10 เทคโนโลยีเด่น สร้างภูมิธุรกิจการค้ายุคใหม่

เผย 10 เทคโนโลยีเด่น-จำเป็น ต่อการทำธุรกิจ ในยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมทั้งในภาวะการแข่งขันรุนแรง ส่งผล การตัดสินใจลงทุนในสิ่งที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ที่สำคัญการทำให้ต้นทุนดำเนินการตํ่าสุด เป็นสิ่งจำเป็นสูงสุด ในการทำธุรกิจยุคนี้

 

ดังนั้น นับจากปี 2545 เป็นต้นไป ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ จำเป็น ต้องพิจารณาการวางแผนการลงทุนทางเทคโนโลยี และการ พัฒนา เทคโนโลยี สารสนเทศขององค์กรอย่าง ประหยัดและคุ้มค่า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ ขณะที่ เวบไซต์ www.cfo.com ได้สำรวจความคิดเห็น ของผู้บริหารการเงินที่มีอำนาจในการอนุมัติงบลงทุน ด้านเทคโนโลยี ของหน่วยงาน และ องค์กรต่างๆ ปรากฏว่า แนวความคิดของผู้บริหารการเงิน (chief finance officer : CFO) จะวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ทางเศรษฐศาสตร์กับผลตอบแทนการลงทุน (Return Of Investment) และค่าความเสี่ยง (Security) ที่จะลงทุน ทางเทคโนโลยี ตามสมมติฐานที่ทำให้ต้นทุนในดำเนินงานต่ำลง พร้อมกับ ปรับปรุงประสิทธิภาพของงาน ให้เกิด ความคล่องตัวขึ้น ซึ่งเวบไซต์นี้ได้จัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยี 10 อันดับแรก ดังนี้

 

การจัดบริการเวบเซอร์วิส

สำหรับการจัดบริการเวบเซอร์วิส (Web Service) ถือเป็นเทคโนโลยีอันดับแรก ที่ต้องดำเนินการ ให้เป็น มาตรฐานใหม่ (Next Generation of Web) เพื่อใช้พัฒนาการจัดเก็บเวบไซต์ต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อความสะดวก ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบริษัท โดยใช้โปรโตคอล XML, SOAP, WDSL, UDDI ในการ ทำงานระหว่างเวบไซต์อื่น โดยแลกเปลี่ยนระบบงานประยุกต์ (Application to Application Interoperability) กับเวบไต์ ซึ่งไม่ใช่แอพพลิเคชั่นเดียวกัน เวบเซอร์วิสนี้สามารถเข้าไปสืบค้น และเรียกใช้ บริการจากโปรแกรมอื่นได้ ขณะเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์จะเป็นแพลตฟอร์ม ที่แตกต่างกัน ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัทได้ แต่โดยสภาพความเป็นจริง บริษัทซอฟต์แวร์ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไมโครซอฟท์ ที่ผลักดันไมโครซอฟท์ดอทเน็ต (Microsoft.NET) เป็นผลิตภัณท์หลักทำตลาด ส่วนบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และบริษัท ไอบีเอ็ม ใช้จาวา (JAVA Application) บุกตลาด และใช้วิธีการ หาพันธมิตร เป็นกลยุทธ์ผลักดันขยาย ฐานลูกค้า ซึ่งการทำงานข้ามแพลตฟอร์มระหว่าง ไมโครซอฟท์ ดอทเน็ต ไปสู่จาวาจึงไม่ง่ายนัก

 

คอมพิวเตอร์อัจฉริยะ

ขณะที่ คอมพิวเตอร์อัจฉริยะ หรือเอไอ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE) เป็นเทคโนโลยี ตัวที่ 2 ที่จะต้อง นำมาใช้ สร้างระบบคอมพิวเตอร์ แบบโครงข่ายประสาท (Neural Network) ให้มีความฉลาดเหมือนมนุษย์เป็น เรื่องที่พัฒนา กันมานานกว่า 15 ปีแล้ว โดยสิ่งที่นักธุรกิจต้องการได้คือ ระบบที่ชาญฉลาด ในการวิเคราะห์ และ สืบค้นข้อมูลว่า ใครเป็นลูกค้าชั้นดี ใครเป็นลูกค้ายอดแย่ เพื่อการ รักษาฐานลูกค้าเดิมและการขยายฐานลูกค้าใหม่

