โอกาสทองของธุรกิจไอที (1)

โอกาสทองของผู้ปกครองการในธุรกิจไอทีส่วนใหญ่ของประเทศไทย จะเริ่มขึ้นในปี พ.. 2545 เป็นต้นไป และต่อไปอีกประมาณสามปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ควรมาเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์กันใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปีพ.. 2545 อาจจะเป็นปีทุกข์ของผู้ประกอบการบางรายจะได้กล่าวถึงสาเหตุ และแนวทางบรรเทาทุกข์ในภายหลัง โอกาสทองของธุรกิจไอที จะมาจากสองส่วนที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันคือ การขยายตัวของตลาดความต้องการของภาคสถาบันที่รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน และภาครัฐหรือภาคสาธารณะ และจากผู้บริโภค

 

การขยายตัวของตลาดความต้องการของภาคสถาบัน (Institutions) มาจาก

1. การปรับโครงสร้างขององค์กร

องค์กรที่รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อกลางปี พ.. 2540 ส่วนใหญ่เกือบทุกองค์กร จะมีการปรับโครงสร้างภายในองค์กร ในช่วงปี พ.. 2540 ถึง 2541 เป็นการปรับเพื่อความอยู่รอด (survival) ยุทธศาสตร์ธุรกิจในระหว่างปี พ..2542 ถึง 2543 คือ การรักษาสถานภาพความมั่นคง (stability) ขององค์กรและตั้งปี พ..2544 ผู้บริหารเริ่มมองหาโอกาสในการสร้างความเจริญเติบโต (Growth) ให้แก่องค์กรอีกครั้งหนึ่ง และในการสร้างความเจริญเติบโต ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงการดำเนินการอย่างมีทั้งประสิทธิภาพ (Do the rigth thing) และประสิทธิผล (Do the thing right)

ยุทธวิธีหลักในการปรับโครงสร้างเพื่อความอยู่รอดขององค์กร คือ การลดจำนวนพนักงานลง พร้อมไปกับการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และขณะเดียวกัน จะไม่มีการลงทุนเพิ่ม และในช่วงของการรักษาสถานภาพความมั่นคง จะไม่มีการจ้างงานเพิ่มทั้งภาคเอกชน และในภาครัฐและการลงทุนจะเป็นการลงทุนเพื่อทดแทน เริ่มตั้งแต่ประมาณกลางปี พ.. 2544 ที่ผู้ปกครองผู้บริหารทั้งสองภาคเริ่มมองหาโอกาส ในการสร้างความเจริญเติบโต คงมีทางเลือกหลักๆ อยู่สองทางในการเตรียมการรับ หรือเพื่อสร้างความเจริญเติบโต โดยการจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือจากการเสริมสมรรถนะความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้น อาจจะด้วยการเพิ่มการอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะ คือ อาจจะดำเนินการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินการ หรือจากการผสมผสานกัน อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุน ตลอดจนความพร้อมในด้านต่างๆ

2. การแข่งขัน

ทั้งภาคสาธารณะและภาคเอกชน จะต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงทุกระดับ ตั้งแต่ระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างองค์กรภายในประเทศด้วยกันเอง ที่แน่นอนที่สุดคือ ทุกองค์กรจะนำไอที มาใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขัน

3. การสร้างผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก

นโยบายสร้าง หรือเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถ ของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เท่ากับเป็นการสร้างความต้องการของผลิตภัณฑ์ไอที ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะนำมาใช้ หรือนำมาใช้เสริมสร้างสมรรถนะของผู้ประกอบการรายเดิมๆ เนื่องจาก ภาครัฐได้เน้นการอบรม การจัดการแบบทันสมัย ที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ไอที เข้ามาช่องในการบริการ ปรับปรุงงาน

4. จากการบังคับใช้ พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การรับสถานภาพทางกฎหมายของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การให้ความมั่นใจในการเข้ามาทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ล้วนแล้วเป็นการสร้างความต้องการของผลิตภัณฑ์ไอที ที่นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะแล้วยังต้องเตรียมความพร้อม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมายต่อไป

5. การขยายตัวของตลาดความต้องการของผู้บริโภค

การขยายตัวของตลาดความต้องการของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ไอที จะมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการ จะต้องขยายเครือข่ายไอที เพื่อรองรับความต้องการบริการในรูปแบบต่างๆ ที่จะได้กล่าวในตอนต่อไป

อย่างไรก็ตาม พ.. 2545 อาจเป็นปีทุกข์ของผู้ประกอบการไอทีบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการที่ธุรกิจ หรือผลิตภัณฑ์ไอที ไม่ได้รับการรับรองจากพระราชกฤษฎีกา และประกาศต่างๆ ที่จะออกตาม พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 28 มีนาคม 2545

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.