ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2544
1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2543 ดัชนีผลผลิตของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 0.01 และ ดัชนีผลผลิตของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 10.8 นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 5,708 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2543 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักของไทยได้แก่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ยังไม่ฟื้นตัว
อย่างไรก็ตามภาวะตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เป็นเพราะบริษัทต่างๆจัดรายการส่งเสริมการขายเพื่อทำยอดขายก่อนปิดบัญชีครึ่งปี นอกจากนี้การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในแบบผ่อนส่งโดยใช้บัตรเครดิตที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ยังเป็นส่วนช่วยให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นด้วย
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต แนวโน้มการผลิตของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ยังคงมีแนวโน้มที่ไม่สดใส จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ลดลงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1
เมื่อพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Indices of Industrial Production) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 พบว่า ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นโดยรวมยังค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 ยกเว้นโทรทัศน์สีและวีดีโอเทปที่มีการผลิตลดลงมาก โดยโทรทัศน์สีมีการผลิตลดลงร้อยละ 27.5 และวีดีโอเทปลดลงร้อยละ 60.5
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงบรรยากาศการลงทุนผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศพบว่ายังได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น และ เกาหลี โดยมีความสนใจผลิตในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านประเภท ไวต์กู๊ด โดยผู้ผลิตจากค่ายญี่ปุ่นได้แก่ เนชันแนล ไดโซ และจากค่ายเกาหลีได้แก่ แอลจี ซึ่งเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ เพื่อส่งขายประเทศในภูมิภาคอาเซียน
2.2 การตลาด
ภาวะการขนส่งสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อพิจารณาดัชนีการส่งสินค้า จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ลดลงร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1) ตลาดในประเทศ
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้น พิจารณาจากตัวเลขการผลิตของกลุ่มสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลักพบว่า ความต้องการของตลาดในสินค้าประเภท เครื่องรับโทรทัศน์ พัดลม และ หม้อหุงข้าว มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 โดยเครื่องรับโทรทัศน์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 พัดลม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 และหม้อหุงข้าว มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 ส่วนความต้องการตู้เย็นมีการขยายตัวลดลงร้อยละ -23.8 ขณะที่เครื่องซักผ้า มีการขยายตัวเพิ่มข้นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2544 การจำหน่ายผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นดังนี้ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
1. เครื่องรับโทรทัศน์ |
24.9 |
1.0 |
2. ตู้เย็น |
N/A |
-23.8 |
3. พัดลม |
31.4 |
19.9 |
4. เครื่องซักผ้า |
N/A |
6.5 |
5. หม้อหุงข้าว |
41 |
13.8 |
ที่มา: กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2) ตลาดส่งออก แนวโน้มการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยยังคงทรงตัว โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,928.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยยังคงเป็นญี่ปุ่นและอเมริกา โดยมีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 40.5 ของมูลค่าโดยรวมทั้งหมด
จากสถิติของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นดังนี้ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 2)
ตารางที่ 2แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย |
1. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ |
370.4 |
7.5 |
-5.8 |
ญี่ปุ่น สเปน อิตาลี |
2. เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ |
393 |
2.6 |
4.5 |
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ |
3. เครื่องเล่นวีดีโอและอุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ |
164.6 |
-2.4 |
2.3 |
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย |
4. ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ |
91.4 |
5.3 |
-11.9 |
ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนิเซีย |
5. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ให้วามร้อน |
76.8 |
-4.5 |
-19.2 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ อเมริกา ลาว |
6. เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ |
377.4 |
2.8 |
-12.3 |
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ |
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
เมื่อพิจารณาสภาวะการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา พบว่ามีแนวโน้มในการส่งออกยังคงทรงตัวเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยดัชนีการส่งสินค้า (Indices of Producer's Shipment) ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2543 พบว่าส่วนใหญ่ยังคงทรงตัว ยกเว้นในส่วนของวีดีโอเทปที่ลดลงถึงร้อยละ 33.8 มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถุนายน ปี 2544 อยู่ในภาวะทรงตัวเช่นเดียวกัน โดยมีมูลค่ารวม 3,112 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ร้อยละ 1.6
3) การนำเข้า การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1865.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่ารวมกันสูงถึงร้อยละ 50.6 ของมูลค่าโดยรวมทั้งหมดที่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศ
จากสถิติของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มูลค่านำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นดังนี้ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3)
ตารางที่ 3มูลค่านำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
ประเทศนำเข้าที่สำคัญของไทย |
1. เครื่องส่งสัญญาณภาพและเสียง |
315.6 |
178.8 |
26.2 |
เกาหลีใต้ เยอรมัน ญี่ปุ่น |
2. เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆและส่วนประกอบ |
275.8 |
-8.8 |
-9.8 |
ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ |
3. หลอดภาพโทรทัศน์ |
189 |
-32.4 |
-3.7 |
มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ |
4. อุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โทรเลขและอุปกรณ์ |
138 |
116 |
-29.2 |
ฟินแลนด์ จีน สวีเดน |
5. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล |
131.1 |
-4.7 |
-13.9 |
ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน |
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยจากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 10.8 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าที่มีการลดลงค่อนข้างมาก คือ หลอดภาพคอมพิวเตอร์ และ Other IC ลดลงถึงร้อยละ 52.5 และ 35.9 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของโลกยังชะลอตัว ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานการผลิตของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นได้รับคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ลดลง จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีปริมาณการผลิตที่ลดลงไปด้วย
ข้อมูลปริมาณการผลิตของผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่าการผลิตในไตรมาสที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง โดยเฉพาะหลอดภาพโทรทัศน์ IC และ Transistor ลดลงมากกว่าร้อยละ 25 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 4)
ตารางที่ 4ปริมาณการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
ปริมาณการผลิตไตรมาส 2/2544(ล้านหน่วย) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
1. Transistor |
3,395.5 |
-29.0 |
5.4 |
2. IC |
1,913.9 |
-25.8 |
-11.3 |
3. Diode & LED |
1,099.7 |
-20.4 |
8.2 |
4. Hard Disk Drive Parts |
177.6 |
-11.3 |
-11.7 |
5. Transformer |
58.9 |
-5.6 |
-45.4 |
6. PCBA |
53.7 |
-8.8 |
-6.3 |
7. Hard Disk Drive |
8.0 |
-18.4 |
12.7 |
8. หลอดภาพโทรทัศน์ |
1.7 |
-29.2 |
-5.6 |
9. จอภาพคอมพิวเตอร์ |
1.6 |
-15.8 |
-6.7 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ภาวะการผลิตที่ลดลงของไทยเป็นไปในทางเดียวกับภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่น ดังจะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Indices of Industrial Production) ของ Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นดัชนีผลผลิต Personal Computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3.2 การตลาด ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของตลาดโลก โดยจากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 โดยสินค้าที่มีดัชนีการส่งสินค้าลดลงค่อนข้างมาก คือ หลอดภาพคอมพิวเตอร์ และ Other IC ลดลงถึงร้อยละ 63.7 และ 39.9 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ลดลง
1) ตลาดในประเทศ ข้อมูลตลาดในประเทศของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีหน่วยงานใดรวบรวมสถิติการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภายในประเทศ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ชี้ให้เห็นว่า ในส่วนของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีการซื้อขายระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงถึงการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 สินค้าหลักที่มีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 ได้แก่ Diode & LED, จอภาพคอมพิวเตอร์ และ HDD Parts เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 39.3 และ 27.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ส่วนสินค้าหลักที่มีการจำหน่ายในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 ได้แก่ IC และ PCBA ลดลงร้อยละ 24.6 และ 72.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 5)
ตารางที่ 5แสดงมูลค่าการจำหน่ายในประเทศ (เพื่อการส่งออกทางอ้อม) ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
มูลค่าการจำหน่ายในประเทศ (ล้านบาท) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
1. HDD Parts |
1,530 |
27.63 |
-3.5 |
2. จอภาพคอมพิวเตอร์ |
394.9 |
39.3 |
11.68 |
3. Diode & LED |
287.7 |
39.9 |
5.9 |
4. PCBA |
2,847.1 |
-24.6 |
-13.8 |
5. IC |
296.5 |
-72.7 |
-13.1 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 โดยคิดเป็น 3,833.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 โดยเฉพาะวงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 6) ส่วนตลาดสำคัญที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 16.6 10 และ 5.5 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543
ตารางที่ 6แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
มูลค่าการส่งออกไตรมาส 2/2544 (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน(ร้อยละ) |
ตลาดส่งออกหลัก |
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ |
1,969.9 |
0.8 |
1.1 |
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น |
2. แผงวงจรไฟฟ้า |
884.4 |
-6.4 |
-22.4 |
สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และ เนเธอร์แลนด์ |
3. วงจรพิมพ์ |
177.3 |
-31.6 |
-23.6 |
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา |
4. ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์ |
197.5 |
-22.5 |
-6.6 |
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์ |
5. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ |
194.1 |
-3.5 |
-16.1 |
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ |
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
สาเหตุของการชะลอตัวด้านการส่งออกอย่างต่อเนื่องของไทย มาจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว โดยพิจารณาจากภาวะตลาด Semiconductor ของโลกลดลง โดยจากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ทั่วโลกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีมูลค่า 38,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ Semiconductor ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยตลาดที่มีการลดลงมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา มูลค่าจำหน่าย 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงถึงร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ ตลาดสหภาพยุโรป มูลค่าจำหน่าย 8,430 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่าจำหน่าย 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตลาดญี่ปุ่น มูลค่าจำหน่าย 9,470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศไทย โดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นรายงานดัชนีการส่งสินค้าลดลง (Indices of Producer's Shipment) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 โดยเฉพาะ Cathode ray tubes for computers, Resistor และ Transistors ลดลงกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่สำหรับ Personal computer ดัชนีการส่งสินค้ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเริ่มมีการส่งสัญญาณการฟื้นตัวในตลาด Personal computer ของญี่ปุ่น
สำหรับการส่งออกของประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถุนายน จากการรายงานของ United States Department of Commerce News พบว่าสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง คือ Semiconductor มีมูลค่าการส่งออก 3,458 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และ Computer accessories มีมูลค่าการส่งออก 3,012 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเพียงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ Computers มีมูลค่าการส่งออก 964 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และมูลค่าการส่งออก Telecommunications equipment 2,580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม
เมื่อพิจารณาการส่งออกของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลก จะพบว่า Computer มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 แสดงถึงแนวโน้มของตลาด Computer ของประเทศที่สำคัญของโลกเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการส่งออก Computer ของไทยที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจากการส่งออกคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบในไตรมาส 2 ปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3) การนำเข้า มูลค่านำเข้าในไตรมาสที่ 2 ลดลง โดยคิดเป็น 2,661.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ ลดลงกว่าร้อยละ 15 ขณะที่มูลค่านำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 7)
ตารางที่ 7แสดงมูลค่านำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า |
มูลค่าการนำเข้าไตรมาส 2/2544 (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 2/2543 (ร้อยละ) |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสที่ 1/ 2544 (ร้อยละ) |
ตลาดนำเข้าหลัก |
1. แผงวงจรไฟฟ้า |
1,328.7 |
-7.7 |
-24.9 |
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ |
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ |
927.1 |
3.9 |
-6.5 |
สหรัฐอเมริกา จีน และ ฟิลิปปินส์ |
3. ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ |
148.7 |
-12.4 |
-14.9 |
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา |
4. หม้อแปลงไฟฟ้า และ ส่วนประกอบ |
113.1 |
-19.6 |
-14.4 |
จีน ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ |
5. วงจรพิมพ์ |
85.8 |
-15.4 |
-15.9 |
ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา |
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
4. แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มทรงตัว ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2544 หดตัวร้อยละ 1.5-2 ทำให้ส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคย่อมลดลงตามรายได้ที่ลดลง แต่หากพิจารณาการส่งเสริมการขายของผู้ผลิต รวมทั้งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยซื้อแบบผ่อนและการซื้อผ่านบัตรเครดิต ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งย่อมเป็นการสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังไม่ลดลงมากนัก ส่วนตลาดต่างประเทศคาดว่าการส่งออกทรงตัว เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีตลาดอื่นที่นอกเหนือจากตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น Electronic Business ได้คาดการณ์การส่งออกสินค้าในกลุ่ม Audio and Video Equipment ในไตรมาสที่ 3 ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยสำคัญจะอยู่ที่การฟื้นตัวของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่ง World Economic Outlook คาดว่าในปี 2544 จะมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 1.5 และ 0.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามทั้ง Semiconductor Industry Association และFederal Reserve Board , USA ได้คาดว่าสินค้าในกลุ่ม Personal Computer, Communication Products และ Semiconductor จะมีโอกาสฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 แต่ Federal Reserve Board, USA ได้คาดว่าสินค้าในกลุ่ม Consumer Electronics ยังคงลดลงอีกในไตรมาสต่อไป
ที่มา : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 โทร. 202-4369 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
|