13:00 - 14:30 - การเสวนาเรื่อง ระบบเฝ้าระวังและติดตามเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ได้มีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตเป็นอาหารเท่านั้น สัตว์น้ำสวยงามยังเป็นกลุ่มที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพยายามคิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีลักษณะภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรได้

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 30 ปีเนคเทค ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่องแนวโน้มและทิศทางระบบตรวจสอบและติดตามเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ (Smart Aqua Monitoring System - SAMS) ขึ้น เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยน รับทราบความคิดเห็น ความต้องการของเกษตรกร ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าว มาพัฒนาผลงานซึ่งมีการพัฒนามาระดับหนึ่งแล้ว ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลงานให้พร้อมไปสู่การนำไปขยายผลต่อ เพื่อการทำธุรกิจขายหรือให้บริการระบบ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น อีกด้วย

ผู้ร่วมเสวนา

  • คุณบรรจง นิสภวาณิชย์
    นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย
  • คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร
    รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด
  • คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต
    หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
    หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย

  • ดร.วงศกร พูนพิริยะ
    นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สรุปประเด็นการเสวนา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานการณ์อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยตกลงมาเป็นอันดับ 5 ของโลกในปี 2558 จากที่เคยเป็นอันดับหนึ่งของโลกเมื่อปี 2553 คือ การเกิดโรคต่างๆ ในกุ้ง การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งจึงจำเป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งในส่วนของการติดตามควบคุม และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอัจฉริยะ จะสามารถเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเพาะเลี้ยงได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิน้ำ ออกซิเจน การนับจำนวน ที่มีความถูกต้องแม่นยำ การอาศัยเพียงแรงงานคนคงไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งเนคเทคได้นำเสนอเทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่อช่วยผู้ประกอบการทั้งหมด 7 เทคโนโลยีหลักๆ ประกอบด้วย

  1. ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  2. ระบบวัดและส่งค่าอัตโนมัติเพื่อควบคุมการใช้พลังงานมอเตอร์ใบตีน้ำ
  3. ระบบอ่านค่าจากชุดตรวจสารคุณภาพน้ำด้วยมือถือ
  4. เครื่องนับจำนวนแพลงตอนสำหรับให้อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน
  5. ระบบตรวจพาราสิตขนาดเล็กในน้ำ
  6. ระบบตรวจสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำด้วยมือถือผ่านเลนส์มิวอาย
  7. ระบบติดตามสภาวะเชื้อเป้าหมายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

เพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้งานของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี


ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ (.pdf)

- ระบบเฝ้าระวังและติดตามเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ โดย ดร.วงศกร พูนพิริยะ
- ทิศทางของงานวิจัยกับทิศทางของอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศไทย โดย คุณบรรจง นิสภวาณิชย์
- ระบบติดตามและควบคุมอัจฉริยะ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร
- เนคเทคงานวิจัยเพื่อคนไทย หัวใจ Aqua โดย ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
- Smart Aerator Control System โดย คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต
- Monitoring System โดย คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต