากลางหรือภาษาถิ่นมาตรฐาน และภาษาไทยทั่วไป เป็นภาษาพื้นเมืองเมื่อเทียบกับภาษาต่างประเทศ

®copyright 2003 design by Duangvipa School