หัวข้อ: เกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเพื่อประเทศไทย 4.0

ห้องสัมมนา: Meeting Room 1
เวลา: 14.45 - 16.15 น.

สำหรับการดำเนินงานทางการเกษตรของเกษตรกรในปัจจุบันสามารถควบคุมตัวแปรบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็น วัสดุปลูก การให้น้ำ การให้ปุ๋ยหรือแม้แต่เรื่องการป้องกันแมลงแต่ข้อจำกัดของเกษตรกรคือวิธีการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชว่าควรเป็นอย่างไรทำอย่างไรพืชจึงมีการเจริญเติบโตในสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตลอดช่วงอายุตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นเพาะจนกระทั้งเก็บเกี่ยวและด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีการทำเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูกถือเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้เกษตรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้นจนกระทั้งจบ ส่งผลให้สามารถควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิตรวมถึงจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลได้ และอีกประการหนึ่งคือการช่วยเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เกิดจากทักษะที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้เนื่องจากการทำเกษตรกรรมแบบดังเดิม รูปแบบการเรียนรู้และถ่ายทอดทักษะในด้านการเกษตรเกิดจากการลองผิดลองถูกของตัวเกษตรกรเอง หรือจากองค์ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มคนทำให้กระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยง่ายแต่ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บรวบรวมข้อมูลจึงทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นสามารถอธิบายและถ่ายทอดสู่เกษตรกรโดยทั่วไปได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นการพัฒนาเกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นอนาคตของเกษตรกรไทยเพื่อให้เกษตรกรไทยไปยังเป้าหมายประเทศไทย 4.0 พัฒนาและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยังยืน

กำหนดการ

14.45 – 15.15 น. เทคโนโลยีเซนเซอร์กับการทำระบบเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงโดยใช้ IOT ของ TMEC

โดย คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

15.15 – 16.15 น. การเสวนา ถ่ายทอดเรื่องราวมุมมอง การใช้เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะแม่นยำสูงกับการพัฒนาด้านการเกษตรในอนาคตไปสู่ประเทศไทย 4.0

ร่วมเสวนาโดย

  • คุณสนั่น เป็นผลดี
    เจ้าของฟาร์ม ล้านนาเจ้านาย ต้นแบบเกษตรกรผู้สูงอายุ
  • คุณณัฐ มั่นคง
    เจ้าของฟาร์มโคโค่เมล่อน  Young Smart Farmer จังหวัดสุพรรณบุรี
    ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ
  • คุณชลิตา ไทยแก่น
    เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลสิบเอ็ดศอก
    เกษตรกรหญิงผู้ทำการเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

ดำเนินรายการ โดย

คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)