การบินของนกต่างๆ
วิวัฒนาการและการบินของเครื่องบิน
ภาพการทดลองและผลการทดลอง
รวบรวมคำถามและคำตอบ
มารู้จักอาจารย์และเพื่อนๆกัน
ติดต่อพวกเรา

เพื่อนๆ ครับ เพื่อนๆทราบไหมว่านกบินได้อย่างไร พวกเรานั้นได้ไปหาข้อมูลจาก ซาฟารีเวิลด์มา
ซึ่งได้ถามมาจากเจ้าหน้าที่ แล้วได้ทราบว่านกนั้นต้องมีปัจจัยหลายอย่างในการบิน และในที่หน้านี้
ได้มีข้อมูลที่จะให้เพื่อนได้ทราบว่านกบินได้อย่างไร มาดูกันเลยครับ

นกใช้แรงสี่ทิศในการบิน ถ้าแรงยกมากกว่าน้ำหนัก นกจะบินลอยสูงขึ้น
ถ้าแรงต้านมากกว่าแรงฉุดนกจะบินช้าลง แต่ถ้าแรงยกเท่ากับน้ำหนัก
แรงต้านเท่ากับแรงฉุด นกก็จะบินสูงขึ้นด้วยความเร็ว
ทีสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น แรงสี่ทิศจะต้องสมดุลกันตลอดเวลา


  
เพื่อนๆมาดูภาพนกบินกัน จะทำให้เราได้เห็นว่านก จะบินได้ยังไง พร้อมแล้วกดเลยครับ

แรงฉุด
แรงฉุด (Thrust) คือ แรงที่ทำให้นกบินและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าซึ่งเกิดจาก
การขยับปีกของนกเทียบได้กับพลังงานของเครื่องยนต ที่ทำให้นกแต่ละตัว
บินไปทางข้างหน้า ถ้าแรงฉุดมากกว่าแรงต้าน จะทำให้นกบินไปได้เร็วขึ้น
แต่ทำเท่ากันจะทำให้นกบินลอยสูงขึ้น






แรงยก
รงยก (Lift) คือ แรงที่เกิดขึ้นโดย ความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นที่พื้นผิว
ด้านบนของปีก เมื่อเปรียบเทียบกับความกดอากาศที่พื้นผิวด้านล่างของ
ปีกนกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือแรงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวด้านบนของปีก
น้อยกว่าแรงที่เกิดขึ้นที่พื้นผิวของปีกด้านล่างตามหลักของเบอร์นูลลี่
ทำให้เกิดแรงยกขึ้นข้างบนที่ปีกของนก







น้ำหนัก
น้ำหนัก (Weight) คือ เกิดจากแรงดึงดูดของโลกแรงนี้กดหรือ
ดึงนกลงมายังโลกเราถือว่ากระทำที่จุดศูนย์กลางของแรง




แรงต้าน
แรงต้าน (Drag) คือแรงที่กระทำตรงข้ามกับแรงที่เคลื่อนที่ของนก
ไปข้างหน้าโดยเฉพาะเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศ
มีทิศทางขนานกับวัตถุที่เคลื่อนที่นี่ก็คือแรงเสียดทานของอากาศ
ที่ผ่านส่วนต่างๆ ของนก แรงต้านเกิดจากการกระทบของอากาศ
การเสียดทานของนกและแรงดูดเนื่องจากอากาศแทนที่






 
 เพื่อนๆครับเมื่อเพื่อนทราบเกี่ยวกับการบินของ นก แล้วยังมีอีกอย่างที่สำคัญคือ
นกแต่ละสายพันธุ์นั้นก็จะมีลักษณะปีกแตกแต่งกันไปตามสายพันธู์ ทำให้มีลักษณะการบิน
ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผมจะมาสรุปให้เพื่อนฟังว่า มันเป็นยังไง

ปีกลักษณะแบน เรียวบางและลู่ไปทางด้านท้าย
ช่วยให้บินได้เร็วและเลี้ยวไปมาได้อย่างคล่องแคล่ว
พบในนกที่ชอบบินหากินกลางอากาศ เช่น นกนางแอ่น
และนกที่ต้องบินอพยพย้ายถิ่นเป็นระยะทางไกล เช่น นกชายเลน
ปีกแคบและยาว
เหมาะสำหรับการร่อนโดยเฉพาะ
พบในนกทะเลที่ต้องร่อนเหนือน้ำทั้งวัน
โดยแทบไม่ต้องกระพือปีกเลย เช่น นกโจรสลัด
ปีกโค้งใหญ่และปลายปีกแยกออกจากกัน
เหมาะสำหรับใช้ร่อนในที่สูง
ช่วยให้นกสามารถลอยตัวอยู่ได้โดยได้รับแรงยกตัวให้ลอย
จากมวลอากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้นมา
พบในนกขนาดใหญ่ที่ร่อนหากินในระดับสูง
เช่น นกอินทรี, แร้ง
ปีกแคบและสั้น
เหมาะสำหรับการบินเร็วในช่วงสั้นๆ และ
ในที่รกทึบของกิ่งก้านต้นไม้ในป่า เช่น นกเขา, นกปรอด

รูปแบบการบินทั่วไปของนก
การบินโบกปีก (flapping)
เป็นการบินโดยขยับปีกโบกขึ้นลง แบบที่เห็นได้กับนกทั่วๆไป

การบินทรงตัวอยู่กับที่ (hovering)
เป็นการบินโดยการกระพือปีกเร็วๆเพื่อให้เกิดแรงยกตัวให้ลอยอยู่กับที่
กลางอากาศได้ พบการบินลักษณะนี้ได้กับนกที่หากินตามทุ่งโล่ง เช่น เหยี่ยวขาว นกกระเต็นปักหลัก

การบินร่อนลดระดับ (gliding)
เป็นการบินร่อนลงก่อนที่จะเกาะ เป็นการบินที่ง่ายที่สุด โดยที่นกเพียงแต่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงดันตัวไปข้างหน้าเพื่อลงเกาะ

การบินร่อนรักษาระดับ (soaring)
พบในนกที่มีปีกขนาดใหญ่จึงจะสามารถทำการบินลักษณะนี้ได้
เช่นนกอินทรี ใช้มวลอากาศร้อนในการร่อนรักษาระดับ ส่วนนกที่บินกลางทะเลใช้กระแสลมช่วยพัดให้นกพุ่งไปข้างหน้าโดย
แรงเฉื่อยและรอการพัดของลมในครั้งต่อไป