จับกระแสจักรวาล Metaverse เริ่มต้นอย่างไร โอกาสไปได้ไกลแค่ไหน ไปกับเนคเทค สวทช. Velaverse และ Metaverse XR

Facebook
Twitter
เนคเทค สวทช. จัดเวทีออนไลน์อาสาพาทุกท่านเดินทางท่องไปในดินแดน Metaverse ในหลากมิติ หลายมุมมอง ประเดิม EP แรก Metaverse in Action Series Ep.1 Earth : Metaverse in Action…จากแนวคิด สู่การปฏิบัติ โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. คุณเสถียร บุญมานันท์ CEO&Founder บริษัท Metaverse XR คุณมารุต ชุ่มขุนทด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท คลาส คอฟฟี่ จำกัด และ Velaverse ดำเนินรายการ โดย ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.

เทคโนโลยีบน Metaverse ไม่ใช่เรื่องใหม่

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ได้เล่าถึง ความท้าทายของเทคโนโลยีที่มีส่วนในการพัฒนา Metaverse ที่อาจส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโลกของ Metaverse นั่นคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต (Network Latency) ที่ต้องอยู่ในระดับ 20 ms ที่พร้อมในพื้นที่เมืองเป็นส่วนใหญ่ โดยเทคโนโลยี Edge computing จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใน Metaverse ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนคเทค สวทช. พัฒนามาเทคโนโลยีเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้มาควบรวม หรือ บรรจบกันเพื่อ Metaverse ทั้งในด้าน เทคโนโลยี และ ระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็น Avatar, Human Computer Interaction โดยเน้นเรื่องการสื่อสารภาษาธรรมชาติระหว่างมนุษย์กับ Machine , “LUNAR” โดยใช้เทคโนโลยี Lidar ประกอบกับ Ultrawideband สร้างระบบนำทางภายในอาคารและแบบแปลนสามมิติ (Indoor navigation & 3D floor plan) การประมวลผลสัญญาณสมองเพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ , AI for Thai บริการด้านปัญญาประดิษฐ์, NETPIE IoT Platform ที่สามารถของรับอุปกรณ์ Edge Device ต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของ Metaverse , เทคโนโลยีโลกเสมือน VR/AR Simulation เป็นต้น โดยเนคเทค สวทช.มีแผนจะสร้างสิ่งใหม่เพื่อรองรับ Metaverse ในโลกของการศึกษา (Innovative Education) และ การท่องเที่ยว เช่น การนำเทคโนโลยี Metaverse มาต่อยอดใช้กับพิพิธภัณฑ์
โดยเนคเทค สวทช. จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนี้ มุ่งสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของไทย ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร และเป็นกลไกสนับสนุนการสร้างจริยธรรมในโลก Metaverse ต่อไป
ด้านดร.รัฐภูมิ ตู้จินดา นักวิจัย ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) สวทช.ได้เล่าถึง วิถีที่เปลี่ยนไปในช่วง COVID-19 ทำให้ผู้คนรับรู้อีกแง่มุมหนึ่งในโลกออนไลน์สามารถทำกิจกรรมได้ในหลาย ๆ บริบท เช่น ซื้อของกินของใช้ การพบแพทย์ ทำธุรกรรมต่าง ๆ สำหรับโลกของ Metaverse ขีดจำกัดต่าง ๆ จะหมดไป ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีสำหรับ Metaverse อาจจะยังไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะเทคโนโลยีที่ล้ำไปมากกว่านี้ยังมีราคาสูง ไม่คุ้มกับการใช้งาน
ในมุมมองของ ดร.รัฐภูมิ ความแตกต่างของ Second Life และ Metaverse แบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ Social Context ซึ่งผู้คนในปัจจุบันจะมีความคุ้นชินกับโลกออนไลน์มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีบริบทของโควิด ที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal 2)Technology Context ที่มีกราฟฟิคดีกว่า input และ โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของบล็อกเชน และ web 3.0 ที่สามารถ อ่าน เขียน เป็นเจ้าของ และนำไปสู่การสร้างรายได้ 3) Business Context โอกาสของการทำรายได้ใน Web 3.0

Metaverse คือ โอกาสล้างไพ่

Metaverse ในมุมมองของ Metaverse XR คือ คือ เจนเนอร์เนชันใหม่ของโซเชียลมีเดีย (Social media next generation) โดยคุณเสถียร บุญมานันท์ CEO&Founder บริษัท Metaverse XR ได้เล่าถึงโอกาสบนโลก Metaverse ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทางเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้นับหนึ่งใหม่พร้อมกับทุกคนในโลก และคนที่ใช้ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่ดีที่สุด คือ ผู้ชนะ คุณเสถียรยังได้นำเสนอภาพความพร้อมด้านเทคโนโลยีสำหรับ Metaverse ในหลายด้าน เช่น เกม การซื้อขาย อีเวนท์ การศึกษา สุขภาพ เป็นต้น

Metaverse โลกเสมือนที่ยังยั่งยืน

“ชุมชน หรือ Comunity” คือ ปัจจัยสำคัญในการสร้างและขับเคลื่อน Metaverse ในมุมมองของคุณมารุต ชุ่มขุนทด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท คลาส คอฟฟี่ จำกัด และ Velaverse ซึ่ง CLASS Café สร้างเครือข่ายร่วมกับกับชุมชนมหาวิทยาลัยชั้นนำมาโดยตลอด และล่าสุดได้สร้างโปรเจค Velaverse แพลตฟอร์มสำหรับเมืองโลกเสมือนขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นหลักในการพัฒนา ซึ่งผู้คนสามารถเข้าไปจับจองที่ดิน ซื้อบ้าน โดยใช้จ่ายผ่าน Class Coin
คุณมารุต กล่าวว่า เทคโนโลยีใน Metaverse ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ความยั่งยืน การมีส่วนร่วมกับชุมชน และ การกระจายอำนาจสู่ทุกคนไปพร้อม ๆ กัน (Decentralized) ซึ่ง Velaverse ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยการโลกเสมือนไปพร้อมกับการพัฒนาเมือง ทั้งด้านการพัฒนาคน โดยการจัด Hackathon สนับสนุนนักศึกษาในพื้นที้มาอัปสกิลเทคโนโลยีและเครื่องมือด้าน Metaverse เพื่อสร้างแรงงาน สร้างคนสู่โลก Metaverse ต่อไป รวมถึงด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนให้เกิดอีเวนท์ระดับประเทศ หรือ ระดับโลก บน Metaverse เป็นต้น