logo_volunteer.gif Visit our educational web pages View the list of school home pages in Thailand
Go to Support and Technical service page Visit our activity archive

[หลักการและเหตุผล] [วัตถุประสงค์] [เป้าหมาย] [คุณสมบัติของผลงานที่เข้าร่วมประกวด] [คุณสมบัติของกลุ่มผู้พัฒนาผลงาน]
[หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอผลงาน] [หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงาน] [รางวัล] [ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ]
[ภาคผนวก ก. การจัดทำข้อเสนอผลงาน] [แบบฟอร์มเสนอผลงาน] [ตัวอย่างเอกสารข้อเสนอผลงาน]
[ภาคผนวก ข. การส่งผลงาน ] [แบบฟอร์มส่งผลงาน] [ภาคผนวก ค. เงื่อนไขการพัฒนาผลงาน ]
[ประกาศผลรายชื่อข้อเสนอที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับทุน]

ประกาศ !! รายชื่อกลุ่มพัฒนาผลงาน 18 กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือก
ให้เข้าร่วมแสดงผลงานในงาน ICT 2003 ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2547


หลักการ และเหตุผล

เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เยาวชน ให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่สนใจร่วมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ของตน แล้วเรียบเรียง ออกแบบ พัฒนาเป็นผลงานในรูปแบบที่เผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใส่ไว้ในห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

ผู้เข้าร่วมโครงการ
  • กลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 2 - 6 คน
  • แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
  • แต่ละโรงเรียนส่งได้ไม่จำกัดจำนวนกลุ่ม
การพัฒนาผลงาน
  • สามารถพัฒนาด้วยเทคโนโลยีใดก็ได้ โดยผลงานจะต้องนำเสนอได้ผ่าน Web Browser ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียง
  • เป็นผลงานที่เกิดจากความรู้ของกลุ่มนักเรียน ที่ร่วมมือกันศึกษาหาความรู้ มิได้คัดลอกจากแหล่งอื่น หรือแปลมาจากภาษาอื่น
  • มิได้หวังให้พัฒนาเป็น CAI, สื่อการสอน หรือ e-learning แต่ต้องการให้กลุ่มนักเรียนได้มีการกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน แล้วนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาเป็ยผลงานที่จะเสริมการเรียนตามหลักสูตร
ขั้นตอน
  1. กลุ่มนักเรียนส่งใบสมัคร พร้อมข้อเสนอผลงาน
  2. คัดเลือกข้อเสนอผลงาน 100 กลุ่มมอบเงินทุนสนับสนุนกลุ่มละ 5,000 บาท
  3. กลุ่มนักเรียนพัฒนาผลงาน 3 เดือนแล้วส่งผลงานมายังเครื่อง SchoolNet
  4. คัดเลือกผลงานเหลือ 16 กลุ่ม (ประถมศึกษา 8 กลุ่ม มัธยมศึกษา 8 กลุ่ม)
  5. นักเรียน 16 กลุ่ม นำเสนอผลงานในงานประกวดรอบชิงรางวัล
กำหนดการ

ปิดรับข้อเสนอผลงาน 8 กันยายน 2546
ประกาศผลข้อเสนอผลงาน 26 กันยายน 2546
มอบทุนสนับสนุน ตุลาคม 2546
พัฒนาผลงาน (3 เดือน) ตุลาคม 2546 - มกราคม 2547
กำหนดส่งผลงาน 5 มกราคม 2547
ประกาศผลงาน 31 มกราคม 2547 เปลี่ยนแปลง
ประกวดรอบชิงรางวัล 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2547 เปลี่ยนแปลง

รางวัล
  ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
รางวัลที่ 1 30,000 30,000
รางวัลที่ 2 20,000 20,000
รางวัลที่ 3 10,000 10,000
รางวัลชมเชย (5 รางวัล) 5,000 5,000

ขอรับข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับการประกวดก่อนใคร โดยกรอก e-mail ของท่าน
เจตนาและตัวอย่างแนวคิดการทำผลงานเข้าร่วมประกวด

