NECTEC-ACE 2019 – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2019 Mon, 21 Oct 2019 09:53:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.4.1 https://www.nectec.or.th/ace2019/wp-content/uploads/2019/06/cropped-logo_ACE2019-175-32x32.png NECTEC-ACE 2019 – NECTEC-ACE 2019 https://www.nectec.or.th/ace2019 32 32 Session 14 : การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ความร่วมมือพัฒนาเมืองอัจฉริยะปทุมธานี สู่ความเป็น Smart Market Global Place & Knowledge City” https://www.nectec.or.th/ace2019/session-14-smartcity-platform/ Mon, 22 Jul 2019 03:34:04 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2043 Read more

]]>
ace2019-14session-14

หัวข้อ : การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ความร่วมมือพัฒนาปทุมธานีเมืองอัจฉริยะสู่ความยั่งยืน
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ladprao 3 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ 

ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart city) อย่างเป็นรูปธรรมและมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ ด้วยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย องค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดพื้นที่เมืองอัจฉริยะ 100 พื้นที่ ภายในเวลา 5 ปี เพื่อการนี้ เนคเทค สวทช. ได้กำหนดประเด็นวิจัยมุ่งเน้น “การพัฒนา Smart City Platform” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเนคเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มุ่งเป้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการเมือง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

การประชุมโต๊ะกลม (Roundtable meeting) หัวข้อ “ความร่วมมือพัฒนาปทุมธานีเมืองอัจฉริยะสู่ความยั่งยืน” มุ่งหวังให้เป็นเวทีอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และหารือร่วมกันเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาปทุมธานีสู่เมืองอัจฉริยะ ผ่านประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) และกรณีศึกษาเชิงประจักษ์ ของสาธารณรัฐเกาหลี (โซลและปูซาน) โดยสาธารณรัฐเกาหลี มีผู้บริหารและนักวิจัย จาก Korea Local Information Research and Development Institute (KLID) หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเปิดและเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อการบริหารหน่วยงานและการบริการประชาชน โดยมีการพัฒนาเครื่องมือทางดิจิทัลกลาง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสาธารณรัฐเกาหลีนำไปใช้ได้ สำหรับประเทศไทย มีผู้บริหารจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บรรยายความสำคัญของแพลตฟอร์มบริการข้อมูลเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งรับฟังความจำเป็นและความต้องการหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดปทุมธานีด้วย ตลอดจนการอภิปรายโต๊ะกลม ทั้งนี้ เพื่อจะได้ถอดบทเรียนและความต้องการของเมือง เพื่อส่งเสริม พัฒนา และผลักดันให้เกิดการขยายผล ต่อยอด การบริหารและการบริการขององค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งยกระดับความเป็นอยู่และความปลอดภัยของเมือง มุ่งสู่การเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อไป

หมายเหตุ  การประชุมเฉพาะกลุ่มที่ได้รับเชิญ (Closed Session)

กำหนดการ

เวลา 13.00–13.15 น.  แนะนำวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม

เวลา 13.15–14.00 น. Towards the smart city platform: Empirical evidence from Korea local e-Government โดย

1. Dr. Hwang, Byeong Choen
Director General
Korea Local Information Research & Development Institute (KLID)
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

2.     Ms. Shin, Soo Jee
Researcher, Department of External Cooperation, KLID
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

เวลา14.00 – 14.30 น. ความสำคัญของแพลตฟอร์มบริการข้อมูลเมืองอัจฉริยะ

โดย ดร. ภาสกร ประถมบุตร
รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

เวลา 14.30–14.45 น. พักการประชุม

เวลา 14.45–16.00 น. เวทีอภิปรายโต๊ะกลม

เวลา 16.00–16.15 น. สรุปผลการอภิปรายโต๊ะกลม

เวลา 16.15 น. ปิดการประชุม

ดำเนินการอภิปรายโดย
ว่าที่ ร้อยตรี ดร. พรพรหม อธีตนันท์
รองผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 13 : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ https://www.nectec.or.th/ace2019/session-13-opto-chemical/ Mon, 22 Jul 2019 03:21:24 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2035 Read more

