|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

แสงกับพฤติกรรมของปลา


ปลาแต่ละสปีชีส์ชอบแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณความเข้มของแสงแตกต่างกันไป ตั้งแต่บริเวณที่มีแสงเข้มจัดที่ผิวน้ำไปจนถึงบริเวณที่มืดสนิทในถ้ำ เราก็ยังพบปลาอาศัยอยู่ ปริมาณความเข้มของแสงจะแปรผันในแต่ละวันและเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของปลาเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

ปลาสามารถรับทราบการเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงในแต่ละวันและแต่ละฤดูกาลได้ดี ปลาล่าเหยื่อจะมีเวลาทำการออกหากินล่าเหยื่อในช่วงหัวค่ำหรือเช้ามืด เมื่อแสงเริ่มมืดจนเหยื่อไม่ทันได้สังเกตเห็นผู้ล่าได้ดี หรือเมื่อเริ่มสว่างพอที่จะมองเห็นเหยื่อได้

ในมหาสมุทรและทะเลสาบใหญ่ ปลาผิวน้ำหลายชนิดแสดงให้เห็นถึงการอพยพย้ายถิ่นเป็นประจำทุกวัน (แบบประจำวัน) บางชนิดอพยพขึ้นลงในแนวดิ่งที่มีระดับความลึกแตกต่างกันถึง 500 เมตร โดยมีอิทธิพลจากแสงเป็นสิ่งจูงใจ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่จูงใจอีกชนิดหนึ่งก็คืออาหารพวกแพลงตอนสัตว์ที่มีการอพยพในแนวดิ่ง นอกจากการอพยพในแนวดิ่งแล้วยังมีการอพยพในแนวราบ จุดประสงค์คือเพื่อการหาอาหาร นอกจากนี้แสงสว่างยังมีผลต่อวงจรการสืบพันธุ์ของปลาด้วย

ความเข้มของแสงอาทิตย์มีอิทธิพลอย่างมากสำหรับพวกปลาที่มีการอพยพในแนวดิ่ง ปลาในมหาสมุทรส่วนใหญ่จะหากินอยู่ในระดับความลึกที่มีปริมาณความเข้มของแสงพอเหมาะต่อตัวเอง เมื่อความเข้มแสงเปลี่ยนไป พวกมันก็จะอพยพขึ้น - ลง ไปยังระดับความลึกที่มีความเข้มแสงที่พวกตนต้องการ ความเข้มแสงยังมีอิทธิพลต่อปลาล่าเหยื่อและปลาที่มักจะตกเป็นเหยื่อควบคู่กัน ขนาดของเหยื่อมักเพิ่มมากขึ้นเมื่อระดับความเข้มแสงลดลง ฝูงปลามักแตกฝูงเมื่อความมืดเริ่มคืบคลานเข้ามา แต่จะเริ่มรวมฝูงใหม่เมื่อถึงรุ่งอรุณของวันใหม่และแสงเริ่มสว่างขึ้น

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง