NECTEC Timeline
- All
- Awards
- Infrastructure
- MOU
- Research
- Tech transfer
-
16 Sep 1986
กำเนิด NECTEC
NECTEC ช่วงแรกมีสถานะเป็นโครงการภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยสังกัดสำนักปลัดกระทรวงฯ บทบาทหลักในช่วงแรกของเนคเทค คือการเป็นแหล่งให้ทุนวิจัย (Funding agency) ทางการพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ มีกำลังคนไม่ถึง 10 คน ศอ.พว. ดำเนินโครงการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศจำนวน 7 โครงการ ได้แก่
• โครงการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
• โครงการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
• โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet)
• โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อสังคม การศึกษาและวิจัย (ไทยสาร-3)
• โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
• โครงการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
• โครงการศูนย์ประสานและดำเนินการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000
• โครงการสำนักบริการเทคโนโลยี สารสนเทศภาครัฐ -
1987
ThaiSarn 1
จัดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย ThaiSarn1
-
1987
ความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น
ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นโดย Japanese Center of International Cooperation for Computerization (CICC) ในการดำเนินโครงการวิจัยการแปลภาษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
-
1987
12 เทคโนโลยีหลักเพื่อการวิจัยและพัฒนา
เนคเทคว่าจ้างสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำโครงการวิจัยศึกษาสถานภาพและความต้องการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ฯ และกำหนดโครงการหลักที่ทางศูนย์ฯ ให้การสนับสนุน 12 โครงการ
1.โครงการพัฒนาเทคโนโลยีชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์
2.โครงการออกแบบและผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มาก (VLSI)
3.โครงการพัฒนาวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด
4.โครงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
5.โครงการคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์เพื่ออุตสาหกรรม
6.โครงการปัญญาประดิษฐ์
7.โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8.โครงการเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์
9.โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตมอเตอร์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
10.โครงการคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์
11.โครงการพัฒนาอุปกรณ์โทรคมนาคม
12.โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ -
1988
การวิจัยในรูปแบบไตรภาคี
กำหนดการให้ทุนสนับสนุน การวิจัยในรูปแบบไตรภาคี
-
พัฒนากำลังคน 1989
ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เพื่ออุตสาหกรรม (CAD Center)
ดำเนินงานพัฒนากำลังคน โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อมาได้ยกระดับเป็น NSTDA Academy ในปี พ.ศ.2554
-
1989
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการครั้งแรก
จัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการเป็นครั้งแรก ในด้านสาขาวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์
-
1990
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต
ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต สู่การผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทถาวรคอมพิวเตอร์ จำกัด
-
1991
ต้นแบบตู้โทรศัพท์สาขาอัตโนมัติ (PABX)
ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบตู้โทรศัพท์สาขาอัตโนมัติ (PABX) สู่เอกชน มีการผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทอินเตอร์โฟนิค จำกัด
-
1991
ต้นแบบเครื่องรับโทรศัพท์
ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบเครื่องรับโทรศัพท์สู่เอกชน ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทอินเตอร์โฟนิค จำกัด
-
1991
ประกาศใช้ พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันที่ 30 ธันวาคม 2534 ได้เปลี่ยนแปลงสถานะจากโครงการภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เป็นศูนย์แห่งชาติ เฉพาะทาง ตาม พรบ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2534
-
1992
ต้นแบบพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทย-อังกฤษ อังกฤษ-ไทย
ผลิตต้นแบบพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทย-อังกฤษ/อังกฤษ-ไทย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เอกชน มีการผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทถาวรคอมพิวเตอร์ จำกัด และ บริษัทวันไทยคอมพิวเตอร์ จำกัด
-
1992
ไทยทัศน์
แจกจ่าย “ไทยทัศน์” โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการช่วยสอน ให้กับโรงเรียนในประเทศไทย
-
เริ่ม Thaisarn2 1992
ThaiSarn2
เริ่มโครงการ ThaiSarn2 (Thai Social and Research Network) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อ 6 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย
-
1992
จัดตั้งสำนักงานเลขานุการ กกสช.
ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ กกสช.
-
1993
เพิ่มจุดเชื่อมต่อ ThaiSarn2
ThaiSarn2 เพิ่มจุดเชื่อมต่อเป็น 24 จุด โดยการเชื่อมต่อกับหน่วยราชการและมหาวิทยาลัยให้เพิ่มขึ้น
-
หน่วยวิจัย 1993
จัดตั้งหน่วยปฎิบัติการวิจัยและพัฒนาอิเล็กโทรออปติกส์
จัดตั้งหน่วยปฎิบัติการวิจัยและพัฒนาอิเล็กโทรออปติกส์ เริ่มผลิตเลเซอร์พอยน์เตอร์สู่เชิงพาณิชย์
-
1994
นโยบายสารสนเทค (IT2000)
นำผลการวิจัยเชิงนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปขับเคลื่อนนโยบาย เริ่มจัดทำนโยบายสารสนเทค (IT2000)
-
1995
ผลิตพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Lexitron V1.0
ผลิตพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Lexitron V1.0 ออกสู่เชิงพาณิชย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ บริษัท เอ็น เอส ที อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย