ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)

Share to...

Facebook
X

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging System: MIS) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสร้างภาพทางการแพทย์ โดยเริ่มการวิจัยพัฒนา Cone-Beam CT ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ต่อมาในปี 2011 ทีมวิจัยสามารถพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบรังสีทรงกรวย (Cone-Beam CT) สำหรับงานทันตกรรม หรือเดนตีสแกน รุ่น 1.1 สำเร็จเป็นเครื่องแรกของไทย จากนั้น ทีมวิจัยร่วมกับศูนย์ฯ อื่น ภายใต้ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร มุ่งมั่นวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่อง CT & DR เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชนไทย และส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยอย่างต่อเนื่องดังนี้

  • ในปี ค.ศ. 2007 – ปัจจุบัน วิจัย พัฒนา และผลิตเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ สำหรับงานทันตกรรม “DentiiScan (เดนตีสแกน)” ได้แก่ DentiiScan 1.1, DentiiScan 2.0, DentiiScan Duo และ DentiiScan Trio
  • ในปี ค.ศ. 2011 – ปัจจุบัน วิจัย พัฒนา และผลิตเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนย้ายได้ “MobiiScan”
  • ในปี ค.ศ. 2012 – ปัจจุบัน วิจัย พัฒนา และผลิตเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัล “BodiiRay (บอดีเรย์) ” ได้แก่ BodiiRay, BodiiRay S, BodiiRay R, BodiiRay P, และ BodiiRay PX
  • ในปี ค.ศ. 2014 – ปัจจุบัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิจัย และพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติความละเอียดสูง เพื่อตรวจขอบเขตทางรังสีของชิ้นเนื้อเต้านมในห้องผ่าตัด “MiniiScan (มินีสแกน)”

เครื่อง CT & DR ข้างต้นนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสี โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) อีกทั้งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 จาก TÜV SÜD และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

วิสัยทัศน์

มุ่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบสร้างภาพทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ชั้นสูงในประเทศไทยและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้

พันธกิจ

  • ออกแบบ วิจัย และพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการสร้างภาพทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นเอง ให้สามารถใช้งานได้จริงและเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

เทคโนโลยีหลัก

ทีมวิจัย มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวิจัยพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัล โดยมีเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ดังนี้

  • X-Ray and cone-beam technology
  • Medical imaging and image processing
  • Simulation and modeling for medical imaging systems
  • Medical image software development
  • Artificial Intelligence (AI)
  • Medical Machine design
  • Medical device safety, ISO 13485

ผลงานเด่น/ผลงานที่ให้บริการ

1)     เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติสำหรับงานทันตกรรม (DentiiScan): DentiiScan 2.0, DentiiScan Duo และ DentiiScan Trio สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาสำหรับงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด การผ่าตัดบริเวณช่องปากและขากรรไกร ทันตกรรมรักษารากฟัน และทันตกรรมจัดฟัน

2)     เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสองมิติ (Digital Radiography): BodiiRay S (เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก), BodiiRay R (ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล), BodiiRay P (เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบเคลื่อนที่ได้ขนาดเล็ก) และ BodiiRay PX (เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบเคลื่อนที่ได้ขนาดเล็กชนิดมีแบตเตอรี่) ช่วยในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทรวงอก, ช่องท้อง, กระดูกต่าง ๆ เป็นต้น ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลาย และมีกระบวนการปรับปรุงคุณภาพที่เหมาะสมกับอวัยวะต่าง ๆ

3) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiiScan) สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และผ่าตัดเด็กที่มีความผิดปกติบริเวณใบหน้า กะโหลกศีรษะ และขากรรไกรในเด็กแต่กำเนิด หรือผู้ป่วยอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ มือ และเท้า รวมทั้งผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ช่วยให้วินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและให้การรักษาเบื้องตันได้อย่างเหมาะสม

4) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับตรวจชิ้นเนื้อในงานผ่าตัดมะเร็งเต้านม (MiniiScan) ช่วยในการประเมินขอบเขตก้อนเนื้องอกที่ผ่าจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วยวิธีผ่าแบบสงวนเต้า (breast conservative surgery) เพื่อยืนยันว่าได้ตัดก้อนเนื้องอกออกจากตัวผู้ป่วยครบทั้งหมด สามารถประจำที่ห้องผ่าตัดหรือเคลื่อนย้ายตามการใช้งาน

5) ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม (เดนตีแพลน หรือ DentiPlan) สามารถจำลองการใส่รากฟันเทียมสร้างแบบจำลองฟันร่วมกับกราฟิกไฟล์ (STL) ที่ได้จากการสแกนผิวฟัน (Intraoral Scan) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียมได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทันตแพทย์

6)     ระบบแสดงผลภาพสามมิติผ่านคลาวด์ (เรดีวิว หรือ Radiiview) คลาวด์แอปพลิเคชันที่ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อใช้สำหรับแสดงภาพสามมิติในมุมมองต่างๆ และจัดเก็บภาพไดคอม (DICOM) จากเครื่องเดนตีสแกน รุ่น 2.0 เครื่องเดนตีสแกน รุ่นดูโอ เครื่องเดนตีสแกน รุ่นทรีโอ และเครื่องโมบีสแกน เข้าสู่ระบบคลาวด์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลและดูภาพในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันผ่านทางเว็บบราวเซอร์บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ได้ทุกที่ทุกเวลา และใช้ปรึกษาทางไกลระหว่างทันตแพทย์/แพทย์

Award

  1. รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทกลุ่มบุคคล จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. Best Paper Award, ECTI-CON conference, 2558
  3. รางวัลชนะเลิศ จากงาน ICT Award ประจำปี พ.ศ. 2554 จากผลงานซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม (เดนตีแพลน)
  4. รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2552 รางวัลระดับชมเชย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากผลงานซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม
    (เดนตีแพลน)
  5. ดร.เสาวภาคย์ (โสตถิวิรัช) ธงวิจิตรมณี ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2551 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  1. ดร.เสาวภาคย์  ธงวิจิตรมณี (หัวหน้าทีมวิจัย, นักวิจัยอาวุโส) : X-Ray technology, Cone-beam CT, image reconstruction, image processing, medical imaging, ISO 13485
  2. ดร.วลิตะ  นาคบัวแก้ว (นักวิจัย) : Cone-beam CT, image reconstruction, medical Image processing, computer graphics and visualization, software Development, expert rule-base system, ISO 13485, IEC62304
  3. ดร.สรพงศ์  อู่ตะเภา (นักวิจัย) : Cone-beam CT, image reconstruction, X-ray technology,  medical imaging, deep learning
  4. ดร.ณัฐวุฒิ  สินสืบผล (นักวิจัย) : Medical Image processing, digital radiography, medical imaging AI
  5. ดร.กิตติพงศ์  กสานติกุล (นักวิจัย) : Control system, cone-beam CT, image processing, machine learning, data analytics
  6. นายปริญญา  จันทร์หุณีย์ (วิศวกรอาวุโส) : Machine design, CAD/CAM/CAE software design and analysis, machine element, automachine, automation, fluid mechanics
  7. นายอัฐศักดิ์  เกียงเอีย (วิศวกรอาวุโส) : Cone-beam , x-ray CT system, biomechanics, mechatronics, control system, preventive and breakdown maintenance, ISO 13485
  8. นางสาวชาลินี  ธนทรัพย์สมบัติ (ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส) : Cone-beam CT, CT reconstruction, X-ray physics and simulation, X-ray detector
  9. นายก้องยศ  วังคะออม (วิศวกรอาวุโส) : Computer architecture, software analysis and design,
    web services, web applications
  10. นางสาวดวงกมล  บรรณสาร (วิศวกรอาวุโส) : Web development, data visualization, computer graphics, medical image processing, software engineering
  11. นางสาวเสาวนีย์  เอี่ยมศิริ (วิศวกร) : Software analysis and design, web services, 3D visualization, web applications, medical image processing
  12. นายสาธิต  ฤกษ์คง (วิศวกร) : Cone-beam , X-ray CT system, biomechanics, control system, electronics, preventive and breakdown maintenance
  13. นางสาวนภวรรณ  กังสัมฤทธิ์ (ผู้เชี่ยวชาญเทคนิค) : มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ (ISO 13485)

ติดต่อ

ดร.เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อีเมล: saowapak.tho@nectec.or.th
โทร. : (+66) 2-564-6900 ext 2282
เว็บไซต์