ซอฟต์แวร์ระบบความปลอดภัยคึกรับกระแสตื่นไวรัส

"ไวรัส" เป็นของคู่กันกับ นักท่องโลกไซเบอร์ แม้หลายคนจะปฏิเสธว่า ไม่ค่อยเต็มใจจะคู่กันสักเท่าใดนัก กระนั้นก็ยังสามารถเรียนรู้และป้องกันได้ โดยในช่วงระยะสองเดือนที่ผ่านมา ชาวเน็ตทั้งหลายต่างตกอยู่ในภวังค์ของ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับไวรัสร้ายที่ออกแพร่ระบาดและสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ในเวลาไล่เลี่ยกันถึง 2 สายพันธุ์ คือ เซอร์แคม (Sircam) ที่มีเป้าหมายโจมตีโปรแกรมอี-เมล์ เอาท์ลุ๊คของไมโครซอฟท์ และโค้ดเรด (Codered) ที่พุ่งเป้าเข้าทำลายเครื่องแม่ข่ายของไมโครซอฟท์ (อีกเช่นเดียวกัน) ขณะเดียวกัน กระแสตื่นไวรัสดังกล่าว ส่งผลให้ค่ายผู้ผลิตระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหลายพร้อมใจกันพัฒนาและส่งซอฟต์แวร์พร้อมอุปกรณ์ต้านไวรัสรุ่นใหม่ ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่ผ่านมา

แมคอาฟี-ไซมานเทค นำทีมต้านไวรัส

เริ่มต้นที่ แมคอาฟี และไซมานเทค สองค่ายใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัส โดยแมคอาฟี ธุรกิจในเครือของเน็ตเวิร์ค แอสโซซิเอทส์ อิงค์. เปิดเผยว่า กำลังจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับมาสึ เน็ตเวิร์คส์ อิงค์, แอสตา เน็ตเวิร์คส์ อิงค์. และอาร์เบอร์ เน็ตเวิร์คส์ อิงค์. บริษัทด้านต่อต้านการโจมตีด้วยดอส (Denial of Service) เพื่อพัฒนาวิธีการยับยั้งการโจมตีจากการเรียกใช้ข้อมูลปริมาณมากๆ หรือดอส (DoS) ซึ่งแมคอาฟีพูดถึงเป้าหมายของการร่วมมือครั้งนี้ว่า เพื่อบ่งชี้เมื่อเครือข่ายตกอยู่ภายใต้การโจมตี รวมทั้งเพื่อบอกให้ทราบได้ หากระบบกำลังตกเป็นเหยื่อหรือเป้าหมายของการโจมตีดังกล่าว

นายสเตฟาน ซาเวจ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของแอสตา เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า ทั้ง 4 บริษัทจะทำการแบ่งปันในด้านการวิจัย, ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ และข้อมูลต่างๆ ระหว่างกัน โดยแมคอาฟีจะเผยข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับโครงสร้าง, รหัส และพฤติกรรมของเวิร์ม รวมถึงไวรัสต่างๆ ให้กับบริษัทร่วมพันธมิตรเหล่านี้ ขณะที่ แอสตา จะเผยข้อมูลเกี่ยวกับระดับเครือข่ายและการเข้าสู่เครือข่าย นายซาเวจมองว่า ผลจากความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้ชิ้นงานสองอย่างผนวกเข้าด้วยกัน ได้แก่การตรวจสอบและการเข้าถึง และทำให้ทราบลักษณะของการโจมตี รวมทั้งหาทางป้องกันได้ดีขึ้น

ขณะที่ ไซมานเทค เปิดตัว นอร์ตัน แอนตี้ไวรัส 2002 (Norton AntiVirus 2002) ซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสใหม่ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ปลอดจากเวิร์ม อี-เมล์ ด้วยการตรวจหาไวรัสจากไฟล์แนบท้ายอี-เมล์, ปิดกั้นสคริปท์, ลบไวรัสโดยอัตโนมัติ, ส่งสัญญาณเตือนและหน้าจอใช้งานรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ ไซมานเทคเปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นโปรแกรมล่าสุดของนอร์ตัน แอนตี้ไวรัส ที่สามารถอัพเดทตัวเองได้โดยอัตโนมัติ และสนับสนุนการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ส เอ็กซ์พี ของไมโครซอฟท์ที่มีกำหนดออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ร่วงนี้

ไมโครซอฟท์ส่งของใหม่ร่วมหนุน

ด้านไมโครซอฟท์เตรียมส่งทูลส์ใหม่ ช่วยประเมินระดับความปลอดภัยโปรแกรม พร้อมแก้ไขช่องโหว่ของซอฟต์แวร์แม่ข่ายอินเทอร์เน็ต มุ่งหวังดับเสียงวิพากษ์ไม่สนหาทางแก้ ภายหลังบั๊กและไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ออกอาละวาดพุ่ง เป้าโจมตีผลิตภัณฑ์จากยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ในเรดมอนด์แห่งนี้ สำหรับอุปกรณ์ใหม่ของไมโครซอฟท์ ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เน็ตเวิร์ค ซีเคียว ริตี ฮอทฟิกซ์ เช็คเกอร์ (Microsoft Network Security Hotfix Checker), ไมโครซอฟท์ เพอร์เซอร์นัล ซีเคียวรีตี แอดไวเซอร์ หรือ เอ็มพีเอสเอส (MPSA-Microsoft Personal Security Adivisor) และโปรแกรมแก้ไขช่องโหว่เวอร์ชั่นใหม่สำหรับไอไอเอส ซอฟต์แวร์แม่ข่ายอินเทอร์เน็ตที่โค้ดเรดเคยเข้าโจมตี

ไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า ไมโครซอฟท์ เน็ตเวิร์ค ซีเคียวริตี ฮอทฟิกซ์ เช็คเกอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้ระดับองค์กรธุรกิจสามารถวิเคราะห์และตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเครือข่าย เพื่อตรวจหาโปรแกรมแก้ไขช่องโหว่ บนระบบปฏิบัติการ วินโดว์ส เอ็นที 4.0, วินโดว์ส 2000, ซอฟต์แวร์ไอไอเอส 4.0, 5.0 , เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ 7.0, เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ 2000 และอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ 5.01 ส่วนไมโครซอฟท์ เพอร์เซอร์นัล ซีเคียวรีตี แอดไวเซอร์ หรือเอ็มพีเอสเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้ตามบ้านสามารถวิเคราะห์ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส เอ็นที 4.0 และวินโดว์ส 2000 รวมทั้งรับรายงานที่แสดงความผิดพลาดของโปรแกรมแก้ไขช่องโหว่, รหัสผ่าน, ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์, เอาท์ลุ๊ค เอ็กซ์เพรส,การติดตั้งระบบป้องกันของโปรแกรมสำนักงาน (Office) และวิธีการแก้ไขผ่านโปรแกรมรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ โดยมีแผนจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้

ขณะที่โปรแกรมแก้ไขช่องโหว่ เวอร์ชั่นใหม่ สำหรับไอไอเอส ซอฟต์แวร์แม่ข่าย อินเทอร์เน็ต จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่ค้นพบใหม่ รวมถึงช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้โค้ดเรดโจมตีแม่ข่าย ด้วยการใช้ "ยูอาร์แอล รีไดเร็คชั่น" (URL redirection) ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายจากที่อยู่เวบไซต์หนึ่ง ไปยังอีกเวบไซต์หนึ

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 7 กันยายน 2544

 
Home | About us | INET | ITE| PTEC | MTS | NTJ | Software Park
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ©2001 By Information System Service Section. All rights reserved.