"...เน้นให้เด็กค้นคว้าความรู้ จากหลายแห่ง แล้วย่อความให้เป็น จับประเด็นให้เป็น สร้างความเป็น คนใจกว้างมีน้ำใจ โดยการเผยแพร่ ให้คนอื่นใช้ด้วย ... อยากเห็นคุณภาพ ของความคิดมากกว่าการใช้สีสันหรือความเคลื่อนไหวที่เกินความจำเป็น..."
อ่านต่อ ...
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
"...อยากให้นักเรียนมีการแสวงหา ค้นคว้า และ ดำเนินการ เพื่อให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ของ การทำงานในกลุ่ม จนได้เป็นองค์ความรู้ แล้วนำมา นำเสนอเป็นผลงาน..."
อ่านต่อ ...
รศ. ยืน ภู่วรวรรณ
รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"...เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้สร้างสรรค์ความรู้ ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นความรู้ใหม่ แล้วออกแบบพัฒนาเป็นสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์รวบรวมไว้ ในห้องสมุดดิจิทัลเพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับบุคคลอื่นต่อไป..."
อ่านต่อ ...
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
"...เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้ สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้าง ทำ ค้นคว้า สำรวจ เรียบเรียง จัดออกแบบ แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และชื่นชมกับผลงาน ..."
อ่านต่อ ...
ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดสกลนคร

ตัวอย่างหัวข้อผลงาน
  • เรื่องปลวก กระบวนการศึกษาอาจต้องค้นคว้า ถ่ายรูป เป็นกระบวนการเรียนรู้จริงๆ เมื่อได้ข้อมูล วงจรชีวิต ธรรมชาติ ของปลวก การสร้างฟาร์ม ความสัมพันธ์กับเห็ด หรืออื่นๆ จนได้องค์ความรู้ อาจไม่ใช่การทดลองด้วยตนเองทั้งหมด อาจเกิดจากการดูการทดลองจากการเผยแพร่ของคนอื่นมา แต่ถ้าเอามาใช้จะต้องอ้างอิงว่าข้อมูลนี้ มาจากที่ไหน เขียนเป็นเรื่องราว จนได้องค์ความรู้ แล้วมานำเสนอ
  • จังหวัดสระบุรี มีแม่น้ำป่าสัก ข้างๆ มีหินก้อนใหญ่อยู่ ทำไมมีได้ ในเมื่อเป็นที่ราบ มาจากไหน มีนกเข้าไปทำรัง คือนกชนิดใด? มาจากไหน?
  • เรื่องเห็ด มีกระถางต้นไม้ที่เห็ดชอบขึ้นเป็นประจำ และขึ้นอยู่เรื่อยๆ สังเกตดูว่า ลักษณะต้นเล็กสุดมีขนาดไหนที่มองเห็นได้ เติบโตได้ เร็วแค่ไหน? มีอายุกี่วัน ลักษณะที่แตกต่างจากพืชชั้นต่ำอื่น เช่น รา อย่างไร มีขนาด เท่าใด? โตได้เร็วแค่ไหน?
  • เรื่องไฟลัม ทำภาพไฟลัม นักเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม จังหวัด ภาคเหนือ เก็บชนิดพืชมาศึกษาว่าอยู่ไฟลัมไหน? ให้ตัวอย่างในจังหวัด อำเภอ สอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติ รู้จักสังเกต บ้านใครมีอะไรนำมาเสนอ เช่น ตีนตุ๊กแก
  • ใส่แผนที่ในเว็บ แล้วให้โรงเรียนจากภาคต่างๆ เก็บข้อมูลต้นไม้ สัตว์ในท้องถิ่นตนเอง แล้วมาศึกษาตามทฤษฎีต่อไป
  • การวัดแกนโลก ทำไมโลกเอียง สร้างความร่วมมือระหว่างนักเรียนหรือโรงเรียน มีโรงเรียนที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอุบลราชธานี ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาต่างกัน ให้นักเรียนจับเวลา
  • เรื่องไข้หวัดซาร์ เด็กมาค้นได้ไหมว่าเกิดเมื่อไร? อย่างไร? ค้นหารูป ค้นคว้าเรื่องราวด้วยตนเอง อาจเป็นเรื่องไข้หวัดซาร์กับเศรษฐกิจ กับการท่องเที่ยว อะไรที่ยังไม่มีใครสร้าง เป็นการสร้างสารสนเทศที่เจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นของตัวเองแทนที่จะค้นของใครมา
  • เรื่องไมโครโฟนในห้องประชุม เป็นอย่างไร ต่อเชื่อมอย่างไร ทำงานอย่างไร แล้วถ่ายรูปแล้วถ่ายทอดมาให้เพื่อนได้เรียนรู้ด้วย
  • เรื่องรอกในเครน ให้เด็กถ่ายรูปเอง ค้นหาข้อมูลว่ามีรอกกี่ชนิด เครนได้รอกมาแล้วทำอย่างไร ยกน้ำหนักได้เท่าไร
  • เรื่องกระดาน electronic คืออะไร? สืบค้นบนอินเทอร์เน็ต แล้วเรียบเรียงเป็นความรู้ว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง แต่ไม่ต้องการเอาเนื้อหาที่ตายอยู่แล้วของใครๆ มาลอก

เจตนาและตัวอย่างแนวคิดการทำผลงานเข้าร่วมประกวด (ต่อ)

"...คุณค่าของสิ่งที่นำเสนอควรขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพของความคิด มากกว่าการใช้สีสัน หรือความเคลื่อนไหวที่บางครั้งอาจจะมากเกินความจำเป็น..."
"...การจัดเวลาของผู้สร้างน่าจะให้เวลากับความคิดสร้างสรรค์เรื่องการทำให้ผู้เรียนรู้จากเว็บเข้าใจเรื่องที่เสนอได้ดีที่สุด อย่าทำลูกเล่นมากจนไม่ได้ใจความ..."

