หัวข้อที่ ๓ เรื่อง ภาษาและวรรณคดีไทย
ลายเส้นคั่น

          ภาษาเป็นศักดิ์ศรีของชาติ ภาษาและวรรณคดีไทย เป็นสิ่งแสดงความรุ่งเรืองของชนชาติไทยและวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่งยง และยาวนาน ภาษามีชีวิต มีความเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการภาษาไทยได้บ่งบอกถึงลักษณะของชีวิต และสังคมไทยทุกถิ่นฐาน การจัดแสดงได้นำเสนอเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ควรแก่การศึกษาค้นคว้า และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป
      

โดยแบ่งการจัดแสดงเป็น ๗ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ "วิธีวิวัฒน์อักษร" "ภาพสะท้อนอักษรา" และ "คำนวณนับเลขไทย" เป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของภาษาไทย และวรรณคดีสี่สมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จัดแสดง
๑.๑ ป้ายความสำคัญของภาษาไทย
๑.๒ ภาพดูราแทรนแสดงวิวัฒนาการตัวอักษรไทยตามรูปแบบอักษรสมัยต่าง ๆ
๑.๓ ศาลาไทย ศิลาจารึกจำลอง ใบลาน เครื่องเขียนต่าง ๆ และเครื่องเล่น PHOTO CD
๑.๔ คอมพิวเตอร์มัลติมิเดียเรื่อง วิวัฒนการอักษรไทย ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศและเรื่องราวของวรรณคดีไทย ๓ สมัย ได้แก่ สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์

ส่วนที่ ๒ : " พรรณผกาสัตว์น่ารัก " เป็นเรื่องราวของดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ในวรรณคดี จัดแสดง
๒.๑ ภาพดูราแทรนดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ในวรรณคดี
๒.๒ สวนจำลองดอกไม้ประดิษฐ์

ส่วนที่ ๓: " ภาพตรึงตราจากวรรณคดี" และ " เชิดชักเชิดชูขวัญ" เป็นเรื่องราวของการจำลองเหตุการณ์ในวรรณคดีไทยสำคัญ ๓ เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี และอิเหนา ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ฯลฯ จัดแสดง
๓.๑ หุ่นจำลองประกอบฉากแบบไดโอรามา มีปุ่มกดเพื่อฟังเสียงทำนองเสนาะ วรรณคดีไทย ๓ เรื่อง
๓.๒ หุ่นไทย และหุ่นตู้กระบอกในตู้
๓.๓ วีดิทัศน์ นิทานพื้นบ้านไทย บริเวณลานชมจันทร์

ส่วนที่ ๔ : เสนาะกรรณกล่อมนิทรา " เป็นเรื่องราว ของเพลงกล่อมเด็ก และคุณค่าของเพลงกล่อมเด็ก จัดแสดง
๔.๑ หุ่นจำลอง เปล และเด็ก
๔.๒ ภาพดูราแทรน เปล ๔ ภาค
๔.๓ หูฟังเสียงเพลงกล่อมเด็ก ๔ ภาค สัมพันธ์กับภาพดูราแทรนเปลภาคต่าง ๆ

ส่วนที่ ๕ "กล่อมกานท์ผ่านทำนอง" เป็นห้องขับร้องทำนองเสนาะ (คาราโอเกะ) เพื่อฝึกทักษะในการอ่านทำนองเสนาะให้ถูกต้องและสนุกสนาน จัดแสดง
๕.๑ แผนผังแสดงฉันทลักษณ์ร้อยกรอง
๕.๒ ภาพประกอบคำประพันธ์ร้อยกรอง
๕.๓ วีดิทัศน์ เรื่อง ทำนองเสนาะโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และ ร่าย พร้อมโสตทัศนูปกรณ์

ส่วนที่ ๖ "ศักดิ์ศรีภูมิปัญญาชาวบ้าน" และ "ภาษาถิ่นของไทย" คือเรื่องราววรรณกรรมพื้นบ้าน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และภาษาถิ่นต่างๆ จัดแสด
๖.๑ ภาพดูราแทรน วรรณกรรมพื้นบ้าน ๔ ภาค
๖.๒ ภาพดูราแทรนการแต่งกาย ๔ ภาค
๖.๓ หุ่นจำลองเครื่องดนตรี และเสียงประกอบ โดยใช้หูฟังและปุ่มกด
๖.๔ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง วรรณกรรมพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้านและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของแต่ละภาค

ส่วนที่ ๗ "คุณค่าในวรรณคดี" "ไพจิตรราชาศัพท์" และ "ปริศนาคำทาย" แสดงเรื่องคุณค่าของวรรณคดีไทย และคำราชาศัพท์ รวมทั้งเกมด้านภาษา จัดแสดง
๗.๑ ตู้ไม้แสดงหุ่นจำลองตุ๊กตาบุญเจิม ประกอบปุ่มกดฟังเสียงบรรยายคุณค่าของ วรรณคดีไทย
๗.๒ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ภาษาถิ่น สำนวน สุภาษิตคำพังเพย
๗.๓ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ราชาศัพท์ และศัพท์บัญญัติ
๗.๔ ป้าย ภาษา และวรรณคดีเป็นศักดิ์ศรีของชาติ


[จอหลัก | ความเป็นมา | ข้อมูล ๗๖ จังหวัด | ถามไถ่ไทย | ฟังเพลง | ชมวิดีโอ | หอวัฒนธรรมนิทัศน์ | คณะผู้จัดทำ | กาญจนาภิเษก]
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร