|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

ลักษณะของบูดู
บูดูสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บูดูเค็ม คือ บูดูที่ใช้รับประทานกันทั่วไป  มักใช้เป็นเครื่องปรุงรสและใส่ในส้มตำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 บูดูข้น  มีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ จะมีส่วนที่เป็นเนื้อปลาที่ผสมอยู่กับบูดู เป็นบูดูที่ไม่มีการผสมส่วนผสมอื่น
1.2 บูดูใส มีลักษณะคล้ายกับน้ำปลา แต่มีสีออกน้ำตาลแดงกว่าน้ำปลา มีหลายระดับขึ้นอยู่กับการนำไปผสมกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำเกลือ สีผสมอาหาร โดยมีอัตราส่วนแตกต่างกันดังนี้
     1.2.1 บูดูแท้ ส่วนที่เป็นของเหลว ไม่ผสมอะไรเลย
     1.2.2 เนื้อปลาจากการหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำเกลือ 1 ส่วน โดยปริมาตร
     1.2.3 บูดูแท้ 1 ส่วน ต่อ น้ำเกลือ 3 ส่วน โดยปริมาตร อาจจะผสมสีเพื่อความสวยงาม

2. บูดูหวาน คือ บูดูที่ใช้รับประทานกับข้าวยำ วิธีการทำ  คือ  นำบูดูเค็มมาเคี่ยวกับน้ำตาลจนข้นแล้วนำไปปรุงรสในข้าวยำ

บูดูแท้สามารถเก็บไว้ได้นาน ยิ่งนานสีจะยิ่งแดงเข้มและกลิ่นจะยิ่งหอม ส่วนบูดูที่เกิดจากการผสมเก็บไว้ได้ไม่นาน สีจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
บูดูที่เกิดจากเนื้อปลาผสมกับน้ำเกลือ
บูดูที่เกิดจากบูดูผสมกับน้ำเกลือ  1 : 3
บูดูแท้
ภาพประกอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บูดูแท้ ที่ไม่มีการผสมส่วนผสมใด ๆ โหลละ 110 บาท
บูดูผสมกับน้ำเกลือ อัตราส่วน 1 : 3 โหลละ 90 บาท
บูดูผสมที่เกิดจากเนื้อปลาผสมกับน้ำเกลือ โหลละ 40 บาท
ภาพแสดงการเปรียบเทียบบูดูลักษณะต่างๆ ภาพแสดงการเปรียบเทียบบูดูลักษณะต่างๆ
ภาพแสดงการเปรียบเทียบบูดูลักษณะต่างๆ ภาพแสดงการเปรียบเทียบบูดูลักษณะต่างๆ
ภาพแสดงการเปรียบเทียบบูดูลักษณะต่างๆ