กรมทรัพย์สินฯ เร่งปรับปรุง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

บีเอสเอ ชี้มูลค่าละเมิดซอฟต์แวร์ไทยพุ่ง 100%
กรมทรัพย์สินฯ เร่งปรับปรุง พ... ลิขสิทธิ์ พ.. 2537 รับความล้ำหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล หวังอุดช่องว่างการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ควบคู่เพิ่มความแข็งแกร่งของบทลงโทษ และการบังคับใช้

 

นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมอยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอร่าง พ... ลิขสิทธิ์ พ.. 2537 (ฉบับแก้ไข) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณา ก่อนนำเสนอสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยร่างฉบับแก้ไขดังกล่าวจะเพิ่มนิยาม และความครอบคลุมของสาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความก้าวหน้าของสื่อ และช่องทางการละเมิดใหม่ๆ ผ่านดิจิทัล สำหรับการแก้ไขปรับปรุงครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันกับอีก 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศ

 

ส่วนประเด็นหลักๆ ที่มีการแก้ไขในร่างฉบับใหม่ ประกอบด้วย 1. นิยามเกี่ยวกับการ "ทำซ้ำ" ซึ่งเมื่อครั้งที่ร่างกฎหมายเมื่อราวสิบปีที่ผ่านมา ไม่เคยคาดหมายว่าสื่อดิจิทัล เช่น ซีดี, อินเทอร์เน็ต จะแพร่หลายอย่างในปัจจุบัน จึงกำหนดไว้ในลักษณะเดียวกับลิขสิทธิ์ทางปัญญาในด้านอื่นๆ ขณะที่ ในฉบับแก้ไขนี้ จะเพิ่มความชัดเจนว่า "การทำซ้ำ" รวมไปถึงการใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอ เพื่อการดาวน์โหลด หรืออัพโหลดด้วย และ 2. สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งเดิมหมายรวมถึงการทำซ้ำเพื่อจำหน่าย และการเผยแพร่ไว้ในข้อเดียวกัน แต่ในการแก้ไขครั้งนี้ จะแยกทั้ง 2 ส่วนไว้คนละข้อ เพื่อสนับสนุนให้เจ้าของสิทธิสามารถกำหนดค่าลิขสิทธิ์ในแต่ละส่วนได้ชัดเจน โดยนอกจากการปรับปรุงนิยามให้ชัดเจนขึ้นแล้ว ยังระบุครอบคลุมถึงการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตด้วย

 

ระบุโทษแฮคเกอร์

นอกจากนี้ ยังจะกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับแฮคเกอร์ ในลักษณะของโทษอาญา ทั้งกรณีที่บุกรุกเข้าไปในระบบ เพื่อทำลาย เปลี่ยนแปลงข้อมูลในเวบไซต์ของผู้อื่น รวมถึงการทำลายอุปกรณ์ในระบบ หรือซอร์สโค้ด

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ความผิดในลักษณะนี้จะใช้แนวทางพิจารณาจากกฎหมายทำให้เสียทรัพย์ ขณะที่การสร้างความชัดเจนของการกำหนดโทษ น่าจะเป็นมาตรการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น

 

ทางด้านสาระสำคัญอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน พ... ฉบับนี้ ยังรวมถึงมาตรการทางเทคโนโลยี ได้แก่ ควบคุมการผลิต, นำเข้าอุปกรณ์ถอดรหัสเพื่อเข้าถึงข้อมูลลิขสิทธิ์ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้เข้ารหัสล็อก เพื่อป้องกันการละเมิด รวมทั้งกำลังพิจารณาประเด็นที่กำหนดไว้ใน พ... ฉบับเดิมว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นความผิดอัน "ยอมความได้" ไม่ว่าจะดำเนินคดีไปถึงขั้นไหนแล้ว ตราบเท่าที่ยังไม่มีการฎีกา ซึ่งการกำหนดดังกล่าวทำให้เกิดผลเสียต่อการที่ฝ่ายเจ้าของสิทธิ และผู้ละเมิดสิทธิมีการเตะถ่วง จนกว่าจะถึงขั้นได้รับค่าตอบแทนความเสียหายในระดับที่พอใจ รวมถึงบางครั้งมีผู้ใช้ช่องว่างนี้เป็นกลไกหาประโยชน์ ไล่จับผู้ละเมิด เพื่อบีบให้เป็นตัวแทนจำหน่าย และผลเสียอีกด้าน คือ ทำให้เสียต้นทุนของรัฐ ตั้งแต่ขั้นการชี้เบาะแส ที่รัฐต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตาม จนถึงขั้นศาล จึงเป็นต้นทุนที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม นายวัฒนา เมืองสุข รมช.พาณิชย์ ได้ให้แนวทางแก่กรมว่า ให้ศึกษาตัวอย่างจากหลายๆ ประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการยกเลิกถ้อยคำนี้ ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้น หลายประเทศไม่ระบุเช่นนี้ มักเป็นโทษอาญามากกว่า

 

บีเอสเอ ชี้มูลค่าละเมิดซอฟต์แวร์ไทยพุ่ง

ขณะที่ นายโรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวว่า จากผลสำรวจอัตราละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2545 ประเทศไทยยังคงมีสัดส่วนการละเมิด 77% เท่ากับปี 2544 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมูลค่าการละเมิดเพิ่มจาก 41.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 81.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราการละเมิดซอฟต์แวร์โดยรวมทั่วโลก พบว่าเอเชีย-แปซิฟิกมีการละเมิด และมูลค่าความเสียหายสูงสุดนับจากปี 2539 คิดเป็นสัดส่วน 55% ด้วยมูลค่า 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ "สาเหตุที่ทำให้มูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นมาจากตลาดไอทีเติบโตขึ้น มียอดซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งานในธุรกิจมากขึ้น แต่เรากลับพบว่ายอดจำหน่ายซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ ที่สมาชิกของเราทำได้ต่อปีไม่ได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน" นายชาน กล่าว พร้อมกันนี้ เขาก็ย้ำว่าเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าความเสียหายดังกล่าว จะอิงจากตลาดของซอฟต์แวร์ในงานธุรกิจ โดยไม่รวมถึงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ, การเปลี่ยนเครื่อง, ตลาดผู้ใช้ตามบ้าน รวมถึงซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบบโอเอส สำหรับมูลค่าตลาดไอทีของไทยในปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการจ้างงานไอทีระดับสูง 29,500 อัตรา และสร้างภาษีให้กับรัฐถึง 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์หนุนวงจรรายได้

นายชาน กล่าวด้วยว่า ในทุกๆ รายได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐจากยอดขายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ สามารถสร้างประโยชน์ในแง่รายได้ให้กับธุรกิจภาคบริการ จำนวน 2 ดอลลาร์สหรัฐ และรายได้สำหรับผู้ที่เป็นช่องทางจัดจำหน่ายอีก 1-3 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งสร้างประโยชน์ต่อเนื่องในแง่ของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ และการจ้างงาน เนื่องจากในการทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์นั้น ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายเองโดยตรง แต่จะใช้ช่องทางของตัวแทนในการกระจายสินค้า

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2546

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.