Skip Navigation

เว็บที่ทุกคนเข้าถึง

บทความเรื่อง Checklist of Checkpoints for WCAG 1.0

เรียบเรียงโดย น้ำหนึ่ง มิตรสมาน
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546
Priority 1 Checkpoint
กรณีทั่วไป(Priority 1) ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
1.1 ให้ตรวจสอบว่าได้จัดเตรียมข้อความอธิบายในกรณีที่มีรูปภาพกราฟิกต่างๆ ในหน้าเว็บหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้ Attribute "alt" หรือ "longdesc" เป็นต้น      
2.1 ให้ตรวจสอบการใช้สีกับข้อความหรือคำอธิบายทั้งหมด นั้นสามารถเห็นได้ชัดเจน      
4.1 ให้ตรวจสอบเรื่องการใช้ภาษา ให้กำหนดภาษาที่ใช้ด้วย หรือในกรณีที่มีการสลับภาษาก็ต้องบอกโดยใช้ Attribute "lang=" ด้วยว่าขณะนี้ใช้ภาษาใดอยู่      
6.1 ให้ตรวจสอบว่าเอกสารที่อ่านนั้นต้องอ่านได้ในกรณีที่ Style Sheet ไม่ได้ใช่      
6.2 ให้ตรวจสอบว่าได้เตรียมข้อความอธิบายไว้สำหรับกรณีที่เป็นส่วน dynamic content ไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในการใช้ Tag SCRIPT แล้วได้มีการเตรียมในส่วนสำหรับการที่ SCRIPT นั้นไม่ทำงาน คือจะต้องมีการบอกให้ทราบถึงว่า ถ้า SCRIPT ทำงานนั้นจะทำงานอย่างไรบ้าง โดยให้ใช้ Tag ที่ชื่อว่า NO SCRIPT เป็นต้น      
7.1 ให้ตรวจสอบว่าส่วนที่เป็นการแสดงการเคลื่อนไหวนั้น User สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้หรือไม่ กล่าวคือสามารถควบคุมไม่ให้เคลื่อนไหวหรือหยุดการเคลื่อนไหวไปเลย      
14.1 ให้ตรวจสอบการใช้คำในภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย      
กรณีมีการใช้ image และ image map ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
1.2 ให้ตรวจสอบว่ามีการใช้ Image map ทางด้าน Server หรือไม่ ถ้ามีก็ให้เตรียมข้อความอธิบายสำหรับการเชื่อมโยงในแต่ละส่วน      
9.1 ให้ตรวจสอบว่ามีการใช้ Image map ทางด้าน Client แทนการใช้จากทางด้าน Server ในกรณีที่บริเวณนั้นไม่สามารถที่จะใช้การกำหนดการเชื่อมโยงเป็นรูปทรงเรขาคณิตได้      
กรณีถ้ามีการใช้ตาราง Tables ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
5.1 ให้ตรวจสอบว่าข้อมูลในตาราง นั้นในแต่ละแถว แต่ละคอลัมน์ มีชื่อ Header หรือไม่ ซึ่งจะอาจต้องใช้ attribute Header ให้กับแถวหรือคอลัมน์นั้นๆด้วย      
5.2 ให้ตรวจสอบว่าข้อมูลในตารางที่มีมากกว่า 2 ชุด นั้นให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูลและหัวข้อของแต่ละคอลัมน์หรือไม่      
กรณีถ้ามีการใช้เฟรม Frame ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
12.1 ให้ตรวจสอบว่ามีการตั้งชื่อเฟรมหรือไม่ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน      
กรณีถ้ามีการใช้ Applets และ Script ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
6.3 ให้ตรวจสอบว่าหน้าเว็บที่มีการใช้ Applets หรือ Script หาก Brower หรือ โปรแกรมนั้นๆ ไม่สนับสนุนการใช้งาน หรือถูกปิดความสามารถด้านนั้นๆ ไป แล้วมีข้อความอธิบายแทนการทำงานได้หรือไม่      
กรณีถ้ามีการใช้ข้อมูลแบบ Multimedia ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
1.3 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นทั้งภาพและเสียง อาจจะในรูปแบบ ภาพยนตร์หรือ VDO ก็ตามมีบทบรรยายเนื้อเรื่อง หรือที่เรียกว่า Caption หรือไม่      
1.4 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นทั้งภาพและเสียง ที่อยู่ในรูปแบบ ภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหว(Animation) นั้นจะมีบทบรรยายเนื้อเรื่อง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันกับภาพที่แสดงมาด้วย      
และถ้าเป็นกรณีนอกเหนือจากนี้แล้ว ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
11.4 สุดท้ายแล้วหากพยายามถึงที่สุดแล้วยังไม่สามารถที่จะทำให้หน้าเว็บนั้นสามารถให้คนพิการเข้าถึงได้ ก็ต้องทำการเพิ่มหน้าเว็บนี้ใหม่โดยใช้เทคโนโลยีตาม W3C ที่แนะนำเพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนพิการ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งจะมีเนื้อหาที่เหมือนกันกับแบบเดิม      
กลับสู่เนื้อหาหลัก
Priority 2 Checkpoint
กรณีทั่วไป(Priority 2) ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
2.2 ให้ตรวจสอบเรื่องของสีพื้นและสีฉากหน้า สำหรับ รูปภาพที่แสดง ซึ่งบางครั้งภาพอาจจะมีสีกลมกลืนไปกับสีพื้น ทำให้ต้องมีการปรับความเข้มแสงหรือสีของภาพ ให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างสีภาพและสีพื้นด้วย      
3.1 ให้ตรวจสอบ ความเหมาะสมในการเลือกใช้ภาษาในการ Markup ซึ่งจะดีกว่าการนำเสนอจาก Image เช่น การใช้ ภาษา MathML ในการ Markup ที่เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับ สูตรทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น      
3.2 ให้ตรวจสอบ การเรื่องความถูกต้องของเอกสารที่สร้างว่าได้รูปแบบตามมาตรฐานของเอกสาร หรือไม่ กล่าวคือให้บอกว่าเอกสารที่สร้างนี้เป็นไปตามมาตรฐานของภาษา และรุ่นไหน เช่น
<!DOCTYPE HTML PUBLIC "-//W3C//DTD HTML 4.0 Transitional//EN">
     
3.3 ให้ตรวจสอบการใช้ Style Sheet ที่ใช้ในการควบคุมแบบการนำเสนอ ของรูปแบบอักษร สีตัวอักษร และขนาดตัวอักษร      
3.4 ให้ตรวจสอบการให้ค่าของหน่วยวัดใน Style Sheet ควรจะให้มีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น การใช้ค่าความยาวเป็น เปอร์เซ็นต์ แทนการใช้หน่วยเป็น 'pt' หรือ 'cm' ซึ่งจะทำให้เวลาที่ Browser ประมวลผลทำให้ค่าที่ได้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด ซึ่งทำให้ได้ผลที่เหมือนกัน ในทุกๆ Browser      
3.5 ให้ตรวจสอบการสร้างหัวข้อ จากการใช้ Tag <H> ควรใช้ให้มีขนาดลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ      
3.6 ให้ตรวจสอบการสร้าง รายการเลือก นั้นควรจะมีเลขลำดับ กำกับหน้ารายการ เพื่อสะดวกในการเนวิเกท      
3.7 ให้ตรวจสอบว่ามีการใช้ Quotation ทำ Markup หรือไม่ ซึ่งไม่ควรใช้ Quotation Markup ในการทำย่อหน้า      
6.5 ให้ตรวจสอบว่า Dynamic Content หรือ หน้าเว็บที่สร้างใหม่ที่เป็นทางเลือกให้คนพิการนั้น สามารถอำนวยความสะดวกให้คนพิการเข้าถึงได้ อย่างเช่น กรณีที่ใช้ Frame ก็ให้มี ส่วนที่เป็น Noframe เพื่ออธิบายต่อไปได้ เป็นต้น      
7.2 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการใช้คำสั่งในการทำให้ตัวอักษรหรือตัวหนังสือกระพริบนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมให้หยุดการกระพริบของตัวอักษรหรือตัวหนังสือได้      
7.4 ให้ตรวจสอบว่า ถ้าการ Refresh ของหน้าเว็บซึ่งจะต้องมีการโหลดใหม่ตามเวลาที่กำหนดนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุบให้หยุดการกระทำนั้นได้      
7.5 ให้ตรวจสอบว่า ถ้ามีการทำให้หน้าเว็บที่เรียกขึ้นมาแล้ว ทำการไปเรียกหน้าเว็บใหม่สามารถให้ผู้ใช้หยุดการ Refresh ของหน้าเว็บที่ต้องมีการโหลดไปยัง URL ใหม่      
10.1 ให้ตรวจสอบว่าหากมีการเชื่อมโยงไปยังหน้าใหม่แล้วต้องไม่เปิดวินโดวส์ใหม่ขึ้นมา      
11.1 ให้ใช้เทคโนโลยีของ W3C ให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งมีดังนี้
  • MathML ให้ใช้สำหรับการเขียนสูตรทางคณิตศาสตร์
  • HTML, XHTML, XML ให้ใช้สำหรับงานด้านโครงสร้างเอกสารการนำเสนอ
  • RDF ให้ใช้กับงานโครงร่างข้อมูล
  • SMIL เหมาะสำหรับงานประเภทการนำเสนอในรูปแบบ Multimedia
  • CSS and XSL ให้ใช้ในการกำหนด Style Sheet
  • XSLT ใช้ในการสร้างการปรับเปลี่ยนลำดับโครงสร้างข้อมูลหรือเอกสาร
  • PNG เหมาะสำหรับงานด้านกราฟฟิก
     
11.2 ให้หลีกเลี่ยงการใช้ Element หรือ Attribute ที่ W3C ระบุว่าไม่ Accessibility (ความสามารถในการเข้าถึงของคนพิการ)      
12.3 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการแบ่งกลุ่มของรายการ สำหรับกรณีที่มีการสร้างรายการให้เลือก      
13.1 ให้ตรวจสอบว่าแต่ละทางเชื่อม ที่เชื่อมโยงไปนั้นสามารถเชื่อมโยงไปได้ถูกต้อง      
13.2 ให้ตรวจสอบว่ามีการเตรียมข้อมูลไว้สำหรับการสืบค้น หรือไม่      
13.3 ให้ตรวจสอบว่าได้มีการเตรียมคำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างของเว็บไชต์ หรือแผนผัง      
13.4 ให้มีการใช้กระบวนการในการ Navigate ที่แน่นอน      
กรณีถ้ามีการใช้ตาราง Tables ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
5.3 ไม่ควรใช้ตารางในการทำโครงร่าง (Layout) เว้นแต่ว่าต้องการใช้ตารางทำข้อมูลให้อยู่ในแนวเดียวกัน      
5.4 ให้ตรวจสอบว่า ถ้ามีการใช้ตารางในการสร้าง Layout ก็อย่าไปใช้การ Markup เกี่ยวกับโครงสร้างในการจัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งก็หมายถึงว่าถ้าต้องการที่จะใช้ Table ในการจัดโครงสร้างก็ให้คิดว่า ควรจะใช้ CSS ในการจัดการรูปแบบข้อมูลจะดีกว่า      
กรณีถ้ามีการใช้เฟรม Frame ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
12.2 ให้ตรวจสอบว่า ถ้ามีการใช้เฟรมให้ดูว่ามีการอ้างถึงหรือบอกถึงรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในเฟรมนั้นหรือไม่ ซึ่งก็อาจจะใช้ Attribute "longdesc" ในการบอกรายละเอียดเฟรมก็ได้      
