รายงาน : เวลา 1 ปี กับการเตรียมพร้อม สู่การจัดซื้อแบบอี-โพรเคียวเม้นท์

กระทรวงไอซีที ให้เวลา 1 ปี เตรียมความพร้อมบุคลากรส่วนงานจัดซื้อพัสดุ และบัญชีหน่วยงานรัฐ เข้าสู่วิธีการจัดซื้อผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (อี-โพรเคียวเม้นท์) ด้านเอกชน ลุ้นสุดตัวโชว์ผลสำเร็จจากประสบการณ์จริง ลดค่าใช้จ่ายจัดซื้อได้ 10-13%

 

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า นับจากนี้ไป 1 ปี จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจ ให้กับบุคลากรในส่วนการจัดซื้อพัสดุและบัญชี ของหน่วยงานรัฐ เกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (อี-โพรเคียวเม้นท์) ทั้งนี้ การผลักดันนโยบายจัดซื้อจัดจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ในหน่วยงานรัฐ จะเป็นตัวอย่างที่ผลักดันให้สังคมตระหนักถึงประโยชน์ ที่ได้จากการใช้งานด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ ที่ทำให้เกิด อี-โซไซตี้ ได้ในระยะต่อไป ประโยชน์ที่จะเห็นจากการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น มี 3" " หลัก ประกอบด้วย ประสิทธิภาพ ที่ลดกระบวนการจัดซื้อให้มีความรวดเร็วคล่องตัว โปร่งใส เปิดกว้างให้สาธารณชนรับทราบและมีโอกาสเข้าร่วมประมูล ตรวจสอบการประมูลได้ พร้อมเปิดโอกาสให้เอกชนรายเล็กที่ไม่เคยมีโอกาสเข้าประมูลสามารถเข้าร่วมได้ มีการแข่งขันอย่างแท้จริง ปฏิบัติได้ โดยกฎระเบียบการดำเนินงานที่ออกมาต้องปฏิบัติได้จริง ซึ่งหลักการประมูลออนไลน์นั้น จะเหมาะสมกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป และต้องมีผู้เข้าประมูลหลายราย จึงจะเกิดการประหยัดได้

 

คาดบรรลุภารกิจ ต.. 47

นายกุลิส สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานมาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานการจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 เป็นการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่คาดว่าจะเริ่มจากกระทรวงพาณิชย์ ในราวกลางเดือนธันวาคม และหน่วยงานอื่นที่มีความพร้อม ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานต้องจัดซื้ออย่างน้อย 1 รายการ ภายในเดือนธันวาคมนี้ ตามมติ ครม. โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบความพร้อมของเทคนิคข องผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหน่วยงานรัฐเลือกได้โดยอิสระ

ระยะที่ 2 การจัดทำแผนแม่บทการจัดซื้อจัดจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ 2545-2548 โดยจะประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญวิชาการ เพื่อระดมสมองทำแผนดังกล่าวในกลางเดือนธันวาคมนี้

ระยะที่ 3 ยกร่างระเบียบจัดซื้อพัสดุภาครัฐ ที่แนวทางการแก้ไขระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อพัสดุต่อการจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังจะเสนอเข้า ครม. วันอังคารที่ 26.. นี้ โดยจะใช้ประกาศกระทรวงการคลังที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อออนไลน์ ว่าจะทำด้วยวิธิการใดบ้าง และเพิ่มเติมในข้อ 18 (6)ให้ภาครัฐสามารถติดต่อผู้ขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ต้องแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการว่าการพัสดุ ซึ่งจากเดิมระบุให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มาเป็นปลัดกระทรวงการคลังแทน

ระยะที่ 4 พัฒนาวิชาชีพเจ้าหน้าที่พัสดุภาครัฐ ที่มีความพร้อมต่อการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์การจัดซื้อจัดจ้าง โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีหน้า

"เป้าหมายของโครงการนี้ คาดว่าในเดือนตุลาคม 2547 จะสามารถดำเนินการอี-โพรเคียวเม้นท์ได้สมบูรณ์แบบ ที่หน่วยงานรัฐสามารถหาสินค้าที่ต้องการซื้อผ่านอี-แคตตาล็อกได้ รวมถึงการออกใบสั่งซื้อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และยืนยันการสั่งซื้อ ติดตามการสั่งซื้อ และส่งมอบสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ " นายกุลิศกล่าว

 

ลดค่าใช้จ่าย 10-13%

ด้าน ม..สุภสิทธิ์ ชุมพล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟรีวิลล์ โซลูชั่น ที่เป็นบริษัทแม่ของบริษัทพันธวณิช หนึ่งในผู้ให้บริการเอกชนที่รัฐคัดเลือกให้ผ่านเทคนิค เพื่อเป็นผู้ให้บริการประมูลออนไลน์สำหรับหน่วยงานรัฐ กล่าวว่า จากประสบการทำธุรกิจที่ผ่านมา ระบบประมูลออนไลน์ของบริษัท สามารถลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อลง 10-13% รวมถึงลดระยะเวลาในกระบวนการจัดซื้อลงเหลือ 2 วันจากเดิมต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ขณะที่เทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งใบสั่งซื้อ จะเหลือเพียง 20 บาทต่อใบ จากเดิม 50-250 บาท ปัจจุบัน บริษัทมีผู้ขาย หรือซัพพลายเออร์ ในระบบแล้วมากกว่า 700 บริษัท ครอบคลุมสินค้า 90 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 60,000 รายการ รวมทั้งคาดว่าจะมีผู้ขายเข้ามาในระบบปีนี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย ขณะที่มีผู้ซื้อเอกชนรายใหญ่ และรัฐวิสาหกิจแล้ว 25 ราย โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีมูลค่าประมูลออนไลน์แล้ว 1.3 พันล้านบาทและคาดว่าสิ้นปีจะถึง 1.5 พันล้านบาทด้วย "ข้อมูลจากการศึกษาของแอคเซนเชอร์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จากการสำรวจบริษัทเอกชน 400 ราย พบว่าจะมีการใช้จ่ายสินค้าทั่วไปเพื่อใช้ในสำนักงาน (Indirect Goods) ร้อยละ 15-18 ต่อปี ขณะที่ ในภาครัฐ ก็มีค่าใช้จ่ายด้านพัสดุหลายแสนล้านบาท" ..สุภสิทธิ์ กล่าว

 

ด้านนายไตร กาญจนดุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทพันธวณิช จำกัด กล่าวว่า ค่าบริการที่จะคิดกับหน่วยงานรัฐที่จะมาใช้บริการประมูลออนไลน์นั้น ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าริเริ่มการประมูลในแต่ละครั้ง ครั้งละ 5,000 บาท และผู้ขายที่ชนะการประมูลจะต้องเสียค่านายหน้าตามสัดส่วนขึ้นอยู่กับมูลค่าการขายสินค้าได้ และความซับซ้อนที่บริษัทให้บริการ เช่น การจัดทำคุณสมบัติสินค้า ทั้งนี้ราคาการริเริ่มประมูลอาจยืดหยุ่นได้เป็นกรณีไป

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.