หัวข้อ : สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

ห้องสัมมนา: Meeting Room 3
เวลา: 14.45 - 16.15 น.

ศิลปะและภูมิปัญญาของชาติไทย ถือได้ว่าเป็นมรดกของชาติ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อสืบต่อให้กับชนรุ่นหลังได้เกิดการเรียนรู้และตะหนักถึงคุณค่าของท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดจิตสำนึกในถิ่นฐานบ้านเกิดและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลหลักฐานของโบราณวัตถุ ชะลอการเสื่อมสภาพ ชำรุดเสียหายของวัตถุทางประวัติศาสตร์ อันเกิดจากการจับต้องโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่และสืบค้นองค์ความรู้ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยไม่ทำให้วัตถุทางประวัติศาสตร์เกิดความเสียหาย การพัฒนาบุคลากรถือได้ว่าเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนที่สำคัญ โครงการจึงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความตระหนักในการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังก่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนเป็นการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศและสังคมไทย

กำหนดการ

14.45 – 16.15 น. สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ ด้านการศึกษา
ในรูปแบบ Communities based learning ด้านชุมชน การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ และด้านเทคโนโลยี ดังนี้

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ในมุมมองของภาคธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์และงานบริการ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   ความท้าทายที่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Information Technology : IT)  รวมไปถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี
    โดย คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม
    Principal Visionary Architect
    KASIKORN Business – Technology Group (KBTG)

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ จากชุมชนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ใช้ประโยชน์จริงจากเทคโนโลยีระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool)
    โดย คุณพรรษา บัวมะลิ
    พิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ไตลื้อ บ้านใบบุญ (เชียงใหม่)
  • สถาบันการศึกษา ตัวกลางในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวัฒนธรรม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน พัฒนานิสิต นักศึกษา ให้รับใช้และเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง
    โดย อาจารย์พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
    โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

คุณกริช นาสิงห์ขันธุ์
หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