กรณีถ้ามีการใช้ฟอร์ม Form ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
10.2 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการนำเสนอในรูปแบบฟอร์ม ควรจะให้แน่ใจว่าได้รับการสนับสนุนในเรื่อง Control กับ Label เพื่อว่าตัวอ่านจะได้อ่านได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน โดยที่จะให้ ชื่อ Label อยู่หน้าตัว Control ของมัน      
12.4 ให้ตรวจสอบว่า มี Label กำกับอยู่กับ Control      
กรณีถ้ามีการใช้ Applet และ Script ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
6.4 ให้ตรวจสอบว่า ถ้าต้องใช้ Script หรือ Applet แล้วต้องรับ Input ข้อมูลจาก Event ต่างๆ ก็ต้องแน่ใจว่าต้องเป็น Event ที่รับจาก อุปกรณ์ในการ Input นั้นๆ เช่น การรับ Input จาก Mouse ก็อาจจะมี Event ของ Mouse "OnMouseMove" ,"OnMouseDown" ,"OnMouseUp" และถ้าเป็น Event จากการรับ Input ของ Keyboard ก็เป็น "OnKeyPress" ,"OnKeyUp","OnKeyDown" เป็นต้น      
7.3 ให้ตรวจสอบว่า ภายใน Script หรือ Applet ที่มีการเขียนให้เกิดการเคลื่อนที่อะไรในหน้าเว็บ ควรต้องมีกลไกในการควบคุมให้ผู้ใช้สามารถหยุดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ของหน้าเว็บนั้นๆ ได      
8.1 ให้ตรวจสอบการโปรแกรมที่เขียนด้วย Script หรือ Applet นั้นๆ ว่าคนพิการสามารถเข้าถึงหรือใช้ได้กับเทคโนโลยีของคนพิการได้ด้วย ซึ่งถ้าเป็น ฟังก์ชั่นพื้นฐานของอุปกรณ์ Input ที่สำคัญๆ ก็ต้องให้คนพิการเข้าถึงได้ Priority 1 / Priority 2      
9.2 ให้ตรวจสอบว่า มีการออกแบบการใช้คีย์บอร์ดในการเข้าถึง หรือควบคุม แทนเม้าส์ ซึ่งอาจจะเป็น การใช้ Shortcut แทนการใช้เม้าส์ click ที่ปุ่มนั้นแทน หรือจะเป็นการกำหนด Tab order ในการควบคุมการโฟกัสของ Control ต่างๆ      
9.3 ให้ตรวจสอบว่า หากโปรแกรมมี Event ของ Mouse ก็ให้มี Event ของ Keyboard ที่มีลักษณะคล้ายๆกันด้วยซึ่งก็จะเป็นดังนี้
  • "OnMouseDown" ใช้กับ "OnKeyDown"
  • "OnMouseUp" ใช้กับ "OnKeyUp"
  • "OnClick" ใช้กับ "OnKeyPress"
     
กลับสู่เนื้อหาหลัก
Priority 3 Checkpoint
กรณีทั่วไป (Priority 3) ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
4.2 ให้ตรวจสอบว่าหากมีการใช้คำย่อ ซึ่งอาจใช้ ABBR หรือ ACRONYM และ Atrribute "Title" ในการบอกถึงชื่อเต็มของคำย่อ หรืออักษรย่อนั้น ๆ ด้วย      
4.3 ให้ตรวจสอบว่า มีการระบุถึงภาษาหลักที่ใช้ในเอกสารนี้ หรือไม่ ตัวอย่างเช่น เพิ่ม Atrribute lang ลงใน HTML
<HTML lang="th"> เป็นต้น
     
9.4 ให้ตรวจสอบการกำหนดทางเดินของ Tab ซึ่งใช้ในการโฟกัส ตัว Control หรือ Object ต่างๆ โดยให้เรียงลำดับของ tabindex ให้เหมาะสม      
9.5 ให้ตรวจสอบว่ามีการจัดเตรียม Keyboard Shortcut (คีย์ลัด) สำหรับในการเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ หรือ Form Control หรือไม่      