อ.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ



"...เจตนาในโครงการ อยากให้นักเรียนมีการแสวงหา ค้นคว้า ดำเนินการต่างๆ มากกว่าเป็นเพียง แค่การไปคัดลอก แล้วสร้างผลงานมาส่ง... อยากให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานในกลุ่ม ซึ่งในกรณีนักเรียน คิดว่าน่าจะได้ลักษณะการเรียนรู้ จนได้เป็นองค์ความรู้ แล้วนำมานำเสนอ มากกว่าไปค้น คัดลอกจากตำรา มาประกอบเป็นเว็บเพจส่งมา ต้องการให้มีส่วนของกระบวนการพัฒนาความรู้ ความประทับใจในการนำเสนอผลงาน ประโยชน์ต่อคนอื่น การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน..."
"...กว่าจะได้องค์ความรู้ต้องทำอะไรบ้าง เช่น บริบทโรงเรียน ต่างโรงเรียน มีความสนใจกันเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ...เกิดจากการสังเกต หรือทำโครงงาน เก็บรวบรวม มีวิธีการหลักการแล้วนำมานำเสนอ ถ้าสัมพันธ์กับอะไรก็นำมาเสนอเพิ่มได้ เมื่อสนใจเรื่องหนึ่งๆ แล้วค้นหา แสวงหา จนได้เรื่องๆ หนึ่ง เป้าหมาย ต้องให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ในเด็ก เน้นความร่วมมือ ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงเรียนเดียวกัน เป็น การร่วมมือของเยาวชน (collaborative) ในเชิงที่จะให้ความรู้มีการกระจาย โดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต ช่วยในการส่งข้อมูล..."

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



"...เนคเทคได้จัดทำโครงการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาเนื้อหา ความรู้ที่เป็นประโยชน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้จัดกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามประจำสัปดาห์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษามากขึ้น สำหรับปีนี้ เนคเทค ได้จัดทำโครงการเยาวชนสร้างสรรค์ความรู้สำหรับห้องสมุดดิจิทัลขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เยาวชน ได้สร้างสรรค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นความรู้ใหม่ แล้วออกแบบ พัฒนาเป็น สารสนเทศที่เป็นประโยชน์รวบรวมไว้ในห้องสมุดดิจิทัลเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลอื่นต่อไป..."

อ.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ



ทำอย่างไรให้เกิด content ที่เป็นของไทย เยาวชนคิด เด็กไทยคิด แทนการลอก แล้วสะสมจนเกิดเป็นคลังความรู้ไทยจากเด็กไทย
"...ให้เด็กมองดูว่าน่าจะทำการศึกษาเรื่องอะไร แล้วนำมาสร้างสรรค์เป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคัดลอกสารสนเทศของใคร เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้โดยการสร้าง ทำ มีโอกาสไปค้นคว้า สำรวจ ออกแบบ แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และชื่นชมกับผลงาน..."
"...อยากได้ข้อมูลสารสนเทศที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเรื่องอะไรก็ได้ ไม่ปรากฏโดยทั่วไป แต่มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 มีการทำงานร่วมกัน มีความร่วมมือกันบางอย่างเพื่อทำให้เกิด learning มีการเสาะแสวงหา knowledge ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้..."

ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร



สถานที่ติดต่อ

โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
โทรศัพท์ : 02-247-8288
โทรสาร : 02-247-8055
e-mail :
info@school.net.th



[หน้าหลัก] [หน้าการศึกษา] [บริการให้คำปรึกษา] [รายชื่อโรงเรียน]
[กิจกรรมในโครงการ] [ข้อมูลโครงการ] [ท่านถามเราตอบ]

[NTL] [NITC] [NECTEC] [BIOTEC] [MTEC] [NSTDA] [ONEC]


Contact: SchoolNet Webmaster
SchoolNet Thailand is served and managed by
Network Techonology Laboratory (NTL)
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright © 1996-1999 by Network Technology Laboratory of NECTEC. All Rights Reserved.