]]>
ace2019-ss13

หัวข้อ : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทยด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ (Strengthen Thailand’s opto – chemical sensing technology with NECTEC & Partners)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ladprao 3 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ 
ปัจจุบันกระแสความต้องการของการตรวจวัดสารเคมีและสารชีวเคมีมีแนวโน้มเปลี่ยนไปสู่การใช้เทคนิคการวิเคราะห์สเปกตรัม ทางแสงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ตรวจวัดได้เร็วสามารถพัฒนาตรวจวิเคราะห์ในภาคสนามได้ ไม่ต้องใช้สารเคมีสิ้นเปลืองปริมาณมากเหมือนเทคนิควิเคราะห์มาตรฐานและที่สำคัญไม่ต้องอาศัยผู้ใช้ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษทางด้านเคมีวิเคราะห์ที่นับวัน จะหาได้ยากขึ้น

ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้พัฒนางานวิจัยด้านชิปขยายสัญญาณรามาน (OnSpec; SERS) มาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคการเคลือบฟิล์มขั้นสูงมีค่าอัตราการขยายสัญญาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดพื้นผิวขยายสัญญาณประกอบด้วยชิปในบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้งานสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัดสารเคมีในระดับ trace concentration ได้หลายชนิด

การเสวนาในหัวข้อนี้มุ่งหาแนวทางสำหรับการขยายผลผลักดันการใช้งานชิปขยายสัญญาณรามานไปสู่ภาคธุรกิจ ความท้าทายในด้านการพัฒนาระบบนิเวศแวดล้อมของเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของตลาด มีการแลกเปลี่ยนความเห็นการมองโอกาสในตลาดและความสำคัญของเนคเทคที่จะมีต่อการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการของเอกชน

กำหนดการ

เวลา 10.30 – 12.00 น. การเสวนา : เสริมแกร่งให้เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีโดยใช้เทคนิคเชิงแสงในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากภาคการวิจัยและภาคธุรกิจ

ดำเนินรายการโดย

ดร.นพดล นันทวงศ์
หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

]]>
Session 11 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านเซนเซอร์ โดย NARLabs -ไต้หวัน https://www.nectec.or.th/ace2019/session-11-mems-cmos/ Mon, 22 Jul 2019 03:12:24 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2028 Read more

]]>
ace2019-14session-12

หัวข้อ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านเซนเซอร์ โดย NARLabs-ไต้หวัน
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ladprao 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ
สืบเนื่องจากการได้มีการเยี่ยมชมระหว่าง Lab ของทาง National Applied Research Laboratories (NARLabs) ไต้หวัน กับ สวทช ทั้งสองหน่วยงานมีแนวทางในการทำงานเบื้องต้นในด้าน ของการพัฒนาเทคโนโลยีในต้นแบบจาก Micro-devices เช่น ISFET based Chemical-, Biosensors และ MEMs เพื่อให้สามารถทำให้ต้นแบบเซนเซอร์ เป็นสินค้าได้จริง

ในสัมมนาครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจากตัวเซนเซอร์ไปสู่การพัฒนาระบบที่ใช้งานกับเซนเซอร์นี้ในกระบวนการผลิตสินค้าจริงจากประสบการณ์การพัฒนาของทีมบริหารและวิจัยจากทาง NARLabs

กำหนดการ

เวลา 10:30 – 12:00. น.

  • The Implementation and Verification Platform for CMOS Sensing Technologies
    When Moore’s law will come to the end in the near future. The multi-sensors integration is very important for the IoT and wearable applications and the IC design challenges are different with the traditional circuit designer. Based on the more-than-Moore law, to design with the multi-types of CMOS technologies will be very important for the integration of sensing sub-system. This speech will introduce the implementation and verification platform of multi-sensing applications.

by Dr. Ying-Zong Juang
Deputy Director-General
National Applied Research Laboratory (NARLabs), Taiwan
(Presentation)