ทั้งนี้เหตุการณ์วันที่ 11.. 44 ทำให้องค์กรธุรกิจ สนใจระบบคอมพิวเตอร์เอไอมากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจ การบิน ที่นำมาใช้ในการตรวจสอบ ลูกค้า เนื่องจากเกรงว่า จะมีการก่อวินาศกรรม รวมไปถึงการนำระบบ คอมพิวเตอร์เอไอ มาใช้วิเคราะห์ และติดตามเงินผิดกฎหมายของนักก่อการร้าย หรือแก๊งมิจฉาชีพทั้งหลาย

 

กริดคอมพิวเตอร์

ส่วนกริดคอมพิวเตอร์ (GRID COMPUTING) เป็นเทคโนโลยีตัวที่ 3 ที่ต้องนำมาพัฒนา ระบบคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้อง การกับคำนวณ และประมวลผลข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การพยากรณ์อากาศ การติดตาม สภาพแวดล้อม การคำนวณหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และการแข่งขันหมากรุกกับคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันบริษัท ไอบีเอ็ม ได้พัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์แบบกริดรุ่นใหม่ ให้กับมูลนิธิวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Americas National Science Foundation :NSF) ที่มีความเร็วในการคำนวณสูงถึง 13.6 ล้านล้าน คำสั่ง ต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ ที่โด่งดังจากการเล่นหมากรุกที่ชื่อดีพ บูล (Deep Blue) ถึง 1,000 เท่า สำหรับปี 2545 นักวิเคราะห์ต่างเชื่อกันว่า ระบบคอมพิวเตอร์แบบกริด จะถูกนำไปใช้งาน ในบริษัท ที่อยู่ในวงการ อุตสาหกรรมยา พลังงาน และยานยนต์เพื่อช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่จะนำคอมพิวเตอร์ระบบ นี้ไปใช้ คงต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการลงทุน โดยบริษัท ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ จึงพยายามหาทางออก ที่จะช่วยลดการลงทุนโดยการลงทุนสร้างระบบคอมพิวเตอร์กลาง (Grid Utility) เหมือนกับการสร้างโรงผลิตไฟฟ้า (Plant Utility)

 

โครงข่ายไร้สาย

ขณะที่ โครงข่ายไร้สาย (WIRELESS NETWORKING) เป็นเทคโนโลยีอันดับ 4 ที่ผู้เชี่ยวชาญ หลายฝ่าย มีความเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีที่มาแรงในปีนี้ ได้แก่ โครงข่าย ไร้สาย ระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 และยุคที่ 3 กับเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (Wireless LAN) รวมทั้งอุปกรณ์ เชื่อมโยง ปลายทาง ระหว่าง เครื่องลูกข่าย แบบไร้สาย โดยมีมาตรฐานบูลทูธ (Bluetooth) ไอทริปเปิลอี 802.11บี (IEEE802.11b) ไวไฟ (Wi-Fi) และ จีพีอาร์เอส (GPRS) เพื่อใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง สำหรับ บูลทูธ มีระยะการใช้งานในรัศมี 10 เมตร สำหรับ ไอทริปเปิลอี 802.11บีมีระยะ การใช้งาน ในรัศมีถึง 100 เมตร ขณะที่ จีพีอาร์เอสสามารถเชื่อมแบบจุดต่อจุด (point to point) ในโครงข่าย โทรศัพท์ เคลื่อนที่ จีเอสเอ็ม โดยอุปกรณ์ บูลทูธ และจีพีอาร์เอสไม่มีปัญหาเรื่องมาตรฐาน แต่อุปกรณ์ ไอทริปเปิลอี 802.11บี ที่ใช้ย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ยังไม่ชัดเจนเรื่องมาตรฐาน เนื่องจากผู้ผลิตจากค่ายอเมริกากับค่ายยุโรป ยังหาข้อสรุปไม่ได้เรื่องย่านความถี่ที่ใช้งาน ดังนั้น การใช้งาน จึงต้องขอ ความคลื่นความถี่จากองค์กร กำกับคลื่นความถี่ในแต่ละประเทศหรือไม่อย่างไร ขณะที่ ความต้องการ ใช้ของผู้บริโภคมีสูง ทำให้ส่วนแบ่ง ของตลาดระบบเครือข่ายไร้สาย (ไวร์เลส แลน) สูงมาก หากเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารชนิดอื่น ปัจจุบันผู้ผลิตต่างแข่งขันกันสูง ทำให้มีราคาที่ถูกลงมาก และการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายสื่อสารข้อมูลไร้สาย วอยซ์ โอเวอร์ ไวร์เลส แลน (Voice over Wireless LAN) กับการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือพีดีเอ (PDA) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยกระตุ้นตลาดได้อย่างมาก

