|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

บูดูแท่ง


 

 

 

 

เนื่องจากบูดูเป็นอาหารหมักที่นิยมรับประทานกันมากในภาคใต้ตอนล่างของไทย และมาเลเซีย อีกทั้งยังเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ทำรายได้สูงแก่ประชาชนในท้องถิ่น แต่ผู้ผลิตประสบปัญหาการแตกของภาชนะทำให้เกิดกลิ่นรบกวนขณะขนส่ง และไม่สะดวกในการขนส่งไปจำหน่าย โดยเฉพาะนำไปเป็นของฝาก เพราะบ่อยครั้งที่ชาวมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะจะพกพาไปลำบากมาก จึงได้มีการศึกษาวิธีการแปรรูปบูดูเหลวให้เป็นบูดูแท่ง เพื่อความสะดวกในการเดินทาง แต่ก็พบปัญหาว่าเมื่อได้บูดูแท่งมาแล้ว รสชาติของบูดูแท่งแตกต่างจากบูดูเหลวมาก ซึ่งสันนิษฐานว่า สารอินทรีย์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับรสชาติของบูดูอาจจะมีจุดเดือดต่ำ และระเหยไปในขั้นตอนการเคี่ยว และอบ จึงได้มีการนำเครื่องเทศต่างๆ ใส่เข้าไปด้วย เพื่อให้บูดูแท่งมีรสชาติที่ดี

การผลิตบูดูแท่ง
1.เตรียมเครื่องปรุง โดยการนำพริกขี้หนู, หัวหอมแดง, ใบมะกรูด, มะนาว และน้ำส้มสายชูมาปั่นรวมกันจนเข้ากัน
2.นำบูดู, เครื่องปรุง, น้ำตาลทราย และเนื้อปลาต้มสุกลงกระทะเพื่อเคี่ยวประมาณ 8 ชั่วโมง พอหนืด
3.รอจนเย็นแล้วนำไปเข้าเครื่องอัดให้ได้ขนาด 2.5x3.0x1.2 เซนติเมตร
4.นำไปเข้าตู้อบที่อุณหภูมิประมาณ 80-100 องศาเซลเซียส ประมาณ 20 นาที
5.นำบูดูแท่งมาตัดแต่งให้สวยงาม
6.นำบูดูแท่งไปห่อด้วยพลาสติก 1 ชั้น และกระดาษฟรอยด์อีก 1 ชั้น
7.นำไปบรรจุถุง ถุงละ 3 ก้อน
8.ปิดปากถุง พร้อมจำหน่ายถุงละ 12 บาท

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
ภาพประกอบ

 

การเคี่ยวบูดู
บูดูแท่ง บูดูแท่ง
บูดูแท่ง บูดูแท่ง
นำบูดู, เครื่องปรุง และ
เนื้อปลาสุก ไปเคี่ยว
นำส่วนผสมที่ได้ไปเข้า เครื่องอัด
นำส่วนผสมไปเข้าตู้อบ
นำส่วนผสมที่ผ่านการอบมา
ตัดแต่งให้สวยงาม
นำบูดูแท่งไปห่อด้วยพลาสติก, กระดาษฟรอยด์ และบรรจุถุง พร้อมจำหน่าย