การปรับเปลี่ยน SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ต้องทำอย่างไร

Facebook
Twitter

บทความ | นัทธ์หทัย ทองนะ

งานสัมมนา “Industry 4.0 ลงทุนง่ายๆ สบายกระเป๋า” ในเวที Intermach & Subcon Thailand 2023 ร่วมฟังบรรยายพิเศษ โลกเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยต้องปรับและยกระดับ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร พร้อมรับฟังแนวทาง บริการเพื่อปรับปรุงและยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 และพลาดไม่ได้กับตัวอย่างความสำเร็จ จากประสบการณ์ในการลงทุน เพื่อยกระดับสู่ Industry 4.0 เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 ไบเทคบางนา จัดโดย NECTEC SMC และ EECi

การปรับเปลี่ยน SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ต้องทำอย่างไร

นายพงษ์ชัย ชัยจิรวัฒน์ ประธานคณะทํางานการปฏิรูปอุตสาหกรรม และพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 กล่าวว่า การปรับเปลี่ยน SME ในไทยเพื่อให้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นโจทย์อมตะ ที่ต้องใช้เวลา ก่อนอื่นต้องของเล่าถึงสภาพแวดล้อมในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คำศัพท์ที่เรียกว่า VUCU V-Volatility ความผันผวน, U-Uncertainty ความไม่แน่นอน, C-Complexity ความซับซ้อน, A-Ambiguity ความคลุมเครือ ซึ่งเป็นชุดคำศัพท์ที่ใช้อธิบายสถานณ์โลกโดยรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง โดยสรุปก็คือโลกเปลี่ยนแปลงไวมาก ไม่มีอะไรที่แน่นอน 1+1=2 เสมอไป รวมทั้งความขัดแย้งต่างๆ ภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะเศรษฐที่กิจถอดถอย ภาวะเงินเฟ้อ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิร้อนขึ้น ค่าไฟที่ปรับขึ้น การส่งออกที่ชะลอตัว แต่ขณะเดียวกันดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเทศถือว่าสามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัว สถานการณ์การเลือกตั้งซึ่งสร้างผลกระทบทั้งบวกและลบ คนด้านอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้โอกาสนี้ในการปรับตัว

จากภาคอุตสาหกรรมเดิม 45 อุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ ต้องมีการปรับตัวโดย add value ด้วยเทคโนโลยี ขณะเดียวกันต้องดู S-Curve ใหม่ๆ รวมทั้งติดตามเรื่องสภาพอากาศซึ่งมีผลต่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง แต่การที่อุตสาหกรรม 2.0 สู่ 4.0 ได้นั้น จะต้อง  1. KNOWLEDGE SHARING การให้ความรู้และหาพาร์ทเนอร์ต่างๆ  2. ASSESSMENT 3. SOLUTIONING 4. IMPLEMENTATION 

นายพงษ์ชัย กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญ คือ การสนันสนุนให้ SME ซึ่งเป็นกลุ่มอตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศพัฒนา พร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จำเป็น ในราคาไม่แพง นอกจากนี้การส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้ก็เป็นสิ่งที่ควบคู่ไปด้วย

บริการเพื่อปรับปรุงและยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0

ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ EECi สวทช. กล่าวถึง แนวทางและบริการในการยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ว่าสวทช.มีอุปกรณ์ และแพลตฟอร์มต่างๆ ช่วยภาคอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่ หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล Universal Remote Terminal (URCONNECT) ตัวดึงข้อมูลเซ็นเซอร์จากอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้น Cloud เพื่อทำ Data Analytics พร้อมยังมี Data iot Platform เป็น Cloud IoT Platform ที่ชื่อว่า NETPIE สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ติดตั้งในโรงงาน เมื่อดึงข้อมูลพลังงานของโรงงานมาแล้วสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ปรับปรุงในชื่อว่า IDA Platform นอกจากนี้ยังมีระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร UNAI Platform ซึ่งใช้ในการติดตามระบบขนส่งภายในโรงงาน นำไปใช้ ติดตั้งจริงแล้วในหลายโรงงานอีกด้วย

แนวทางการยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบไปด้วย 3 ขั้น 

  1. Industry 4.0 Assessment การประเมินโรงงาน โดยทางโรงงานสามารถกรอกได้เอง หรือประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาจุดแข็ง จุดออน สิ่งที่ควรปรับปรุง ควรต้องดำเนินการก่อน
  2. Transformation Roadmap การวางแนวทางการดำเนินงาน
  3. Implement การลงมือดำเนินงานภายในโรงงาน

บริการของสวทช.เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เริ่มตั้งแต่ Thailand i4.0 Index ประเมินระดับความพร้อมโรงงานอุตสาหกรรม บริการที่ปรึกษา บริการฝึกอบรม บริการวิเคราะห์ทดสอบ บริการวิจัยและพัฒนา และบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งผู้ประกอบการสามารถทำงานร่วมกับ สวทช.ตามโจทย์เฉพาะที่ผู้ประกอบการต้องการได้ 

โดย Thailand i4.0 Index ประเมินความพร้อมของโรงในหลายมิติต่างๆ ทั้ง Technology,  Smart Operation, IT System and Data Transaction, Market & Customers, Strategy & Organizations, Human Capital   ครอบคลุมทั้ง 360 องศาในภาคการผลิต ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 สำหรับบริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช.มี ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน(Sustainable Manufacturing Center :SMC) ณ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้บริการทดสอบแก่โรงงานโดยไม่จำเป็นต้องรบกวนการไลน์การผลิตของตนเอง รวมทั้งให้บริการฝึกอบรมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี Testbed ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G, AGV, Smart Warhouse, Security  เป็นต้น พร้อมแนะนำคอร์สฝึกอบรมต่างๆ และสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานส่งเสริมทางอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับสู่ 4.0

คุณอดุลย์ เปรมประเสริฐ ประธานบริหารเจ้าหน้าที่ บริษัท ธนกรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด เล่าถึงประสบการณ์และความสำเร็จในการลงทุน เพื่อยกระดับสู่ Industry 4.0 ว่าได้เมื่อสังคมมีการปรับเปลี่ยน น้ำมันพืชกุ๊กในฐานผู้ผลิตสินค้าบริโภคก็ต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน โดยเข้าสู่การผลิตระบบออโตเมชั่นและดิจิทัล (Automation and Digitalization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและการบริการให้สูงขึ้น มีความรวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ลดลง ลดความ สูญเสีย สูญเปล่า โดยใช้หลัก DIGITAL CONSTRUCTIVE DISRUPTION : DCD การปฏิรูปอย่างสร้างสรรค์ภายในองค์กรด้วยดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์หลักขององค์กรทั้ง 6 ข้อ

  1. การลงทุน Automation และ Digital เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิต
  2. การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในด้าน Digital Interface
  3. การปรับปรุงโครงสร้างระบบข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูล (Data) ที่มีอยู่ สามารถนำมาใช้งานได้ end-to-end มีความรวดเร็ว แม่นยำ และ insights-driven 
  4. การ Transform ช่องทางของการเข้าถึงลูกค้า และ Model ธุรกิจ 
  5. นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่อยู่นอกเครือข่ายธุรกิจเดิม
  6. การมองหา Partner ใหม่ ที่อยู่นอกธุรกิจเดิม

โดย 3 ข้อ สุดท้ายขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจที่จะเข้าถึงลูกค้า 

สำหรับแนวทางการลงทุนผู้ประกอบการควรมองหาสิทธิประโยชน์ เงินสนับสนุนจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ หรือหน่วยงานต่างๆ แต่ต้องคำนึงถึง คือ ต้นทุนเกี่ยวกับโครงการที่จะลงทุนประเมินความสามารถลดได้จริงหรือไม่ ผลประหยัด (Cost Saving) การดำเนินการแต่ละโครงการส่งผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนอย่างไร ความคุ้มค่าในการลงทุน คุณภาพสินค้าและบริการ ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย รวมทั้งภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร 

พร้อมเน้นย้ำผู้ประกอบการติตามข่าวสารจากประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจาก Website BOI, Facebook หรือ social media โดย BOI จะมีการ Update คู่มือขอรับการส่งเสริมการลงทุนเป็นระยะๆ