Skip Navigation

ถาม-ตอบ Web Accessibility


ถาม Web Accessibility คืออะไร
ตอบ Web Accessibility คือ เว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้

ถาม ทำไมจึงต้องเป็นเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้
ตอบ เพราะกลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ นั้นไม่ได้มีแต่คนปกติเท่านั้น ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า กลุ่มคนพิการ ที่ยังต้องการแสวงหาความรู้เหมือนคนปกติ

ถาม กลุ่มคนพิการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
ตอบ เราสามารถแบ่งกลุ่มคนพิการที่ใช้คอมพิวเตอร์ ตามความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้คอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
  1. ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น - (ตาบอด,สายตาเลือนลาง,ตาบอดสี) คนกลุ่มนี้จะใช้คอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reader) หรือ บราวเซอร์แบบมีเสียง(Voice Browser)ซึ่งสามารถอ่านออกในรูปแบบของเสียงให้กับผู้ใช้รู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง หรือ ถ้าเป็น Hardware จะเป็น อุปกรณ์ต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลเป็นอักษรเบรลล์ได้ ที่เรียกว่า Braille Display
  2. ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน - (หูหนวก) คนกลุ่มนี้จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เหมือนคนปกติ แต่ข้อมูลที่อยู่ในรูปเสียงหรือเป็นแบบ Multimedia ต้องมีข้อมูล Text กำกับด้วย เช่น ข้อมูลที่เป็น VDO ต้องมีการสร้างคำบรรยายใต้ภาพ(Subtitleหรือ Caption) เป็นต้น
  3. ผู้ที่มีความบกพร่องทางกาย - (มือหรือแขนใช้งานไม่ได้) กลุ่มนี้จะจะไม่มีปัญหาเรื่องการมองเห็น และการได้ยิน แต่จะมีปัญหาในเรื่อง วิธีการในการ Navigate ข้อมูล ซึ่งอาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงช่วยในการ Navigate หรือใช้ Mouse ไม่ได้ใช้ได้แต่ Keyboard ซึ่งผู้พัฒนาเว็บไซต์ ต้องมีฟังก์ชั่นสำหรับคีย์บอร์ด ให้ด้วย
  4. ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา - (LD) กลุ่มนี้จะมีปัญหาในเรื่องการใช้งานที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ดังนั้นการใช้งานของกลุ่มนี้จะต้องมีโปรแกรมช่วย ซึ่งจะเหมือนกับของ กลุ่มพิการทางตา ที่จะต้องมีโปรแกรมอ่านหน้าจอ หรือ บราวเซอร์แบบมีเสียง

ถาม W3C คือใคร
ตอบ W3C คือ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีที่ใช้บนเว็บทั้งหมด https://www.w3.org/Consortium/

ถาม WCAG1.0 คืออะไร
ตอบ WCAG1.0 หรือ Web Content Accessibility Guidelines 1.0 คือ คำแนะนำในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ทุกคนเข้าถึง โดย W3C เป็นผู้กำหนด โดยจะแบ่งเป็น 14 ข้อใหญ่ๆ และจะมีหัวข้อย่อยๆ ซึ่งในหัวข้อย่อยๆ เหล่านี้จะแบ่งระดับของความสำคัญไว้ 3 ระดับ ดังนี้
  • priority 1 เป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือ ผู้พัฒนาเว็บไซต์จะต้องทำตามคำแนะนำนั้นๆ เพราะถ้าไม่ทำ หมายถึง ผู้พิการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
  • priority 2 เป็นข้อที่สำคัญรองลงมา คือ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ควรจะทำตามคำแนะนำ เพราะถ้าไม่ทำตามจะทำให้ผู้พิการเข้าถึงข้อมูลได้ยาก
  • priority 3 เป็นข้อที่สำคัญน้อยที่สุด คือ ผู้พัฒนาเว็บไซต์อาจจะทำตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าทำตามก็จะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของคนพิการได้ง่ายขึ้น
ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility)
ตอบ เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้จะต้องได้รับสัญลักษณ์แสดงระดับในการเข้าถึงข้อมูล โดยสัญลักษณ์นี้จะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
  • ระดับ 1 ดาว หมายถึง ระดับที่ผ่านการตรวจสอบ WCAG1.0 โดยทำตามคำแนะนำ ของ Priority 1ทั้งหมด
  • ระดับ 2 ดาว หมายถึง ระดับที่ผ่านการตรวจสอบ WCAG1.0 โดยทำตามคำแนะนำ ของ Priority 1และ Priority 2 ทั้งหมด
  • ระดับ 3 ดาว หมายถึง ระดับที่ผ่านการตรวจสอบ WCAG1.0 โดยทำตามคำแนะนำ ของ Priority 1,Priority 2 และ Priority 3 ทั้งหมด
ถาม ตรวจสอบเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึง(Web Accessibility) ได้อย่างไร
ตอบ สามารถทำได้โดยใช้บริการตรวจสอบ Web Accessibility ของเว็บไซต์ The Cynthia Says หรือที่ HiSoftware ซึ่งผลที่ได้จะรายงานออกมาในรูปของแต่ละหัวข้อของ Priority ซึ่งจะแจ้งให้ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ในหัวข้อนั้น เช่น ใน Priority 1 ถ้าในเว็บไซต์นั้นมีการแสดงภาพกราฟิก โดยใช้ Tag img จะต้องมี Attribute alt เพื่ออธิบายความหมายรูปนั้นด้วย ถ้าไม่มีจะรายงานว่า ไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึงว่าเว็บนี้ไม่ผ่าน การเป็นเว็บที่ทุกคนเข้าถึง (Web Accessibility) เป็นต้น

ถาม ผ่านการตรวจสอบเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงแล้ว สามารถติดสัญลักษณ์แสดงระดับการเข้าถึงได้อย่างไร
ตอบ ในเบื้องต้นนี้ที่ทำได้ คือสามารถที่จะใช้การเพิ่ม code ส่วนนี้ลงในส่วนท้ายของหน้าเว็บไปได้เองดังนี้

ในกรณี 1 ดาว Level A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0
<a href="https://www.w3.org/WAI/WCAG1A-Conformance" title="Explanation of Level A Conformance">
<img height="32" width="88" src="https://www.w3.org/WAI/wcag1A" alt="Level A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0"></a>

ในกรณี 2 ดาว Level Double-A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0
<a href="https://www.w3.org/WAI/WCAG1AA-Conformance" title="Explanation of Level Double-A Conformance">
<img height="32" width="88" src="https://www.w3.org/WAI/wcag1AA" alt="Level Double-A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0"></a>

ในกรณี 3 ดาว Level Triple-A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0
<a href="https://www.w3.org/WAI/WCAG1AAA-Conformance" title="Explanation of Level Triple-A Conformance">
<img height="32" width="88" src="https://www.w3.org/WAI/wcag1AAA" alt="Level Triple-A conformance icon, W3C-WAI Web Content Accessibility Guidelines 1.0"></a>


สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
E-mail: suppakit.thongdee@nectec.or.th

ระดับความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ ความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ระดับ 3 ดาว, อ้างอิง WCAG1.0