Skip Navigation

ผลงาน

โอภา รุ่น 2.3

รูปของ เครื่องโอภา เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง จนทำให้กดปุ่ม สัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถ เลือกช่อง หมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ ผู้ใช้มีการ บังคับ และควบคุมกล้ามเนื้อได้ กลับสู่เนื้อหาหลัก

ภาษามือไทย

รูปของ โปรแกรมภาษามือไทย โปรแกรมภาษามือไทย ชุดคำศัพท์คอมพิวเตอร์ นี้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการเก็บรวบรวมคำศัพท์ภาษามือไทย ทาง ด้าน คอมพิวเตอร์ไว้เป็นหมวดหมู่ และเพื่อเผยแพร่ เป็นท่ามาตรฐานภาษามือไทยให้เป็น ที่เข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ภาษามือ ใน ประเทศไทย การบัญญัติภาษามือไทย ชุดคำศัพท์คอมพิวเตอร์ นี้ เป็นผลงานของ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคม คนหูหนวก แห่งประ เทศไทย และกลุ่มคนหูหนวกที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็น วิทยากร ในการให้ความรู้เบื้องต้น กลับสู่เนื้อหาหลัก

สื่อช่วยสอนการพัฒนาทารก

รูปของ สื่อช่วยสอนการพัฒนาทารก สื่อการเรียนการสอน ช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะบกพร่อง ทางสติปัญญาได้ทันกาลภายในขวบปีแรก โดยพัฒนาสติปัญญาเพื่อให้เด็กสามารถช่วยตัวเองได้ พร้อมที่จะเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีส่วนร่วม ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ เนื้อหาความรู้ และแนวทางฝึกฝน พร้อมแบบประเมินทั้งเด็ก และผู้เรียนประกอบด้วย ความรู้ก่อนฝึก, ทักษะการเข้าใจภาษา, ทักษะกล้ามเนี้อมัดเล็กและสติปัญญา, ทักษะการเคลื่อนไหว, ทักษะการใช้ภาษา, และ ทักษะทางสังคมและช่วยเหลือตัวเอง กลับสู่เนื้อหาหลัก

ภาพคำศัพท์

รูปของ โปรแกรมภาพคำศัพท์ ภาพคำศัพท์ เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียคลังคำศัพท์ ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษพร้อมภาพ และเสียงประ กอบ ภาพคำศัพท์ ช่วยสร้างเสริมทักษะ ทางภาษา ให้กับเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้น จากภาพประกอบ พร้อมกับ เสียงอ่าน และการสะกดคำ นอกจากนี้ ภาพคำศัพท์ได้รับการออกแบบ ให้นำเสนอการเรียนรู้ในบรรยากาศที่สนับสนุน ส่งเสริม และเหมาะสม กับ เด็กที่ต้อง การการเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้น กลับสู่เนื้อหาหลัก

ปราศรัย

รูปของ โปรแกรมปราศรัย เป็นเครื่องมือ สำหรับสร้างโปรแกรมช่วยสื่อสาร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความสามารถ ในการพูด ให้สามารถสื่อสาร กับบุคคลรอบข้าง ผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญรูปแทนการสื่อความหมาย คอมพิวเตอร์ ปราศรัยได้รับแนวคิด มาจากการใช้เครื่อง ช่วยสื่อ สาร ด้วยเสียงพูด (augmentative alternative communication) มาทดแทนเสียงจริงที่ผู้ใช้สูญเสียไปหรือมีความบกพร่องทำให้ ไม่ สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ ปราศรัยทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่อง ที่บรรจุเสียงพูด ที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยใช้ หลัก การ จัดเก็บฐานข้อมูลของเสียงด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยแบ่งเสียงแบ่ง เป็นหมวดหมู่ ตามการใช้งาน ซึ่งแต่ละเสียง จะหน่วยประ กอบ ด้วยเสียงพูด รูปภาพและ ข้อความ กลับสู่เนื้อหาหลัก

อักษรลิขิต

รูปของ โปรแกรมอักษรลิขิต โปรแกรมอักษรลิขิตเป็นโปรแกรมประมวลผลคำไทย (Thai Word Processor) ที่ออกแบบมา สำหรับเด็กที่มีปัญหา ทางด้าน การเรียนรู้ หรือเด็กสมองพิการ ที่ไม่สามารถเขียนหนังสือ ด้วยมือหรือพิมพ์ข้อความผ่านแป้นคีย์บอร์ดปกติ โดยใช้งาน ผ่านกระ ดาน ลิขิต (Flat Keyboard) ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์แบบแบน ที่สามารถสร้าง และกำหนดแป้นคีย์ได้เอง รวมทั้งออกแบบเฉพาะ ให้เด็กได้ฝึก ทักษะ ด้านการ เขียน ซึ่งจะช่วยเด็กให้สร้างหรือแก้ไขข้อความได้โดยง่าย พร้อมกันนั้นยังเชื่อม ต่อกับเสียง สังเคราะห์ภาษาไทย ในการอ่าน เมนูบาร์ และข้อความ ในหน้าต่างแก้ไข กลับสู่เนื้อหาหลัก

รังสรรค์ภาพ

รูปของ โปรแกรมรังสรรค์ภาพ  โปรแกรมนี้เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางด้านภาษา โดยใช้เทคโนโลยี มัลติ มีเดีย ซึ่งมีทั้งการใช้ภาพประกอบ ข้อความ และเสียง เพื่อช่วยให้เด็กสามารถ พัฒนาทักษะด้านการเขียนและการอ่านด้วยตนเอง มีแนวคิด จาก การใช้รูป ภาพในการแต่งประโยคและ เรื่องสำหรับ เด็กที่เริ่มต้นเขียน หนังสือ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการสะกดคำ ในกรณีที่ ต้องการให้ โปร แกรม อ่านเรื่องให้ จะเชื่อมต่อกับโปรแกรมสังเคราะห์เสียงอัตโนมัติเพื่อช่วยอ่านข้อความและยังใช้ตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อความ ที่แต่งได้อีก กลับสู่เนื้อหาหลัก

สามล้อโยกอิเล็กทรอนิกส์

รูปของ รถสามล้อโยกอิเล็กทรอนิกส์  ระบบช่วยผ่อนแรง สำหรับรถสามล้อโยก รถสามล้อโยกเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ด้วยโอกาส ในประเทศไทย สำหรับการสัญจร บนท้องถนน โดยมีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการบังคับเลี้ยว ราคาถูก และเป็นที่ยอมรับของอย่างกว้างขวาง กลับสู่เนื้อหาหลัก

สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
E-mail: suppakit.thongdee@nectec.or.th

ระดับความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ ความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ระดับ 3 ดาว, อ้างอิง WCAG1.0