นวัตกรรม: กุญแจหลักของการเติบโตในเอเชีย

 

รายงานการศึกษาจากธนาคารโลกในหัวข้อ "Innovation East Asia: The Future of Growth" ระบุว่า อนาคตของภูมิภาคเอเชียอยู่ที่การปฏิรูปสถาบัน การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรม รวมถึงการลงทุน ด้านการศึกษา และองค์ความรู้ จะสร้างลมหายใจให้กับชีวิตใหม่ในการพัฒนาของภูมิภาค และช่วยเร่งการปรับเปลี่ยน ในหลายประเทศให้ก้าวสู่ระดับประเทศที่พัฒนาแล้ว อนาคตที่เหลืออยู่ของเอเชียตะวันออกนั้น ขึ้นอยู่ที่การสร้าง สภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมนวัตกรรม ขณะการเติบโตในอดีตของภูมิภาคนี้ จะเน้นการใช้ทรัพยากรหลัก ที่มีอยู่ ซึ่งงานวิจัยนี้ระบุว่ารูปแบบการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ โดยใช้นโยบายที่ลดความยากจนนั้น ดูเหมือนจะได้ประสิทธิผลน้อย ที่สุดในอนาคตที่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุด

 

เนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จเดิม ที่เป็น "เอเชีย โมเดล" มีการเปลี่ยนแปลงทั้งการส่งออกส่วนใหญ่ที่ได้กลายเป็น การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ และมีคู่แข่งหน้าใหม่จากผู้ผลิตที่ต้นทุนต่ำ และเป็นผู้ผลิตที่มีสัญญาจ้างผลิตระดับโลก ทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า สำหรับประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมต้องก้าวผ่านระบบการเลียนแบบการพัฒนา ไปสู่ระยะการสร้างนวัตกรรม ยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์และขยายเข้าสู่บริการ ซึ่งต้องอาศัย "นวัตกรรม" เป็นแหล่งที่มาหลักของการเติบโต นายเจมส์ วูลเฟนสัน ประธานของธนาคารโลก กล่าวว่า หากเอเชียยกระดับ การใช้เทคโนโลยีการผลิตมากกว่าใช้ปัจจัยการผลิต จะสร้างโอกาสที่จะนำประชาชน นับล้านคนออกจากความยากจน และสร้างโอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้นและอนาคตที่ดี จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ประเทศในเอเชีย ตะวันออกต้องดิ้นรนที่จะเผชิญกับความท้าทายปัจจุบัน มองหาการริเริ่ม และเริ่มต้นการสร้าง นวัตกรรมที่แข่งขัน ได้ในอนาคต รายงานฉบับนี้ ใช้ระยะเวลา 3 ปีการศึกษา ที่ริเริ่มจากคำขอของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อหาทิศทาง ของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ที่เน้นถึงวิธีการพัฒนาภูมิภาค ในต้นศตวรรษที่ 21 นายชาฮิด ยูซุฟ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจธนาคารโลกและผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า พัฒนาการของเทคโนโลยียังคงต่อเนื่อง และองค์กรด้านการผลิตเอง ต้องแปรสภาพจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

 

และจากการเข้ามาของเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของผู้ผลิตชิ้นส่วน, ผู้ประกอบ และผู้จัดการด้านซัพพลายเชน และผู้ผลิตที่มีความสัมพันธ์กันแบบไดนามิคมากขึ้น ซึ่งทำให้เอเชียตะวันออก ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็รับความเสี่ยงที่จะตามหลัง เมื่อมองไปข้างหน้า การกำหนดนโยบาย ต้องมีความเข้าใจในความแตกต่าง ของแต่ละประเทศที่จะต้องกำหนดนโยบาย ที่เหมาะสมกับระดับรายได้, การพัฒนาของสถาบัน ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน และศักยภาพ การเงิน รวมถึงนโยบายของภาครัฐ ในรายงานวิจัยนี้ ได้แนะนำ 10 นโยบายหลักที่ประเทศเอเชียตะวันออกสามารถใช้ในระดับมหภาคของศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย

1. การใช้จ่ายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและการจัดการหนี้อย่างรอบคอบที่รวมถึงการรับผิดของรัฐ หากมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดในอนาคต

2. การจัดการอัตราแลกเปลี่ยน ที่สามารถรักษาส่วนต่างหรือกำไรของ ความยืดหยุ่นได้เหมาะสมกับขนาดและการเปิดของประเทศ

3. การประสานความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน สร้างการเติบโตการค้า และสนับสนุนความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืน

4. การปฏิรูปทางการเงินที่จะเอื้ออำนวยให้การปรับโครงสร้าง หรือลงทุนใหม่ของธนาคารพาณิชย์และการสร้างตลาด รวมถึงองค์กรด้านกำกับดูแล การปฏิรูปทางการเงินเป็นวิธีการที่จะทำ ให้รัฐหรือธุรกิจใช้ทรัพยากรหมุนเวียนได้โดยตรงจากธนาคาร

5. การเปิดตลาดเสรีที่จะส่งเสริมการแข่งขัน ทำให้ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี ในภาคบริการ เช่น การเงินและค้าปลีก ระหว่างเอเชียตะวันออกและประเทศผู้นำในตะวันตก

6. ให้ระบบกฎหมายสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการคุ้มครองสิทธิและบังคับใช้กฎ ที่จะช่วยให้มีการปฏิรูป ทางการเงินและสร้างความแข็งแกร่ง ของธรรมาภิบาล และนโยบายที่จะเพิ่มการพัฒนานวัตกรรม

7. คุณภาพของการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ ระบบนวัตกรรมได้อย่างก้าวกระโดด

8. การสร้างคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมไฮเทคในเขตนอกเมือง และการบริการ เช่น ในโตเกียวและเกียวโต ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนวัตกรรม พลวัตคลัสเตอร์ จะขึ้นอยู่กับนโยบายเปิดกว้าง, บริการสาธารณะ เช่น การฝึกอบรม โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และสิ่งที่ช่วยสร้างความรื่นรมย์ทางวัฒนธรรม

9. แรงจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษี การประกันของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การให้หุ้น สำหรับธุรกิจที่เริ่มตั้ง การให้เงินเริ่มต้นกิจการ หรือ seed money จากภาครัฐ เป็นสิ่งจำเป็นที่สร้างนวัตกรรม

10. ตลาดในประเทศ ภูมิภาค และการค้าโลก รวมถึงนโยบายการแข่งขัน สามารถช่วยรักษาระบบการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาเดียวกัน ระบบการตลาดแข็งแกร่ง จะสามารถสร้างแรงจูงใจ และบทบาทของภาครัฐ ในเชิงรุกก็จะช่วยเพิ่มระดับการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างยั่งยืน

 

"โอกาสรออยู่ข้างหน้า ประเทศเอเชียตะวันออกเองต้องพร้อมเริ่มจากจุดแข็งที่มีทรัพยากรอย่างเพียงพอ ทักษะการผลิต โครงสร้างพื้นฐานการศึกษาและวิจัย รวมถึงฐานของบริการการเงินและธุรกิจ และที่สุด เศรษฐกิจแบบเปิดและแข่งขันได้ทั้งหมดจะนำ ไปสู่การก้าวไปข้างหน้าครั้งใหญ่ ที่จะทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริง" นายวูลเฟนสันกล่าว

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพไอที ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.