10.5 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการจัดให้มีการเชื่อมโยง (Link) อยู่ติด หรือใกล้ๆกัน ควรจะให้มีสัญลักษณ์ หรืออะไรบางอย่างแบ่ง ระหว่าง Link ทั้งสองนั้น ตัวอย่างเช่น เพิ่มตัวอักษร " | "(Pipe) และ ช่องว่าง เพื่อแบ่งให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเชื่อมโยง มากกว่าหนึ่ง      
11.3 ให้ตรวจสอบว่าได้มีการจัดเตรียมคำแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่อาจจะได้รับเอกสาร ที่ต้องมีการเปลี่ยนภาษาที่ใช้
  • อาจจะใช้การเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าใหม่แล้วบอกว่า เอกสารนี้ใช้ภาษาอะไรเพื่อให้ผู้ใช้รู้
  • ใน HTML4.0 จะใช้ Attribute lang ในการบอกให้ตัวอ่านรู้ว่าต้องใช้ภาษาใดในการอ่าน
  • ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ใช้ "hreflang" กับ <A > หรือ <LINK> จะทำให้ตัวอ่านสวิตช์ไปอ่านยังภาษานั้นที่มีอยู่
     
13.5 ให้ตรวจสอบว่ามี การเตรียม Navigation Bar สำหรับที่จะให้ผู้ใช้สามารถที่เลือกหน้าเว็บเข้าไปได้โดยอาจจะเป็นปุ่ม Next กับ Back ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นการเปลี่ยนหน้าเว็บที่อยู่ถัดไป แต่ถ้าต้องการให้ไปหน้าเว็บที่อื่น ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆกัน อาจจะใช้เป็น ปุ่ม link เพื่อ เชื่อมโยงไปยัง Content ซึ่งจะระบุหัวข้อๆไว้ให้เลือกเข้าไปอีกทีหนึ่งได้      
13.6 ให้ตรวจสอบว่า ในหน้าเว็บแต่ละหน้า ถ้ามีการใช้ข้อความในการเชื่อมโยงที่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เมนู Content ต่างๆ ที่ต้องมีในแต่ละหน้าเว็บ ก็ควรทำให้เป็นกลุ่มข้อความเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ตัวอ่านสามารถที่จะอ่านข้าม ไปยังข้อความอื่นที่อยู่นอกเหนือ กลุ่มข้อความนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการอ่าน เมนูทุกหัวข้อ ได้      
13.7 ในหัวข้อตรวจสอบนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องมีส่วนของการ Searching ในหน้าเว็บ แต่ถ้าหากมีก็ควรที่จะเตรียมเครื่องมือในการค้นหา ให้สามารถหาคำได้ในรูปแบบตามเงื่อนไขได้ ทั้งแบบการใช้ Boolean หรือ การใช้แบบ Collection ของการแบ่งกลุ่มการเลือก ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ Radio button Check Box หรือ หรือจะเป็นการเลือกแบบ Selection List และก็ต้องระลึกไว้เสมอว่าในการออกแบบฟอร์มนั้นก็ต้องให้ Accessible ด้วย      
13.8 ให้ตรวจสอบว่า ได้มีการสร้างจุดสังเกตหรือลักษณะพิเศษ ที่ทำให้รู้ว่าเป็นการเริ่มหัวข้อใหม่ หรือย่อหน้าใหม่ หรือรายการแสดงใหม่หรือไม่      
13.9 ให้ตรวจสอบว่า ได้เตรียมข้อมูลสำหรับการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการใช้เอกสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ต้องแสดงในหลายหน้า หรือไม่ ตัวอย่างเช่น เอกสารที่เป็นบทเรียน ซึ่งมีหลายหน้าควรจะมีการใช้ "LINK rel=next" และ "LINK rel=prev" ในการบอก      
13.10 ให้ตรวจสอบว่า ในหน้าเว็บมีส่วนที่ใช้ตัวอักษรมาทำเป็นภาพ(ASCII art) หรือไม่ หากมี ให้ทำการเพิ่มส่วนการ link ข้ามเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะข้ามการอ่านในช่วงที่เป็น ASCII art ไป      