 

การจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ต

ขณะที่ การจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ต (INTERNET PAYMENT SERVICES) เป็นเทคโนโลยีตัวที่ 5 ที่มีความจำเป็นต่อการซื้อสินค้า และวิธีการจ่ายเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งยังมีความปลอดภัยน้อยมาก แต่เป็นช่องทาง ที่สะดวก สำหรับผู้บริโภค ที่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ซึ่งธนาคารให้ความสนใจที่จะสร้างระบบความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของบริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะให้ความสนใจ การพัฒนา เวบไซต์ของบริษัท เพื่อรองรับบริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างยาฮู มีความร่วมมือ กับธนาคาร หลายแห่งออกบริการเปย์ไดเร็คต์ ( PayDirect) โดยสร้างโปรแกรมเชื่อมโยงกับบริการต่างๆ ให้ลูกค้า สามารถโอนย้ายเงินจากบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต ต่างสถาบันการเงินได้ อย่างสะดวกและปลอดภัย ส่วนของบริษัท ไมโครซอฟท์ มีบริการไมโครซอฟท์ พาสพอร์ต (Microsofts Passport) ที่เป็นโปรแกรม ช่วย เชื่อมโยง ฐานของลูกค้า ระหว่างเวบไซต์ต่างๆ ในการลงทะเบียนชำระค่าบริการผ่านเวบไซต์ โดยสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากโปรแกรมจะทำหน้าที่ กรอกข้อมูลประวัติต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้อย่างอัตโนมัติ

 

บริการอี-เมล์

พร้อมกันนี้ บริการอี-เมล์ (E-MAIL) ก็เป็นอีกเทคโนโลยี ที่นำมาใช้งานกันมาก และกลายเป็น เครื่องมือ ทางธุรกิจ ในทุกประเทศทั่วโลก ดังนั้น หากบริษัทใดมีการจัดการบริการอี-เมล์ที่ไร้ประสิทธิภาพแล้ว ธุรกิจของ บริษัทยาก ที่จะชนะคู่แข็งได้ เนื่องจากเป็น ช่องทางช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้า, ผู้บริหารกับพนักงาน ระหว่าง พนักงานด้วยกันเอง อย่างไรก็ตาม การใช้งานอี-เมล์ที่แพร่หลายก็ได้สร้างปัญหาให้กับองค์กร หากขาดวิธี การบริหาร ข้อมูลและความปลอดภัย โดยเฉพาะไวรัสที่แพร่กระจายจนทำให้ระบบสารสนเทศขององค์กรเสียหาย ดังนั้น ผู้บริหารของบริษัท จึงต้องการลงทุนระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ ที่สามารถจัดการอี-เมล์ แบบมี ประสิทธิภาพ และป้องกันการจารกรรมข้อมูลด้วย โดยคาดการณ์ว่า ซอฟต์แวร์อี-เมล์จะมียอดขายเพิ่มขึ้น พร้อมกับบริษัทที่รับจ้างจัดการ และดูแลระบบอี-เมล์ (Email Outsourcing) ก็จะเกิดขึ้นตามมาเป็นอย่างมาก

 

สร้างฐานข้อมูลความร่วมมือการค้า

ส่วนการสร้างฐานข้อมูลความร่วมมือด้านการค้า (COLLABORATIVE COMMERCE) เป็นอีกจุดที่จำเป็น โดยมีบริษัทคอมพิวเตอร์หลาย บริษัทพยายามพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรของหน่วยงาน (Enterprise Resource Planning :ERP) ที่มีประสิทธิภาพ ในการจัดการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2533 ทั้งนี้การพัฒนาระบบจัดการให้สามารถครอบคลุม งานบริการลูกค้ารูปแบบใหม่ (Customer Relation Management : CRM) ทำให้มีการปรับปรุง บริษัทในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Company) ที่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยปี 2545 จะพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่การเป็นซี-คอมเมิร์ซ (C-Commerce) กล่าวคือ การจัดการภายในองค์กรและการ ให้บริการแก่ลูกค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถขยาย เครือข่ายโดยการสร้างพันธมิตรคู่ค้าระหว่างบริษัท ด้วยการใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เอ็มแอล และเทคโนโลยียูนิไฟด์ เมสเสจจิ้ง (Unify Messaging) ที่รับส่งสื่อผสมทั้งเสียง ข้อความ วิดีทัศน์ในทุกรูปแบบของมีเดียให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างไร้ข้อจำกัด

