ชินคอร์ป กับ สายการบินราคาถูก บนความสุ่มเสี่ยง Conflict Interests

 

ข่าวใหญ่ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก คือ การลงทุนของบริษัท ชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "กลุ่มชิน" ที่เข้าไปปักธงธุรกิจสายการบิน โดยร่วมทุนจัดตั้งบริษัท แอร์ เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ทำสายการบินราคาถูก (Low Cost Airline) เป็นเจ้าแรกของเมืองไทย

นับเป็นการเปิดแนวรุกนำ "กลุ่มชิน" เข้าสู่ธุรกิจการ "คมนาคมขนส่ง" ในอุตสาหกรรมการบิน เริ่มต้นจากคอนเซ็ปต์ขนคน(passenger carior) ก่อนจะขยายผลในอนาคตต่อเข้าสู่การขนสินค้าทางอากาศ (cargo) "บุญคลี ปลั่งศิริ" ประธานกรรมการบริหาร ชินคอร์ป กล่าวในวันเปิดตัวสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ (12..) ว่า เป้าการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่กำลังสนใจมาก 3 กลุ่ม ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง (transportation) บันเทิง (entertainment) และการเงิน (financial)

เนื่องจาก "กลุ่มชิน" เชื่อข้อศึกษาและกระแสพัฒนาธุรกิจแนวใหม่ที่ว่าถ้าจะขยายเศรษฐกิจของประเทศทั้งระบบจะต้องเริ่มลงทุนเคลื่อนย้ายคนให้เร็วที่สุดเข้าไปหาแหล่งที่มีการผลิตสินค้าหรือโปรดักต์ เมื่อทำตรงจุดนี้สำเร็จก็สามารถเคลื่อนย้ายโปรดักต์ไปหาคนหรือตลาดที่ใหญ่กว่าได้ ฉะนั้นการมีธุรกิจใหม่ไว้เพื่อแจกหรือทำโปรโมชั่นกับฐานตลาดหลักคือคอนซูเมอร์กลุ่มสมาชิกผู้ใช้มือถือค่ายเอไอเอส ที่ปัจจุบันมีลูกค้าไม่ต่ำกว่า 13 ล้านคน หากใช้จุดขายเหล่านี้เป็นแม่เหล็กดูดตลาด จากนั้นก็ใส่สินค้าใหม่เพิ่มเข้าไป ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นโดยอัตโนมัติ กวาดทั้งเงินสดจากการซื้อสินค้าและค่าธรรมเนียมบริการ

เส้นแบ่งระหว่างส่วนตัวกันส่วนรวม
เมื่อเปิดดูแผนธุรกิจอนาคตของกลุ่มชินในจังหวัดเชียงใหม่ จะพบว่า รัฐบาลทักษิณได้ การอนุมัติงบประมาณปี 2547 กว่า 67,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ระหว่าง 2547-2552 ให้ จ.เชียงใหม่นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำโครงข่ายถนน สนามบิน เชื่อม เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เข้าด้วยกัน อีกทางหนึ่ง ได้แก่การระดมหน่วยงานการขนส่งทำโปรโมชั่นกระตุ้นตลาดเปิดทางให้สายการบินนานาชาติจัดเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จาก 50 เป็น 100 เที่ยว/เที่ยว เพื่อทำเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินภาคเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเชื่อมการเดินทางและธุรกิจไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า ลาว เวียดนาม อินเดีย สะดวกขึ้น ล่าสุด ปลายเดือนตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เร่งสนองนโยบายดังกล่าวโดยการจัดเที่ยวบินประจำตลอดไปจากโตเกียว ญี่ปุ่น ไต้หวัน/ฮ่องกง บินเข้าเชียงใหม่ 3 เที่ยว/สัปดาห์ และปลายเดือนพฤศจิกายนนี้กำลังจะเปิดเที่ยวบินใหม่จากหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาชนลาว และร่างกุ้ง พม่า เข้าเชียงใหม่ อีก 3 เที่ยว/สัปดาห์ เช่นกัน ตามแผนปี 2547 การบินไทย ยังจะจัดเที่ยวบินจากแฟรงก์เฟิร์ตเข้าเชียงใหม่อีกเส้นทาง

ส่วนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต้องเข้าไปช่วยหนุนโดยยอมสูญเสียรายได้เพื่อทำโปรโมชั่นลดค่าธรรมเนียมการขึ้นลงและค่าจอดเครื่องบิน (Airport Fee) ลง 50% สนองนโยบายของรัฐบาล "จิ๊กซอว์" ที่ทำให้ภาพชัดเจนคือ การที่ "กลุ่มชิน" ตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทำธุรกิจแข่งขันกับธุรกิจ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ ตัวอย่างจากการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 50% ตั้งบริษัท แอร์ เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ทำสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ร่วมกับบริษัท เอเอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตัวแทนของแอร์ เอเชีย มาเลเซีย ความได้เปรียบของแอร์เอเชียคือ การมีผู้ถือหุ้นเป็นไทยเกินครึ่งหนึ่ง ทำให้สิทธิการลงทุนของแอร์ เอเชียเท่าเทียมสายการบินสัญชาติไทยเจ้าอื่น ซึ่งสามารถเปิดบินภายในประเทศไทยทับเส้นทางทำเงินของการบินไทย หรือเส้นทางบินอื่น ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งหมด อีกทั้งสร้างช่องทางใหม่ให้แอร์ เอเชีย มาเลเซีย รับช่วงขนผู้โดยสารเข้ากัวลาลัมเปอร์เพื่อกระจายไปยังทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

"...ทักษิณ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีและผู้นำของตระกูล "ชินวัตร" กล่าวไว้อย่างสวยหรู ว่า เป็นการลงทุนที่ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สอดคล้องกับ "โทนี เฟอร์นานเดส" ประธานกรรมการบริหารแอร์ เอเชีย จากมาเลเซีย ที่กล่าวว่าการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือยกระดับความสัมพันธ์ทำ "อาเซียน แบรนด์" ให้แข็งแกร่งตามกรอบการค้าเสรีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สายการบินใหม่ของกลุ่มชินอาจเป็นฝันร้ายของ "ผู้บริหารการบินไทย" และเจ้าของสายการบินเอกชนไทยตลอดกาล เพราะทุกสายต่างยอมรับว่าจะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดและรายได้จากการขนส่งให้แอร์ เอเชีย ไทย อย่างแน่นอน

นับเป็นการสูญเสียที่ต้องยอมรับ โดยการบิน ไทยเองต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเองอีกครั้ง เพื่อจะป้องกันส่วนแบ่งตลาดที่อาจจะหายไป 30% หลังจากแอร์ เอเชีย ไทย เปิดบิน ตามแผนการบินไทยเตรียมดัมพ์ราคาตั๋วเครื่องบินเป็นรายเที่ยวลงมาแข่งกับแอร์ เอเชีย ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจนกว่าผู้โดยสารจะอยู่ตัว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการรายได้ของการบินไทยปี 2547 และแผนวิสาหกิจ 5 ปี 2547-2550 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สอดรับกับบทวิเคราะห์ของนิตยสารบิสซิเนส วีก (21 พฤศจิกายน) ที่ว่า นอกเหนือจากแอร์ เอเชียแล้ว การบินไทยยังต้องเผชิญการแข่งขันจากคู่แข่งรายเล็กๆ ในประเทศ โดยเฉพาะโอเรียน ไทย แอร์ไลน์ส ซึ่งเตรียมเปิดให้บริการเที่ยวบินราคาประหยัดในประเทศเดือนธันวาคมนี้ และบางกอก แอร์เวย์สที่ยื่นขอสถานภาพเทียบเท่าสายการบินแห่งชาติ เพื่อให้สิทธิในการให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

การรถไฟฯ มึนตึ๊บ
ไม่เพียงการบินไทยจะต้องเฉือนเนื้อตัวเอง การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทขนส่ง จำกัด ก็ออกมายอมรับถึงความเสียเปรียบ และอาจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดรวมด้านขนส่งภายในประเทศ ให้แก่บริษัทแอร์เอเชียฯ  นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าการ ร...เตรียมปรับตัวครั้งใหญ่ โดยใช้กลยุทธ์ เรื่องบริการ ความสะอาดและการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการบริการ ปัจจุบัน ร...มีลูกค้าโดยสารรถไฟชั้น 1 (ตู้นอน) ประมาณวันละ 3,000 คน เฉลี่ยต่อหัว 500 บาท รายได้รวมต่อวันตก 1.5 ล้านบาทต่อวัน หรือปีละ 18 ล้านบาทโดยประมาณ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้จากค่าโดยสารในทุกขนส่ง

ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการการบินพลเรือนว่า จะพิจารณายกเลิกเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ แต่คงไว้ซึ่งอัตราขั้นสูง เพื่อควบคุมไม่ให้ราคาตั๋วแพงเกินไป ซึ่งเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการบิน อันเกิดจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อกรณีสายการบินต้นทุนต่ำที่จะเปิดให้บริการ  "ผมยอมรับว่า โดยรวมอาจส่งผลกระทบต่อการรถไฟและรถ บ...อยู่บ้าง" นายสุริยะกล่าว

หลักการ Conflict of Interests
การเข้าไปถือหุ้น 50% ของ "ชินคอร์ป" ในสายการบินแอร์เอเชีย นอกจากเป็นการรุกทางธุรกิจครั้งสำคัญของกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นในสายการบินแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจด้วยเหมือนกันคือเรื่อง conflict of interests ก่อนหน้านี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) ได้ออกประกาศว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมกับผลประโยชน์ส่วนตัว หรือ conflict of interests ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่รัฐและคู่สมรสดำเนินการดังต่อไปนี้
1.เป็น "คู่สัญญา" หรือ "มีส่วนได้เสีย" ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ
2.เป็น "หุ้นส่วน" หรือ "ผู้ถือหุ้น" ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
3.รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ
4.เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน

จริงอยู่กรณีนี้แม้ว่าสายการบินแอร์เอเชียไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับรัฐ แต่เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่ชินคอร์ปล้วนเป็นคนในครอบครัวนายกฯ ได้แก่ น..พิณทองทา ชินวัตร 440 ล้านหุ้น หรือ 14.98% นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 404 ล้านหุ้น หรือ 13.77% นายพานทองแท้ ชินวัตร 293.9 ล้านหุ้น หรือ 10.01 และ AMPLE RICH INVESTMENTS LTD. 229 ล้านหุ้น หรือ 7.80% ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้แก่ "แอร์เอเชีย" อาจจะถือเป็น conflict of interests หรือไม่? ยังน่าสงสัย เช่นเดียวกับปริศนากรณีการออก พ...ภาษีโทรคมนาคมเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนสื่อสารยักษ์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.