14.2 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการรวมข้อความกับกราฟฟิก หรือข้อมูลเสียง จะทำให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถที่จะช่วยในการเข้าถึงข้อมูลของ คนได้หลายประเภท ตัวอย่างเช่น คนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ก็สามารถรับข้อมูลได้จากข้อมูลเสียง และถ้าเป็น คนที่บกพร่องทางการได้ยิน ก็สามารถที่จะเห็นภาพหรืออ่านข้อความได้      
14.3 ให้ตรวจสอบว่า ได้มีการวางโครงสร้างของเว็บ ในแต่ละหน้าให้มีตำแหน่ง layout เดียวกันหรือไม่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเข้าถึงข้อมูล      
กรณีถ้ามีการใช้ Image และ Image map ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
1.5 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการรูปภาพที่มีข้อความอธิบายแล้ว บางครั้งยังไม่เพียงพอ ซึ่งต้องใช้การแบ่ง AREA ในการสร้างเป็น Map Image ในฝั่ง Client เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการเชื่อมโยงไปยัง ส่วนย่อยในภาพได้      
กรณีถ้ามีการใช้ Table ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
5.5 ให้ตรวจสอบ ถ้ามีการใช้ตารางในหน้าเว็บควรจะใช้ Attibute "Summary" เพื่อใช้ในการอธิบายข้อมูลในตาราง ซึ่งโปรแกรมสำหรับอ่านหน้าจอจะสามารถอ่านได้ แต่ Browser ทั่วไปจะมองไม่เห็นคำอธิบายนี้      
5.6 ให้ตรวจสอบ มีการใช้ Attribute "abbr" ในการสร้างคำย่อในส่วนข้อมูลหัวตาราง (Tag <TH> ) หรือไม่ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการย่อคำ ทำให้ตัวอ่าน (Screen Reader) อ่านเฉพาะคำที่ย่อได้      
10.3 ให้ตรวจสอบ หากใช้ตารางในการจัดข้อมูล ก็ควรจัดให้ข้อความที่ต้องการให้ตัวอ่าน อ่านต่อกันในเรื่องเดียวกัน ก็ควรให้มีการจัดอยู่ในคอลัมน์เดียวกัน เพราะโดยปกติของ ตัวอ่านหน้าจอ แล้วจะอ่านจากแถวเดียวกันก่อนไปทีละคอลัมน์ในแถวนั้นๆ แล้วค่อยไปเริ่มอ่านที่แถวใหม่ ในคอลัมน์แรก ต่อไป ดังนั้นจึงควรที่จะทำข้อความที่ต้องการอ่านต่อกันไป ให้อยู่ในคอลัมน์เดียวกัน      
กรณีถ้ามีการใช้ในรูปแบบ Form ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี
10.4 ให้ตรวจสอบว่า หากมีการทำรูปแบบ Form ในช่องที่ให้ใส่ข้อความ ให้กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวควบคุมนั้นด้วย ไม่ควรเป็นช่องว่างเปล่าๆ      
กลับสู่เนื้อหาหลัก
ข้อมูลอ้างอิง
  1. Checklist of Checkpoints for Web Content Accessibility Guidelines 1.0
  2. Examples: WAI Web Content Accessibility Curriculum
  3. Web Content Accessibility Guidelines 1.0
บทความที่ผ่านมา บทความต่อไป

สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
E-mail: suppakit.thongdee@nectec.or.th

ระดับความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ ความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ระดับ 3 ดาว, อ้างอิง WCAG1.0