 

ระบบรักษาความปลอดภัย

พร้อมกันนี้ เทคโนโลยีระบบรักษา ความปลอดภัย (SECURITY) ก็เป็นอีกสิ่งที่จำเป็น โดยพิจารณา ได้จาก เหตุการ์ก่อการร้ายเมื่อ วันที่ 11..44 บริษัทส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัทเป็นอันดับแรก มาตรการรักษาความปลอดภัยนั้น ต้องมีความพร้อมที่จะตรวจสอบผู้เข้ามาภายในองค์กร การติดตั้ง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยี ของสมาร์ท การ์ด (Smart Card) การติดตั้ง ระบบตรวจสอบ ทางกายภาพของร่างกาย (Biometric) เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ ม่านสายตา หรือเสียงของผู้ที่จะเข้ามาภายในบริษัท รวมไปถึงการป้องกันฐานข้อมูลของบริษัทที่จะต้องป้องกันการจารกรรมข้อมูล ดังนั้น การพัฒนา ระบบรักษา ความปลอดภัยของ บริษัทคงจะไม่มีเทคโนโลยีเดียวที่จะเลือกใช้ แต่จะต้องเป็นการประสมประสานหลายๆ เทคโนโลยี หลายระบบ มาช่วยกันไม่ให้ถูกภัยร้ายคุกคามได้

เทคโนโลยีสื่อสารร่วม

ขณะที่ เทคโนโลยีสื่อสารร่วม (CONVERGENCE) หรือ การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม ให้สามารถทำงาน ร่วมกันระหว่างเสียง ข้อมูล วิดีทัศน์ หลายสื่อ (Media) ให้สามารถ ติดต่อสื่อสาร ถึงกัน ได้อย่าง ต่อเนื่อง นั้น คาดว่า จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ เมื่อ 11..44 เนื่องจากระบบโครงข่ายสื่อสารล่ม จนไม่สามารถ ใช้งานได้ นอกจากระบบอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการสื่อสารผ่านดาวเทียม ทั้งนี้ บริษัท ซอฟต์สวิตช์ (Softswitch) ผู้ให้บริการ โทรศัพท์ และ โทรคมนาคม จนให้ความสำคัญ กับการสื่อสาร ระหว่างโครงข่ายที่มี ความแตกต่างกัน โดยเริ่มติดตั้งโครงข่าย เพื่อให้ บริการ เชิงพาณิชย์ ระหว่างกัน เช่น การติดต่อ ระหว่าง โครงข่ายอินเทอร์เน็ต กับ โครงข่ายโทรศัพท์ หรือโทรศัพท์พื้นฐาน กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นระบบ เทคโนโลยีที่สามารถใช้บริการข้ามโครงข่าย ระหว่างกันได้ รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบจีพีอาร์เอส ให้มีความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

คอมพิวเตอร์อัตโนมัติ

ขณะที่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ (Autonomic Computing) เป็นเทคโนโลยี อีกตัว ที่มีความจำเป็นต่อการแข่ง แม้จะยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในห้องทดลองและคงไม่สามารถผลิตเพื่อการพาณิชย์ ได้ทันทีภายในปี 2545 โดยเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ คล้ายกับระบบประสาทในร่างกายมนุษย์ ซึ่งสามารถบริหาร จัดการงาน ที่มีความซับซ้อนได้อย่างสมดุลด้วยตัวเอง เช่น การสั่งงานของหัวใจต้องเต้นกี่ครั้งต่อนาที หรือตรวจสอบระดับน้ำตาลและออกซิเจนในเลือดได้อย่างอัตโนมัติ โดยมีความเป็นอิสระในการทำงานและไม่ต้องควบคุม การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิค Fuzzy Logic มาช่วยจัดการการทำงานระบบสารสนเทศขององค์กร การเรียนรู้ และสั่งงาน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว ที่แตกต่างกัน การแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ ละตัวให้ช่วยกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำอุปกรณ์ไร้สายที่เรียกว่าเซลลูล่า ชิพ (Cellular Chip) มาช่วยส่งข่าวสาร ระหว่างกันหากคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีภาระงานที่หนักเกินไป หรือเกิดความเสียหายไม่สามารถทำงานได้

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2545 

 

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.