"ไอซีที" ทิ้งทวนโปรเจ็กต์ไอที 1.2 พันล. สานฝัน "ฮับ" ลอจิสติก-ตปท.วิ่งฝุ่นตลบ

ไอซีที" เตรียมเดินเครื่องเปิดประมูลโปรเจ็กต์ไอทีบริหารจัดการเชื่อมต่อระบบลอจิสติกทั่วประเทศ 1,250 ล้านบาท รองรับการเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติก เผยบริษัทต่างชาติแห่ขอเอี่ยว ขณะที่ "ซิป้า" ประสานเนคเทค-ซอฟต์แวร์พาร์ค สานนโยบายส่งเสริมการใช้ "โอเพ่นซอร์ซ" ประเดิมกรุยทางหนุนใช้ "ลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์" ในหน่วยงานภาครัฐ พร้อมผลักดันเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย"

..สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9..ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 1,250 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการระบบไอทีในการบริหารจัดการระบบลอจิสติกทั่วประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการดังกล่าวเสนอโดยกระทรวงคมนาคมเพื่อพัฒนาระบบลอจิสติกให้ทันสมัย ลดระยะเวลาและขั้นตอนพิธีการต่างๆ รวมทั้งสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าเดินทางอยู่ ณ จุดใด โดยใช้เทคโนโลยี RFID โดยกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการประมูลจัดหาระบบไอทีทั้งหมด

"โครงการนี้จะช่วยให้การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า เช่น การท่าเรือฯ การท่าอากาศยานฯ ร... จะเชื่อมต่อระบบถึงกันหมด โดยมีกำหนดระยะเวลาการทำโครงการ 3 ปี ขณะนี้มีบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี ทั้งญี่ปุ่น อเมริกาเข้ามาพรีเซนต์เทคโนโลยีให้ดูแล้ว นอกจากนี้บริษัทจากสิงคโปร์ก็สนใจที่จะมานำเสนอเทคโนโลยี ในส่วนของอเมริกาได้มาสาธิตระบบต่างๆ ตั้งแต่เมื่อครั้งการประชุมเอเปกที่ผ่านมา" ..สุรพงษ์กล่าว

ด้านนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงไอซีที เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนดำเนินการโอเพ่นซอร์ซว่า ภายหลังจากการประชุมร่วมกันระหว่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เมื่อวันที่ 29.. 2547 ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ซิป้าเป็นแม่ข่ายในการส่งเสริมการพัฒนาโอเพ่นซอร์ซของประเทศ และที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะว่าจ้างนายเจมส์ คล๊าก ผู้เชี่ยวชาญด้านโอเพ่นซอร์ซระดับโลกมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการและเป็นแกนหลักในการประสานการทำงานของทุกฝ่าย โดยนายเจมส์ คล๊าก ได้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย และได้ร่วมทำโครงการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์กับนักพัฒนาไทยในหลายๆ ด้าน จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์

นายมนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการซิป้า กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทิศทางการพัฒนาของโอเพ่นซอร์ซนั้น มีทางเลือกเยอะ ดังนั้น ในที่ประชุมจึงมีการสรุปในหลักการว่า ในเบื้องต้นจะมีการส่งเสริมการใช้ลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ในองค์กรต่างๆ เนื่อง จากมองว่าจะสามารถผลักดันให้องค์กรต่างๆ นำโอเพ่นซอร์ซไปใช้งานได้ง่ายกว่า และมีปัญหาจุกจิกในการใช้งานน้อยกว่าการผลักดันการใช้โอเพ่นซอร์ซบนเครื่องเดสก์ทอป เนื่องจากระบบภาษาไทยบนลีนุกซ์ยังไม่มีมาตรฐาน และเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งานก็ยังไม่มีคนซัพพอร์ต

กลุ่มแรกที่จะผลักดันให้มีการใช้ลีนุกซ์เซิร์ฟ เวอร์ก็คือหน่วยงานราชการต่างๆ แต่ไม่ใช่การบังคับ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสนใจของหน่วยงานนั้นๆ โดยจะจัดหาหน่วยงานมาทำหน้าที่สนับสนุนการใช้งานของหน่วยงานราชการต่างๆ เวลาที่มีปัญหาการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อรองรับการทำงานต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้ก็อาจจะต้องดึงบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดเข้ามาช่วย "ถึงที่สุดการส่งเสริมการใช้โอเพ่นซอร์ซบนพีซีก็ต้องทำด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทางเนคเทคน่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนได้มาก เพราะที่ผ่านมาเนคเทคก็ได้ทำการพัฒนาลีนุกซ์ออฟฟิศ เพื่อการใช้งานบนพีซีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถขยายผลจากโครงการของเนคเทคได้ แต่เนื่องจากการพัฒนาภาษาไทยบนโอเพ่นซอร์ซมีหลายตัว จึงมีการหารือที่จะร่วมมือกันสร้างมาตรฐานภาษาไทยที่ใช้บน Linux client ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยซิป้า, เนคเทค และซอฟต์แวร์พาร์คได้ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณ 1.2 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสร้างมาตรฐานภาษาไทย" นายมนูกล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมหารือเพื่อกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาโอเพ่นซอร์ซร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งต้องมาพิจารณาว่าจะมีใครบ้างที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้ นอกเหนือจากซิป้า, เนคเทค และซอฟท์แวร์พาร์ค เช่นจะต้องดึงมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ในการพัฒนาโอเพ่นซอร์ซ

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.