• slide 1
Printed Electronics

อิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ (Printed Electronics) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพิมพ์ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ปัจจุบันมาใช้สร้างวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยใช้พลาสติกนำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรองสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อันมีผลทำให้เกิดกระบวนการใหม่ในการประกอบอุปกรณ์ รวมไปถึงคุณสมบัติใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการประยุกต์ใช้งานได้เพิ่มเติมหรือใหม่ไปจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้จะทำให้การผลิตวงจรและอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีราคาถูกลง ไม่ต้องใช้เครื่องมือและห้องสะอาด (Cleanroom) ราคาแพง ประเทศที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ยุโรป ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญและลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ชนิดนี้ ประเทศไทยเองก็มีความหวังที่จะขยับตัวเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการพิมพ์ และ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่ค่อนข้างเข้มแข็ง.....Readmore

zonning

ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ในการทำโซนนิ่งภาคการเกษตรให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยจะช่วยวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอและสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของตลาดได้ รวมทั้งรองรับการวิจัยและพัฒนาและการพยากรณ์ปริมาณอุปสงค์อุปทานของตลาดได้อย่างแม่นยำ ในขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยก็สามารถให้ข้อมูลการผลิตได้ด้วยตัวเองและได้รับข้อมูลการคาดการณ์ผลผลิตและราคาล่วงหน้าได้อีกทางหนึ่ง อันจะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและช่วยลดภาระของรัฐบาล ในการอุดหนุนสินค้าเกษตรในอนาคต ต้นแบบแรกของระบบดำเนินการที่ จ.กำแพงเพชร ในการสัมมนาหัวข้อนี้จะได้นำเสนอระบบทั้ง 4 ส่วนที่ประกอบกันอย่างลงตัวในการประเมินพืชทดแทน เพื่อให้เกษตรกรได้รับกำไรสูงสุด.....Readmore

ict

การลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานหลัก อาทิ ไฟฟ้าและโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ภูเขา หรือชุมชนชายขอบที่ยังอยู่อาศัยในป่า ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศและยังนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำอย่างไรที่จะทำให้ประชากรในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำด้านสารสนเทศ (Digital Divide) มีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุเช่น การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์และระบบอินเทอร์เน็ต ความแตกต่างด้านการศึกษา ลักษณะทางกายภาพของประชากร ด้านแรงจูงใจในการลงทุนวางระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ในพื้นที่ที่มีผลตอบแทนด้านการลงทุนต่ำ ปัจจัยด้านการบริการและคุณภาพ เป็นต้น ในหลายยุคหลายสมัยได้มีการผลักดันส่งเสริมให้มีการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสารสนเทศของหน่วยงานรัฐและเอกชน ทั้งในรูปแบบของการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน การผลักดันด้วยกลไกของ USO (Universal Service Obligation) และรูปแบบอื่นๆ หลายแนวความคิดเช่น ความมีส่วนร่วมของชุมชน การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลอย่างชุมชนชายขอบมีความท้าทายในการแก้ไขปัญหาอย่างมาก ทั้งการเข้าถึงพื้นที่ที่ลำบากเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของประชากรในท้องถิ่น ปัญหาตามแนวชายแดน การศึกษา การสาธารณสุข ความยั่งยืนของโครงการ.....Readmore

innovation

การพัฒนากระบวนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โครงสร้างพื้นฐานและบริการเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมถือป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในยุค CSR 2.0 หรือ CSV (Create Shared Values) เนื่องจากการพัฒนานวัตกรรมจะต้องถูกออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทั้งทางสังคมและปลูกฝังคุณค่าเข้าไปในการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างลงตัว ในหัวข้อสัมมนานี้ประกอบด้วยการแบ่งปันประสบการณ์และกระบวนการคิด เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมในประเทศไทยผ่านมุมมองของบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย การนำเทคโนโลยี IoTs สัญชาติไทยไปช่วยยกระดับทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นใน 2 ด้านหลัก คือ การเกษตร และการแพทย์ ได้แก่ ระบบช่วยเหลือสังคมผู้สูงอายุของไทย นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำงานวิจัยที่ช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ได้แก่ “EasyHos” (อีซี่ฮอส) ระบบนำทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐเป็นระบบที่ให้บริการข้อมูลเสมือนเป็นผู้นำทางแก่คนไข้เมื่อใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นข้อมูลการให้บริการของคนไข้ เช่น สถานที่ที่คนไข้จะต้องไปติดต่อ ณ เวลานั้น จำนวนคิวที่ต้องรอ การแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงคิว ข้อมูลใบเสร็จล่วงหน้า เป็นต้น อันเป็นการลดภาระเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามหรือค้นหาคำตอบแก่คนไข้ โดย EasyHos ได้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วที่สถาบันทันตกรรม....Readmore

webmobile

การเหลื่อมล้ำการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Digital divide) ยังเป็นประเด็นที่ไม่ล้าสมัยหรือบรรเทาเบาบางลง แม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในโลก การจัดทำและใช้งานมาตรฐาน Web accessibility & Mobile accessibility เกิดขึ้นจากความตั้งใจร่วมกันของกลุ่มนักเทคโนโลยี ผู้ใช้งาน นักนโยบาย และนักธุรกิจ เพื่อจัดการกับการเหลื่อมล้ำนี้ ดังตัวอย่าง โปรแกรมที่จะให้บริการบนร้านค้าออนไลน์ต้องถูกตรวจสอบว่าผ่านมาตรฐาน Mobile accessibility หรือไม่ มีการให้บริการและการใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ ดังนั้นหากการเผยแพร่รวมทั้งการให้บริการผลงานที่มีการใช้ ICT ของหน่วยงานรัฐและเอกชนคำนึงถึงการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ข้างต้นนี้จะเอื้อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ในสาธารณะได้อย่างเต็มที่....Readmore

speech.jpg

ปัจจุบัน เทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech-to-Text) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือการพูดแทนการพิมพ์ หรือการสั่งงานด้วยเสียง เริ่มเป็นที่รู้จักและเริ่มมีแอพพลิเคชั่นถึงมือผู้ใช้ทั่วไปจากค่ายต่างๆ ทั้งที่เป็นสัญชาติไทยและจากต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้กันบนสมาร์ทโฟนประเภท Android ผ่าน Google Now และอุปกรณ์พกพาจากค่าย Apple ผ่าน iOS Voiceover และแอพพลิเคชันอื่นๆ อาทิ Dragon Dictation ของ บริษัท Nuance Communication ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านเสียงพูดมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หน่วยงานในประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนาระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย ได้แก่ พาที (Party) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ มะลิ (Mari) โดย ทรูมูฟร่วมบริษัท Amivoice เป็นต้น ผู้ใช้ในประเทศไทยเริ่มมีโอกาสจับต้องเทคโนโลยีนี้ผ่านทางแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเป็นหลัก โดยใช้อำนวยความสะดวกในพิมพ์ข้อความ เช่นใน Google voice search หรือใช้สอบถามข้อมูลต่างๆ ดังเช่น Mari หรือ Apple Siri เป็นต้น แต่ใครจะรู้บ้างว่าแอพลิเคชั่นเหล่านี้มาจากที่ใด ทำงานอย่างไร และนักวิจัยไทยเองสามารถพัฒนาไปได้มากเพียงใด เรามาทำความรู้จัก “นวัตกรรมแปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทย (Thai Speech-to-Text)” และเราจะได้ประโยชน์จากการนำนวัตกรรมแปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทยนี้มาใช้ในรูปแบบอื่นได้อย่างไรอีกบ้าง มาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจกับนวัตกรรมที่เข้ามาใกล้ตัวทุกคนในขณะนี้ ในการเสวนา อนาคตนวัตกรรมแปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทยที่ไกลกว่าบนสมาร์ทโฟน (The Future of Thai Speech-to-Text Innovation - Beyond Smart Phones)....Readmore

internetofthing

Internet of Thing หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่ นวัตกรรมและบริการใหม่มากมาย ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ภายในบ้านตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้อยู่อาศัยและส่งสัญญาณไปสั่งเปิด / ปิดสวิตซ์ไฟตามห้องต่างๆ ที่มีคนหรือไม่มีคนอยู่ อุปกรณ์วัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุและส่งข้อมูลไปยังบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งข้อความเรียกหน่วยกู้ชีพหรือรถฉุกเฉิน เป็นต้น ตัวอย่างทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากเทคโนโลยี IoT ซึ่งแม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ถือเป็นเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้พัฒนาชาวไทยและประเทศไทยที่จะเข้ามามีบทบาท ไม่ใช่ในฐานะ ผู้ใช้เท่านั้น แต่เราสามารถมีส่วนร่วมกำหนดทิศทาง สร้างนวัตกรรม บริการ หรือมาตรฐานใหม่ๆ เพื่อก้าวขึ้นไปเป็น ผู้เล่นสำคัญของโลกได้ งานสัมมนานี้จะแนะนำและสาธิตบริการ Cloud Platform ที่จะช่วยลดระยะเวลาการพัฒนา IoT Application และลดภาระการติดตั้งดูแลระบบ ช่วยให้การประดิษฐ์และพัฒนานวัตกรรมด้าน IoT ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น นำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้พัฒนาและผู้ประกอบการ....Readmore

bigdata

ในยุคสังคมดิจิทัลนั้น การเข้าถึงและการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นหาข้อมูลอย่างทันทีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การสั่งซื้อสินค้าทางช่องทางออนไลน์ หรือแม้แต่การเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่างๆ โดยการเชื่อมต่อระบบไร้สายผ่านอินเทอร์เน็ต โดยรับเกรียติจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างประเทศ มาบรรยาย ดังนี้

Dr.Javier Barria
Associate Professor of Intelligent Systems and Network Group
Department of Electrical and Electronic Engineering
pdf file

Dr.Satoshi Sekiguchi
Director General
Department of Information Tecnology and Human Factors
National Institute of Industrial Science and Technology(AIST), Japan
pdf file

Dr.Tzi-Cker Chiueh
Vice President and General Director
Information and Communications Research Laboratories Cloud Computing Center for Mobile Application Industrial Technology Research Institute
Hsinchu, Taiwan
pdf file