การบินของนกต่างๆ
วิวัฒนาการและการบินของเครื่องบิน
ภาพการทดลองและผลการทดลอง
รวบรวมคำถามและคำตอบ
มารู้จักอาจารย์และเพื่อนๆกัน
ติดต่อพวกเรา


นกใช้แรงสี่ทิศในการบิน ถ้าแรงยกมากกว่าน้ำหนัก นกจะบินลอยสูงขึ้น
ถ้าแรงต้านมากกว่าแรงฉุดนกจะบินช้าลง แต่ถ้าแรงยกเท่ากับน้ำหนัก
แรงต้านเท่ากับแรงฉุด นกก็จะบินสูงขึ้นด้วยความเร็ว
ทีสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น แรงสี่ทิศจะต้องสมดุลกันตลอดเวลา


แรงฉุด
เป็นแรงที่กระทำตรงข้ามกับแรงที่ขับเคลื่อนเครื่องบินไปข้างหน้าโดยเฉพาะ
เป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศมีทิศทางขนานกับวัตถุ
ที่เคลื่อนที่นี่ก็คือแรงเสียดทานของอากาศที่ผ่านส่วนต่างๆ ของ เครื่องบิน
แรงต้านเกิดจากการกระทบของอากาศ การเสียดทานของพื้นผิวเครื่องบิน
และแรงดูดเนื่องจากอากาศแทนที่




แรงยก
เกิดขึ้นโดยความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นที่พื้นผิวด้านบนของปีกเมื่อเปรียบเทียบ
กับความกดอากาศที่พื้นผิวด้านล่างของปีกเครื่องบินหรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ
แรงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวด้านบนของปีกน้อยกว่าแรงที่เกิดขึ้นที่พื้นผิวของปีก
ด้านล่างตามหลักของเบอร์นูลลี่ ทำให้เกิดแรงยกขึ้นข้างบนที่ปีกของเครื่องบิน
ลักษณะรูปร่างของปีกเครื่องบินถูกออกแบบมาให้อากาศที่พัดไหลผ่านด้านบน
ของปีกจะมีระยะทางที่อากาศต้องเดินทางมากกว่าจึงทำให้ต้องไหลผ่าน
เร็วกว่าด้านล่างทำให้เกิดความกดอากาศต่ำ ดังนั้นจึงทำให้ปีกถูกยกขึ้น
แรงยกก็คือแรงที่อยู่ตรงข้ามกับน้ำหนักหรือแรงดึงดูดของโลก




แรงโน้มถ่วง
เกิดจากแรงดึงดูดของโลกแรงนี้กดหรือดึงเครื่องบิน
ลงมายังโลกเราถือว่ากระทำที่จุดศูนย์กลางของแรง



กำลัง
เครื่องยนต์
คือ แรงที่ ขับเคลื่อนไป ข้างหน้า จะเป็น แรง ผลัก หรือ แรงฉุด ที่
เกิดจาก เครื่องยนต์ ของ เครื่องบิน ไม่ว่า จะเป็น เครื่องยนต์ ลูกสูบ,
เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ็ท หรือ เทอร์โบแฟน





 เพื่อนๆครับเมื่อเพื่อนทราบเกี่ยวกับหลักการบินของเครื่องบิน แล้วยังมีอีกอย่างที่สำคัญคือ
เครื่องบินจะบินได้นั้นต้องมีหลักการอีกอย่างครับ นั้นคือกฏ แพนอากาศ(Aerofoil)
เกี่ยวกับกฏที่จะทำให้เครื่องบินบินได้ ถ้าเพื่อนๆสนใจเราไปดูกันเลยครับ


แพนอากาศ ทำงานโดยทั่วไปจะโค้งทางด้านบน และแบนราบทางด้านล่าง รูปร่างเช่นนี้จะทำ
ให้อากาศที่ผ่านเหนือปีกไหลได้เร็วกว่าอากาศที่ผ่านใต้ปีก เนื่องจากความดันของของไหล เช่น
อากาศจะลดลงเมื่อมันเคลื่อนที่ ยิ่งอากาศเคลื่อนที่เร็ว ความดันยิ่งลดต่ำลงที่เราเรียกกันว่า
ปรากฎการณ์แบร์นูลลี (นั่นคืออากาศที่อยู่เหนือปีกมีความดันต่ำกว่าอากาศที่อยู่ใต้ปีก ความแตกต่าง
ของความดันนี้จะดันปีกขึ้นและเกิดเป็นแรงยก  ซึ่งเป็นแรงสำคัญที่ทำให้เครื่องบินลอยตัวอยู่ใน
อากาศได้) เพื่อน ๆ สามารถดูตัวอย่าง VDO ภาพในส่วนของการเคลื่อนไหวของปีกได้นะครับ




อากาศที่พัดผ่านด้านบนส่วนโค้งของปีกจะเดินทางมากกว่า
และเร็วกว่าอากาศที่อยู่ด้านล่างดังนั้นจึงมีแรงดันต่ำกว่า
อากาศด้านล่างที่มีแรงดันสูงกว่าจะดันให้ปีกจำลองของเราลอยตัวขึ้น
หรือเกิดแรงยก ซึ่งจะทำให้เครื่องบินลอยตัวอยู่ได้
ในขณะบิน นักบินสามารถบังคับให้เครื่องบิน
เปลี่ยนทิศทางได้ 3 ทาง โดยการควบคุมแพนหางขึ้นลง
แพนหางเสือเลี้ยว และปีกเล็กแก้เอียง
แพนหางขึ้นลงบนหาเครื่องบินจะบังคับให้เครื่องบิน
ก้มหรือเงยแพนหางเสือเลี้ยวบนกระโดงหาง
ของเครื่องบินก็จะบังคับให้เครื่องบินเลี้ยวไปทางซ้ายหรือขวา
ส่วนปีกเล็กแก้เอียงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปีกติดอยู่ตอนปลาย
ปีก เคลื่อนขึ้นลงโดยการบังคับของนักบิน จะเป็นตัวบังคับ
ควบคุมให้เครื่องบินหมุนรอบแกนลำตัวหรือเอียงตัวจาก
ข้างหนึ่งไปยังอีกขึ้างหนึ่ง นอกจากนี้ บนปีกเครื่องบิน
ยังมีอุปกรณ์เล็ก ๆ อีกจำนวนหนึ่งติดอยู่เพื่อให้แรงยก
ของปีก(ปีกให้แรงยก) หรือเพื่อลดแรงยกของปี
(แผ่นทำลายแรงยก)


ก้ม-เงย
เลี้ยวซ้าย-ขวา
หมุนรอบแกนลำตัว

หน้าแรก | การบินของนก | การบินของเครื่องบิน | การทดลอง | ถาม-ตอบ | รู้จักพวกเรา | ติดต่อเรา
Copyright © 2003 Flytogether.com All Rights Reserved