ระบบแปลภาษา สำหรับอาเซียน 2015

Facebook
Twitter
asean-mt
เชื่อมต่อประชาคมด้วยระบบแปลภาษาอาเซียน ASEAN MT

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) ร่วมกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (The ASEAN Machine Translation Project) ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการสำคัญของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology- COST) มุ่งหวังสนับสนุนกระบวนการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ระหว่างชาติอาเซียน ผลลัพธ์ที่ได้ในโครงการนี้ทำให้คณะนักวิจัยได้มีทรัพยากรของภาษาอาเซียนที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อช่วยการสื่อสารและมีระบบแปลภาษาสำหรับภาษาอาเซียน นอกจากนี้ในด้านการวิจัย ถือเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านภาษาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในการร่วมมือกันพัฒนางานวิจัย คาดหากดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศภายในอาเซียนเป็นไปได้สะดวกขึ้น มีการบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว สามารถนำระบบนี้ไปช่วยเพิ่มเติมมูลค่าให้กับธุรกิจของตนเองได้ โดยระบบแปลภาษาอัตโนมัติ สามารถทดลองใช้งานได้ที่

การรวมตัวประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ จะทำให้เกิดการติดต่อสื่อสาร การเดินทางและแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประเทศสมาชิกอาเซียนมีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีจุดเด่นเฉพาะเป็นของตนเอง ดังนั้น ประชาชนของแต่ละประเทศจึงภาษาของตนเองเป็นหลัก การพัฒนาระบบแปลภาษาอัตโนมัติ จะเป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารข้ามกันไปมาระหว่างประเทศสมาชิกได้ ภาษาในอาเซียนที่สำคัญๆได้แก่ ภาษาไทย (ไทย) ภาษากัมพูชา (กัมพูชา) ภาษาลาว (ลาว) ภาษาบาฮาซาร์มาเลเซีย(มาเลเซีย) ภาษาบาฮาซาร์อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) ภาษาบาฮาซาร์(บรูไน) ภาษาตากาล๊อก (ฟิลิปินส์) ภาษาพม่า(พม่า) ภาษาเวียดนาม(เวียดนาม) ภาษาจีนและอังกฤษ (สิงคโปร์) ในปีเริ่มต้นของโครงการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ ทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมายของเนคเทคได้เป็นแกนนำในการดำเนินโครงการร่วมกับทีมนักวิจัยจากประเทศสมาชิกอาเซียน และสิ้นสุดโครงการระยะที่ ๑ ในปี ๒๕๕๘ ผลของโครงการฯได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆในเชิงวิชาการและพร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ส่วนในระยะที่ ๒ ของโครงการฯ ทางคณะนักวิจัยวางแผนที่จะเสนอผลงานในวารสารทางวิชาการร่วมกัน เพื่อต่อยอดความร่วมมือระหว่าง และวางแผนนำทรัพยากรที่ได้ มาประยุกต์ เป็น ระบบช่วยในการท่องเที่ยวผ่านทางสมาร์ตโฟน

ASEAN Machine Translation หรือ ASEAN MTเป็นการพัฒนาระบบแปลภาษาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่ง สมาชิกแต่ละประเทศร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาและร่วมกันสร้างทรัพยากรภาษา ในระยะที่๑ โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยมากกว่าการพัฒนาเป็นการให้บริการ ระบบแปลภาษาอาเซียนนี้จะเน้นการพัฒนาระบบแปลภาษาในกลุ่มสมาชิกอาเซียนซึ่งบางภาษามีทรัพยากรน้อยมาก ดังนั้น ระบบแปลภาษาอัตโนมัติที่มีมาก่อนหน้านี้ จะไม่สามารถแปลไปมาระหว่างกันได้โดยตรง ต้องผ่านภาษาอังกฤษ ที่มีรากฐานภาษาต่างกับภาษาในประเทศในกลุ่มอาเซียนมาก จึงทำให้โอกาสแปลได้ถูกต้องมีน้อย แต่ระบบนี้จะสร้างทรัพยากรซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาในอนาคตได้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการแปลเฉพาะทาง เพื่อทำให้สามารถต่อยอดการใช้งานได้จริง ดังนั้นโครงการนี้จึงโครงการนี้จึงเลือกที่จะทีพัฒนาบนโดเมนเฉพาะ คือ โดเมนการท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก ซึ่งมีจำนวนคำศัพท์ประมาณ ๕,๐๐๐ คำ ซึ่งจะช่วยให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมาในประเทศกลุ่มสมาชิกมีข้อมูลที่มีคุณภาพได้

asean-mt