  • MEMS fabrication platform & Sensors developed in TSRI
    This presentation introduces the MEMS sensor fabrication of Taiwan Semiconductor Research Institute. Due to the development of IoT, MEMS sensors are wildly used in smart industry, wearable devices and healthcare. Sensors with small size, low power consumption and low cost are important for following-up integration. This speech will present the environment sensors and rapid bio-detection sensors fabricated by TSRI.

by Dr. Han-Ting Hsueh
Division Director
Taiwan Semiconductor Research Institute,
National Applied Research Laboratory (NARLabs), Taiwan
(Presentation)

  • One Stop Shop services for the Medical devices
    To help teams from the university translate their ideas into medical devices, here in TIRI NARLabs Taiwan, we have set up medical device translation services that help fast prototyping and ensuring that all medical device documents are translated with the highest level of accuracy.

In this talk, we will illustrate how a semiconductor device been translated into a medical device, some technical and regulation issues will be addressed.

by Mr. Yi-Chiuen (Joseph) Hu
Associate Researcher and Team Leader of Biochip & IVD Lab.
Taiwan Instrument Research Institute (TIRI),
National Applied Research Laboratory (NARLabs), Taiwan
(Presentation)

ดำเนินรายการโดย 

ดร.วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ
นักวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 12 : เทคโนโลยีพื้นผิวน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด สำหรับการใช้งานทางการแพทย์และสภาวะใต้ทะเล (โครงการวิจัย FleXARs) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-12-flexars/ Mon, 22 Jul 2019 03:06:36 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2012 Read more

]]>
ace2019-14session-11

หัวข้อ : เทคโนโลยีพื้นผิวน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด สำหรับการใช้งานทางการแพทย์และสภาวะใต้ทะเล
(โครงการวิจัย FleXARs)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ladprao 2
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

 

เนื้อหาโดยย่อ
บรรยายและเสวนาเทคโนโลยีในโครงการวิจัย FleXARs ซึ่งเป็นการพัฒนาฟิล์มสิ่งมีชีวิตไม่เกาะ (Everything-free surface) ซึ่งชั้นฟิล์มสร้างจากวัสดุคอมโพสิตโพลิเมอร์ชนิด โพลีไดเมทิลไซล๊อกเซน (Polydimethylsiloxane, PDMS) และโพลียูริเทนอะคลีเลต (Polyurethane acrylate, PUA) ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและทนทานต่อการใช้งานในทางการแพทย์และสภาวะใต้ทะเลได้ โดยพื้นผิวของวัสดุคอมโพสิตฯดังกล่าว จะมีลวดลายจุลภาคที่มีความทนทานต่อแรงกระทำภายนอก (Robust microstructure) ที่ก่อให้เกิดคุณสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด (Superoleophobic surface) ซึ่งจะป้องกันการเกาะตัวของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุต่างๆ โดยในการสร้างฟิล์ม FleXARs นั้น จะใช้เทคโนโลยี Roll-to-roll process ซึ่งสามารถผลิตชั้นฟิล์ม FleXARs ที่มีพื้นที่หน้าตัด 35 เซนติเมตร ยาว 100 เมตร ได้ โดยด้านหลังชั้นฟิล์มฯจะมีชั้นกาว เพื่อให้ฟิล์ม FleXARs สามารถติดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ

ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันการเกาะของเพรียงและสาหร่ายทะเลบนพื้นผิวท้องเรือ และเสาแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Marine applications) อีกทั้งยังใช้ในการป้องกันการเกาะของแบคทีเรียในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้นผู้ป่วย (Medical applications) รวมถึงยังสามารถใช้ในการป้องกันการเกาะของเชื้อโรค สำหรับส่วนมือจับต่างๆในระบบขนส่งมวลชน (Public transportation applications)

กำหนดการ

เวลา 13.00–13.45 น. 
ช่วงที่ 1 : กล่าวเปิดงานและเกริ่นนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งมีชีวิตไม่เกาะ

  • ความสำคัญของเทคโนโลยีการป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุ และกลไกการเกาะของเพรียงทะเล
    โดย ดร.พรเทพ พรรณรักษ์
    สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • เทคโนโลยีฟิล์ม FleXARs สำหรับป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุ
    โดย ดร.นิธิ อัตถิ
    นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

เวลา 13.50-15.30 น.
ช่วงที่ 2 : การออกแบบและการสร้างฟิล์ม FleXARs ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์

เวลา 15.35-16.00 น.
ช่วงที่ 3 : การเสวนาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการผลิตฟิล์ม FleXARs และการนำไปใช้งานของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ดร.พรเทพ พรรณรักษ์
    สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.ธำรงค์  พุทธาพิทักษ์ผล 
    ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล 
    วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Dr. Je Ping Hu and Dr. Hsin-Chu Chen
    Industrial Technology Research Institute (ITRI)
  • ดร. นิธิ อัตถิ 
    นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เวลา 16.00-16.15 น.
อภิปรายตอบข้อซักถามและปิดการเสวนา

]]>
Session 10 : ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตามแนวทางปฏิบัติ Industry 4.0 https://www.nectec.or.th/ace2019/session-10-smartfactory/ Mon, 22 Jul 2019 02:32:04 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=2008 Read more

]]>
ace2019-14session-10

หัวข้อ : ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตามแนวทางปฏิบัติ Industry 4.0
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 14.45 – 16.15 น.
ห้อง Ladprao 1 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า “อุตสาหกรรม 4.0” (Industry 4.0) เช่นเดียวกับประเทศไทยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ มีการปรับเปลี่ยนการผลิตให้เข้าสู่ยุค 4.0 บริษัทต่างๆ มีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายทรัพยากรการดำเนินงาน เครื่องจักรกลและระบบโลจิสติกส์ ใน Cyber-Physical Systems    มากขึ้น ผลที่ได้คือ “โรงงานอัจฉริยะ” (Smart Factory / Smart Manufacturing)

แท้จริงแล้ว “โรงงานอัจฉริยะ” หมายถึงอะไร อุตสาหกรรมไทยจะปรับตัวและก้าวต่อไปอย่างไรให้เท่าทันยุค 4.0 รวมถึง แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไทย ยังเป็นคำถามที่หลายท่านให้ความสนใจค้นหาคำตอบ

กำหนดการ

เวลา 14.45-15.15 น.
การบรรยาย “Pathway towards Industry 4.0: transformation model from Manufacturing Lab to Learning Factory”

เวลา 15.15-15.45 น.
การบรรยาย “อุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0 กับการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม”

เวลา 15.45-16.00 น.     
การบรรยาย “Mass customization ทางรอดของอุตสาหกรรมไทยในยุค Industry 4.0”

  • คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล
    หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบวัดและควบคุมระยะไกล
    กลุ่มวิจัยระบบอัจฉริยะ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

เวลา 16.00-16.15 น.     
อภิปรายตอบข้อซักถามและปิดการเสวนา

พิธีกรโดย
คุณสุนัจจีย์ นงนุช
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 9 : วิศวกรรมควอนตัมในประเทศไทย (Quantum Engineering in Thailand) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-9-quantum/ Mon, 22 Jul 2019 02:23:20 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1998 Read more

]]>
ace2019-ss09

หัวข้อ : วิศวกรรมควอนตัมในประเทศไทย (Quantum Engineering in Thailand)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 14.30 น.
ห้อง Ladprao 1 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

 

เนื้อหาโดยย่อ

วิศวกรรมควอนตัม (Quantum Engineering) เป็นการวิจัยและพัฒนาในเส้นทางใหม่ โดยใช้ความรู้ทางควอนตัมฟิสิกส์เป็นแกนหลักสำคัญผนวกกับความพยายามเชิงวิศกรรม ที่จะมุ่งเน้นให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เกิดเป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม

เสวนาในหัวข้อนี้จะนำเสนองานวิจัยในกลุ่มของวิศวกรรมควอนตัม โดยหยิบยกตัวอย่างงานวิจัยของภาครัฐของไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งประกอปไปด้วย (1) งานทางด้านการพัฒนาระบบสุ่มตัวเลขด้วยหลักการทางควอนตัม (Quantum Random Number Generator) (2) การทำการจำลองทางควอนตัมสำหรับการศึกษาในเชิงเคมี (Quantum Chemistry) (3) การพัฒนานาฬิกาอะตอม (Atomic Clock) สำหรับการยกระดับความแม่นยำของมาตรฐานเวลา และ (4) อุปสรรคหลักที่ขัดขวางความยิ่งใหญ่ของควอนตัมเทคโนโลยี (Quantum Supremacy)

กำหนดการ

เวลา 13.00–14.30น.
การเสวนา : “วิศวกรรมควอนตัมในประเทศไทย(Quantum Engineering in Thailand)” โดย

ดำเนินรายการโดย

ดร.ปรัชญา บุญขวัญ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 8 : แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มวินิจฉัยโรคพืชโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ https://www.nectec.or.th/ace2019/session-8-plantdiseases/ Fri, 19 Jul 2019 10:02:37 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1980 Read more

]]>
ace2019-ss08

หัวข้อ : แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มวินิจฉัยโรคพืชโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ห้อง Ladprao 1 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

นำเสนอผลงานวิจัยและกระบวนการในการพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคข้าวโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาประยุกต์ใช้ และนำเสนอแนวทางการขยายผลไปยังโรคพืชชนิดอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  รวมทั้งนำเสนอความยากง่ายในเชิงการเก็บข้อมูลโรคในพื้นที่จริง และความต้องการในการใช้งานจริงของเกษตรกร นำเสนอรูปแบบและแนวทางการจัดตั้งระบบให้บริการ และการขยายผลไปยังโรคพืชต่างๆ  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช นักวิจัยด้านการประมวลผลภาพและ AI เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ทำหน้าที่ด้านการอารักขาพืชและตัวแทนเกษตรกร

กำหนดการ

เวลา 10.30 –12.00 น.
การเสวนา : “แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มวินิจฉัยโรคพืชโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์” โดย

  • คุณวศิน สินธุภิญโญ
    นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ
    กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพวเตอร์แห่งชาติ
  • ผศ.ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล
    ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คุณสุโกเมศ ถนอมพุทธ
    ผู้จัดการ-จัดการความรู้ด้านบริการ  
    ศูนย์อบรมงานขายและบริการสยามคูโบต้า บริษัทสยามคูโบต้า
  • คุณธนพล วรรณโคตร
    เกษตรกรรุ่นใหม่
  • คุณภารดา ผาสุก
    พนักงานวิสาหกิจชุมชน ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง

ดำเนินรายการโดย

คุณเปรม ณ สงขลา
บรรณาธิการบริหารวารสารเคหการเกษตร

]]>
Session 7 : ประสบการณ์และความสำเร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมือง https://www.nectec.or.th/ace2019/session-7-smartcity/ Fri, 19 Jul 2019 09:57:08 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1977 Read more

]]>
ace2019-ss07

หัวข้อ : ประสบการณ์และความสำเร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมือง
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 14.45 – 16.15 น.
ห้อง Ballroom B โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายเกิดพื้นที่เมืองอัจฉริยะ 100 พื้นที่ ภายใน 5 ปี รวมถึงการประกวดตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ หลักเกณฑ์การประเมินและคุณสมบัติเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกลการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศ

การเสวนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้บริหารเมืองในพื้นที่ เพื่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมืองให้มีความน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่ผู้บริหารเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการลดค่าใช้จ่ายและการสร้างความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน นอกจากนี้ การเสวนาจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์หรือเทคนิคจากมุมมองของตัวอย่างกลุ่มผู้บริหารเมือง หรือผู้บริหารพื้นที่ ได้นำเทคโนโลยีที่เนคเทคพัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ เช่น

  • การใช้ “ระบบ Traffy waste” เพื่อช่วยบริหารและวางแผนการจัดเก็บขยะ
  • การใช้ “ระบบทันระบาด” สนับสนุนการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค
  • การใช้ “ระบบ Traffy Fondue” เพื่อแจ้งและบริหารจัดการข้อร้องเรียน/ปัญหาเมือง

ซึ่งตัวอย่างผลงานนวัตกรรมที่จะนำมาร่วมเสวนาอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริหารเมืองที่ประสงค์จะส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไป

กำหนดการ

เวลา 14.45 – 15.15 น.

  • พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมืองและบริการประชาชนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)
    • เวลา 14.45 – 14.50 น. 
      กล่าวรายงานที่มาของโครงการ
      โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
      ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
    • เวลา 14.50 – 14.55 น.
      ปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวแสดงความยินดี
    • เวลา 14.45 15.00น.
      ปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดี
    • เวลา 15.0015.15น.
      ถ่ายภาพร่วมกันและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน

เวลา 15.15 – 16.15 น.

  • การเสวนา “ประสบการณ์และความสำเร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมือง” โดย
    • คุณบุญธรรม เลิศสุขีเกษม
      รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
      กระทรวงมหาดไทย
    • คุณปกรณ์ จีนาคำ
      นายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน
      สำนักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
    • คุณวรภพ จารุศร
      ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
      บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)
    • คุณถาวร จิรพัฒนโสภณ
      รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต
      สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต
    • คุณศิวรัชพณ บุญแก้ว
      ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
      สำนักงานเทศมนตรีเมืองป่าตอง
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
    • แพทย์หญิงดารินทร์ อารีย์โชคชัย
      นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ/รองผู้อำนวยการกอง สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง
      กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)

ดำเนินรายการโดย

ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
หัวหน้าทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

พิธีกรโดย

คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 6 : เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้ว…จริงหรือ? (Face recognition: Is Thailand ready for it?) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-6-facerecognition/ Fri, 19 Jul 2019 09:46:59 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1973 Read more

]]>
ace2019-ss06

หัวข้อ : เทคโนโลยีรู้จำใบหน้าประเทศไทยพร้อมใช้แล้ว…จริงหรือ?
(Face recognition: Is Thailand ready for it?)

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00-14.30 น.
ห้อง Ballroom B โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ปัจจุบัน Face recognition เป็นเทคโนโลยี AI ที่ถูกประยุกต์ใช้งานในวงกว้างและตกอยู่ในกระแสข่าวมาโดยตลอด เช่น การใช้จับใบหน้าของประชาชนในที่สาธารณะของประเทศจีน ซึ่งในประเทศไทยเริ่มมีการใช้เทคโนโลยี Face recognition ได้แก่ ในกลุ่มธนาคาร
โดยประเด็นการสัมมนา คือ ประเด็นที่น่าห่วงในการประยุกต์ใช้งาน เช่น Data Privacy

ร่วมเสวนาโดย

ดำเนินรายการโดย

ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
นักวิจัย ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

พิธีกร

คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>
Session 5 : เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการขับเคลื่อน Thailand 4.0 (AI Technology for Driving Thailand into 4.0) https://www.nectec.or.th/ace2019/session-5-ai/ Fri, 19 Jul 2019 09:40:47 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2019/?p=1971 Read more

]]>
ace2019-ss05

หัวข้อ : เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการขับเคลื่อน Thailand 4.0 
[AI Technology for Driving Thailand into 4.0]

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา10.30-12.00 น.
ห้อง Ballroom B โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

จากนโยบายการปรับเปลี่ยนประเทศเข้าสู่ Thailand 4.0 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ถูกมองว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะมาช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เป็น 4.0 ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ประเด็นในการสัมมนา

(1) โจทย์ปัญหาอะไรที่เป็นหัวข้อเร่งด่วนที่ต้องนำเอาเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน
(2) อะไรเป็นอุปสรรคในการประยุกต์ใช้งาน เช่น ขาดแคลน data scientist
(3) ประเด็นที่น่าห่วงในการประยุกต์ใช้ AI เช่น data privacy

วิทยากร

  • ดร.นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร
    ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป
    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
    (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • พันเอก ผศ.ดร. สรรพชัย หุวะนันทน์
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT
  • ดร.ธนา ทุมมานนท์
    กรรมการ
    บริษัท บลิชเทค จำกัด
  • ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
    ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย

ดร.กุสุมาภรณ์ สมพงษ์
ผู้จัดการงานวิเคราะห์ตลาดและเทคโนโลยี (MIIT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>