ลายเส้นคั่น

ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันรับผิดชอบโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริเนื่องในปี แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒๕๓๘

วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติตามพระราชดำริฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบข้อมูลวัฒนธรรมของชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วม กันได้อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการศึกษาค้นคว้า และมีอายุการ ทำงานได้นาน โดยจะเผยแพร่ความรู้ในสาขาชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา และธรรมชาติวิทยา

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) มีภาระกิจในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลวัฒนธรรมของชาติให้ประชาชนทั่วไปได้รับ ข่าวสารและข้อมูลทางวัฒนธรรมอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความรู้จากข้อมูลที่ สวช. ได้รวบ รวมไว้มากที่สุด
การเผยแพร่ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมไทยแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างทั่วถึง อี กทั้งยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลทางวัฒนธรรมไทยให้แก่ชาวต่างประเทศด้วย และเนื่องจากข้อมูลวัฒนธรรม ๗๖ จังหวัด มีเป็นจำนวนมาก จึงต้อง จัดระบบฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติให้เป็นระบบและน่าสนใจ นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องสามารถค้นหาข้อมูลทางวัฒนธรรมของ ชาติได้จากระบบฐานข้อมูลที่จัดทำไว้โดยได้รับข้อมูลที่ผู้ใช้สนใจมากที่สุด
การค้นหาข้อมูลให้ประโยชน์และผู้สนใจโดยตรงจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์และความรู้ จากการค้นหาจากจังหวัด หัวข้อในการจัดเก็บข้อมูล หรือเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูลโดยตรง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ าย
การทำ Web Site เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมก ัน ได้อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยซาบซึ้งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยและช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติสืบไป

หน่วยงานที่เข้าร่วมงาน
ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด ๗๕ จังหวัด และศูนย์วัฒนธรรมในกรุงเทพฯ จำนวน ๑๙ ศูนย์

กรอบเนื้อหาการจัดระบบ
นอกจากข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดแล้ว ยังมีหัวข้อทั้งสิ้น ๘ หัวข้อได้แก่
๑. ข้อมูลประจำจังหวัด ประกอบด้วย ตราประจำจังหวัด, สัญลักษณ์ประจำจังหวัด, คำขวัญ, ต้นไม้ประจำจังหวัด, แผนที่,สภาพทั่วไป และความเป็นมาประจำจังหวัด
๒. สถานที่สำคัญ ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดี, สถานที่สำคัญทางศาสนา, สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์, แหล่งท่องเที่ยว, แหล่งที่มาแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และแหล่งธรรมชาติ
๓. บุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้านประกอบด้วยพระมหากษํตริย์, เจ้าผู้ครองนคร, วีรบุรุษ, บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม, ผู้นำทางศาส นา ผู้นำท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน
๔. วิถีชีวิต ประกอบด้วย ประเพณีท้องถิ่น, พิธีกรรม, ความเชื่อ, การละเล่นพื้นบ้าน, ตำนานและนิทาน และกลุ่มชาติพันธุ์
๕. ภูมิปัญญา ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านการเกษตร, ด้านสุขภาพอนามัยและด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน
๖. ของดีท้องถิ่น ประกอบด้วย อาหาร (อาหารคาว, อาหารหวาน, ผักผลไม้, การถนอมอาหาร) เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องประดับ และหัตถกรรม
๗. เอกสารสำคัญ ประกอบด้วย เอกสารสำคัญ, สมุดไทย, สมุดข่อย, หนังสือบุ, พับสา, จารึก ใบลานและภาพเขียนสี
๘. ธรรมชาติวิทยา ประกอบด้วยซากใบไม้และพืชที่ทับถมกัน, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก, แมลง, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, ปลา, สัตว์ทะเล, แร่ธาตุ หิน ป่าไม้, น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ, สมุนไพร, พืชพื้นบ้าน และพืชเศรษฐกิจ

ลายเส้นคั่น


[จอหลัก | ความเป็นมา | ข้อมูล ๗๖ จังหวัด | ถามไถ่ไทย | ฟังเพลง | ชมวิดีโอ | หอวัฒนธรรมนิทัศน์ | คณะผู้จัดทำ | กาญจนาภิเษก]
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร