NECTEC-ACE 2019
Centara Grand at Central Plaza Ladprao, 9 Sept. 2019
  • NECTEC-ACE 2019
  • CONFERENCES
  • EXHIBITION
  • SPEAKERS
  • REGISTER
  • NECTEC-ACE 2019
  • CONFERENCES
  • EXHIBITION
  • SPEAKERS
  • REGISTER

Education

Session 4 : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Conferences Disability, Education, Mobility, NECTEC-ACE 2019
ace2019-14session-042

หัวข้อ : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ballroom C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว) 

เนื้อหาโดยย่อ

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ส่วนใหญ่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะประสบปัญหาทางด้านการอ่าน (Dyslexia) การเขียน (Dysgraphia) และการคำนวณ (Discalculia)  กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีกระบวนการคัดกรองเพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ทราบว่า ในปี 2562 มีจำนวนนักเรียน ที่บกพร่องทางการเรียนรู้อยู่จำนวน 349,753 คน ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ. 2550 มาตรา 20 กล่าวถึง ผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ได้มีสิทธิเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งในด้าน การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ปัจจุบัน ภาครัฐประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และในปี 2562 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ เพิ่มเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ไว้ในสวัสดิการด้วย

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้มีการพัฒนาชุดซอฟแวร์ช่วยการเขียน และการอ่านสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ผ่านมา มีการทดลองใช้ตามโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เครือข่ายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เครือข่ายสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมทักษะด้านการเขียนสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน ในการเสวนาครั้งนี้ จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมเสวนาเพื่อผลักดันเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีการนำไปใช้ได้จริง และมีการติดตามการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

กำหนดการ

เวลา 13.00 – 13.30 น.
วีดิทัศน์นำเสนอการใช้เทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

  • นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน
    โดย ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
  • นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน
    โดย ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

เวลา 13.30 – 16.15 น.
เสวนา : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

  • “ประสบการณ์ด้านการอ่านและการเขียนของบุคคลที่มีความพิการทางการเรียนรู้”

    โดย คุณปิยนาถ มณีรัตนายล
    
นายกสมาคมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งประเทศไทย
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 3 )
  • “การจัดสวัสดิการและการใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.”
    โดย ดร.สมพร หวานเสร็จ
    
ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง
    กระทรวงศึกษาธิการ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 )
  • “การใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเครือข่ายโรงพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี”
    โดย พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู

    ประธานศูนย์เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
    สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
    กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • “การจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
    โดย  ดร. วรรณศิริ  พัวศิริ
    นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
    สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • “ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และหลักการประเมินเด็ก LD ที่สามารถเบิกสวัสดิการได้”
    โดย รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
    ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • “การสนับสนุนอุปกรณ์เครืองช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ จากภาครัฐ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ”
    โดย พ.ญ.จุไรรัตน์ บัวภิบาล
    แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
    สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

ดำเนินรายการโดย

คุณวันทนีย์  พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

ลงทะเบียนที่นี่
พ.ญ.จุไรรัตน์ บัวภิบาล
พ.ญ.จุไรรัตน์ บัวภิบาล
คุณวันทนีย์ พันธชาติ
คุณวันทนีย์ พันธชาติ
รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
ดร.สมพร หวานเสร็จ
ดร.สมพร หวานเสร็จ
คุณปิยนาถ มณีรัตนายล
คุณปิยนาถ มณีรัตนายล
พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู

พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู

ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ
ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ
ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล
ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล
Previous
Next
Read more

Session 2 : วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว (Digital Culture for Creative Economy in Tourism Domain)

Conferences Culture, Digital, Education, Navanurak, NECTEC-ACE 2019
ace2019-ss02

หัวข้อ : วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว (Digital Culture for Creative Economy in Tourism Domain)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 น. – 14.30 น.
ห้อง Ballroom A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ข้อมูลวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัลเป็นคลังความรู้ที่มีคุณค่า เป็นแหล่งทรัพยากรต้นทางให้กับการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคการศึกษาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และธุรกิจดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาด้านข้อมูลวัฒนธรรม มามากกว่า 6 ปี สร้างเครือข่ายองค์กรด้านวัฒนธรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อนำมาจัดเก็บและพัฒนาให้เกิดเป็นโครงสร้างข้อมูลเชิงความหมายให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้ เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลวัฒนธรรมขนาดใหญ่ โดยโครงข่ายข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำมาเปิดเผยสู่สาธารณะในรูปแบบเว็บให้บริการ และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้บริการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดการใช้งานข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลไปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในอนาคต

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว การนำวัฒนธรรมดิจิทัลเข้ามาจะช่วยสนับสนุนงานในบริบทนี้ ประเด็นในการสัมมนาจะประกอบด้วย
(1)   ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
(2)   การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
(3)   การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยว

กำหนดการ

เวลา 13.00 – 14.30 น.

  • การเสวนา “วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว”
    การเสวนานี้ ผู้แทนแต่ละท่านจะมาเล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่างๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนา “แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลวัฒนธรรม (NAVAnurak Platform)”
  • ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทย ขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้อย่างยั่งยืน
    • โดย  คุณเพลินพิศ หมื่นพล
      ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ
      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • นโยบายการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืน การสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว โดยไม่ทำลายสมดุลระหว่างการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กลไกการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวไทยในเวทีระดับนานาชาติ
    • โดย  ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช
      ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า
      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • อพท. ในนามขององค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างชุมชนแห่งความสุข มาแบ่งปันประสบการณ์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน
    • โดย คุณพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ
      ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
      องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • ศมส. องค์กรหลักในการจัดการข้อมูลความรู้ด้านมานุษยวิทยาเพื่อสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติ จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสังคม-วัฒนธรรม มานุษยวิทยาและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทั่วประเทศ
    • โดย  คุณสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
      นักวิชาการ สถาบันมานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.)
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ
    • โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
      นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
      ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

ดำเนินรายการโดย
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ลงทะเบียนที่นี่
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
คุณเพลินพิศ หมื่นพล
คุณเพลินพิศ หมื่นพล
คุณพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ
คุณพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ
คุณสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
คุณสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช
ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
Previous
Next
Read more

Session 1 : KidBright กับวิทยาการคำนวณ (KidBright and Computing Science)

Conferences Education, KidBright, NECTEC-ACE 2019, STEM, การศึกษา, วิทยาการคำนวณ
ace2019-ss01

หัวข้อ : KidBright กับวิทยาการคำนวณ (KidBright and Computing Science)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ballroom A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยี วิชาใหม่นี้จะสอนให้เด็กๆ มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิชาอื่นๆ เนื่องจากเป็นกระบวนการคิดจึงต้องมีการออกแบบบทเรียนและเครื่องมือในการสอนที่เหมาะสม วิธีการหนึ่งคือการพัฒนากระบวนการคิดผ่านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเด็นในการเสวนาประกอบด้วย

(1) ยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศ
(2) ความสำคัญของการเรียนวิทยาการคำนวณตั้งแต่ระดับประถม
(3) หลักสูตรและแผนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณด้วยบอร์ดส่งเสริมการเรียนโปรแกรมมิ่ง KidBright

กำหนดการ

เวลา 10.30 – 12.00 น.
การเสวนาหัวข้อ “KidBright กับวิทยาการคำนวณ”  โดย

  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
    ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.โชติมา หนูพริก
    ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
    สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
  • คุณจินดาพร หมวกหมื่นไวย
    ผู้ชำนาญ สาขาเทคโนโลยี  สำนักวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
    นักวิจัยอาวุโส
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว กลุ่มวิจัยระบบอัจฉริยะ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย

คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ลงทะเบียนที่นี่
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
คุณจินดาพร หมวกหมื่นไวย
คุณจินดาพร หมวกหมื่นไวย
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
ดร.โชติมา หนูพริก
ดร.โชติมา หนูพริก
คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
Previous
Next
Read more
NECTEC-ACE 2019

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2562 สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เนคเทคเป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษา วิจัยด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของเนคเทค โปรดแจ้งให้เนคเทคทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

Site map
  • NECTEC-ACE 2019
  • CONFERENCES
  • EXHIBITION
  • SPEAKERS
  • REGISTER
SEARCH
NECTEC-ACE 2019 | Presented by NECTEC
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สวทช.ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว