Sustainable in Smart Manufacturing: ไม่ตกยุค ก้าวสู่อนาคต นำความยั่งยืนสู่อุตสาหกรรม

Facebook
Twitter

บทความ | นัทธ์หทัย ทองนะ

เสวนาพิเศษ Sustainable in Smart Manufacturing: ไม่ตกยุคและพร้อมก้าวสู่อนาคต นำความยั่งยืนมาสู่การผลิตภาคอุตสาหกรรมจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการผลิตอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและยังคงมีอนาคตที่ยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีสมาร์ตและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการผลิตที่เชื่อมต่อและยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความยั่งยืนที่เป็นหลักในการผลิตภาคอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสม

ในการเริ่มต้นพูดถึงคำว่า “อนาคต” ความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบันและในอนาคต การผลิตที่ยั่งยืนเป็นที่สำคัญเนื่องจากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ลดการใช้พลังงานและวัสดุที่ไม่จำเป็น และลดการปล่อยสารเคมีอันตรายลงในกระบวนการผลิต เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถยั่งยืนและเติบโตในอนาคตได้อย่างยั่งยืน การนำเทคโนโลยีสมาร์ตและแนวคิดเชิงยั่งยืนเข้ามาใช้ในการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ การผลิตที่ยั่งยืนไม่เพียงแค่สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองต่อความต้องการของตลาด แต่ยังสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืนด้วย

การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างฉลาด ต้องรู้และเตรียมอะไรบ้าง ?

ความยั่งยืนด้านอุตสาหกรรมมีความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมจากภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น ส่งผลอย่างไรต่อภาคการผลิตที่ต้องปรับตัว การเตรียมพร้อมรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญสายตรงด้านอุตสาหกรรมเบอร์ใหญ่ตัวจริง

ภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) : อบก. กล่าวว่า สืบเนื่องจากกระแสโลกที่ตื่นตัวเรื่องคาร์บอนเครดิต จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลักดันให้เกิดกิจกรรมด้านการจัดการเรื่องก๊าซเรือนกระจกเยอะขึ้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ ปัจจุบันมีบริการ  3 ส่วน  

  1. Climate Action Capacity Building & Communication ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ กิจกรรม กลไกต่างๆ สื่อสารสู่สาธารณะ
  2. Carbon Neutral Compliance Platform มีสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ความรู้ สัมมนา อบรม รวมทั้งการอภิปรายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ จากผู้บริหารต่างๆ ร่วมระดมความเห็นแก้ปัญหาให้กับประเทศ พร้อมทั้งการรับรองการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอีกด้วย
  3. Carbon Neutral Driving Policy & Technical Support ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผล เพื่อที่จะส่งผลการลดก๊าซเรือนกระจกไปยัง UNFCC ตามนโยบายที่ระบุไว้ว่าประเทศไทยจะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2573  

ดร. กิตติวัตร โสมวดี รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน จำกัด (ประเทศไทย) บริษัทผู้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่หลากหลายในครัวเรือนสำหรับผู้บริโภค  ซึ่งทำโครงการร่วมกับ อบก. ด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และทำงานร่วมกับ SMC เรื่อง industry 4.0 

คุณธเนศ อิงสกุลรุ่งเรือง ผู้จัดการส่วนเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรม บมจ. ปตท. กล่าวว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยน ฉะนั้น ปตท.องค์กรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลก ตั้งแต่การปรับวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering Life with Future Energy and Beyond” ปตท. มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจ โดยพยายามมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานอนาคตและไกลกว่าธุรกิจพลังงาน แต่ภารกิจหลักยังคงเหมือนเดิม คือ ดูแลและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมทั้งสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม ภารกิจหลัก คือการสร้างนวัตกรรมหรือบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า อุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 

คุณสิริวัฒน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) กล่าวในฐานะองค์กรอิสระภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 20 ปี เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรม 4.0 ผ่านกระบวนการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากร ให้คำปรึกษา รวมทั้งการทำโครงการอุตสาหกรรม Industrial Project และให้บริการวิจัยพัฒนา รวมทั้งในส่วนของการทดสอบหรือตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ ของตัววัสดุ  และการมอบใบรับรองแก่บุคลากรด้านงานอุตสาหกรรม 

ภาคธุรกิจจะมุ่งสู่ Carbon Neutrality ได้อย่างไร

คุณภคมน เผยว่าในต่างประเทศผู้ประกอบการต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญ อาทิ Apple มีการร้องขอให้ supply chain จากทั่วโลกเป็นคาร์บอนนิวทรัลภายในปี 2030 หรือไมโครซอฟท์ตั้งเป้า สู่สถานะการปล่อยคาร์บอนเป็นลบภายในปี 2030 ขณะที่ผู้ประกอบไทยก็ตื่นตัวและดำเนินงานลักษณะเดียวกับต่างประเทศ ปัจจุบันมีเครือข่าย Carbon Neutrality ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 400 ราย 

สำหรับเส้นทางการดำเนินการเริ่มที่ระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส่งออก (SME) บริการ หรืออีเว้นท์โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมMICE 

  1. การวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  2. การตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร 
  3. การหาแนวทาง/กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก
  4. การชดเชยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่คาร์บอนนิวทรัล

ซึ่งมีแนวทางในการชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สำหรับ องค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออีเว้นท์ เหล่านี้ตามที่ อบก. กำหนด สำหรับประเทศไทยให้การรับรองคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยทั้งหมด 14 ล้านตัน และมีการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยอีกประมาณ 1 ล้านตัน  ล่าสุดองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมสร้างแพลตฟอร์ม FTIX เปิดให้ซื้อขายคาร์บอนเครดิต เปิดให้ผู้ประกอบการได้มีการซื้อขายจริง ซึ่งมีสมาชิกกว่า 40 ร้าน ซื้อขายเครดิตจริงกว่าหมื่นตัน พร้อมกันนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ออกแคมเปญในการสนับสนุนงบประมาณให้กับ SME ที่เข้าร่วมโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์กว่า 80% นอกจากนี้ยังมีกระบวนการขออนุญาตใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์และชดเชยคาร์บอนอีกด้วย

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/?lang=th

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทยตื่นตัว ให้ความสำคัญ และดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ SME ที่ประกอบกิจการสินค้าส่งออก ที่มักถูกร้องขอว่าองค์กรหรือสินค้าได้รับการรับรองหรือมีการใส่ใจเรื่องสภาพภูมิอากาศแก่ผู้ซื้อปลายทางเพียงใด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะในตลาดโลกที่ให้ความสำคัญเรื่องค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เริ่มต้นจากการประเมินก่อนว่าโรงงานของตนว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาคิดเป็นจำนวนเท่าใด แล้วจึงหาแนวทางการลดในกรณีขององค์กร ผลการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะแสดงในปีหน้า เมื่อรู้จำนวนคาร์บอนที่องค์กรปล่อยออกมาแล้วนั้น องค์กรต้องตอบให้ได้ว่าพร้อมที่จะชดเชยทั้งหมด หรือชดเชยเพียงบางส่วน นั่นคือ การซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย สำหรับองค์กรที่พร้อมจะซื้อคาร์บอนมาชดเชยเพียงบางส่วน จะเรียกว่า Carbon Offset Organization สำหรับการวัดก๊าซเรือนกระจก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย  คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ต้องมาขึ้นทะเบียนที่ อบก. ด้วย เพื่อคำนวณหาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย

นอกจากนี้ยังมีมาตรการเรื่อง CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ในสินค้า 7 กลุ่มแรก โดยกำหนดให้มีการคำนวณค่าคาร์บอนแฝงให้กับผู้ซื้อปลายทาง ซึ่งมีลักษณะการคิดคำนวนแบบเดียวกับการคิดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ แต่มีขอบเขตการคำนวนที่น้อยกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิภัณฑ์ โดยมาตรฐานของ CBEM จะมีการประกาศใช้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 โดยเฉพาะผู้ประกอบการเหล็กและเหล็กกล้า และอลูมิเนียม จึงเป็นการปรับใช้การคิดคำนวนแบบแพลตฟอร์มค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และปรับใช้เป็นแพลตฟอร์มค่าคาบอนแฝงอัตโนมัติในมาตรฐานสากล ต่อไปอีก 3 ปีข้างหน้า 

แชร์แบบเจาะลึกตัวอย่างโรงงาน และมุมมองผู้เชี่ยวชาญด้วยอุตสาหกรรม

ดร. กิตติวัตร กล่าวว่าด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ค่านิยมหลัก พันธสัญญา และวัฒนธรรมของบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์กรและคน เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยมียุทธศาสตร์ การสร้าง “องค์กรคนดี” เพื่อ Sustainability in Smart Manufacturing อาทิ โคงการอัปเดตบุคลากรสู่อุตสาหกรรม 4.0 การรับนักศึกษาในระบบสหกิจมาฝึกงาน การขอฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และองค์กร Green industry สำหรับด้านความยั่งยืนได้เดำเนินงานมุ่งตามหลัก ESG คือดำเนินธุรกิจ โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว อันได้แก่ Environment, Social, Governance : ESG) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้าน (Sustainable Development Goals : SDGs) SDGs 

ด้านSocial ที่ผ่านมาคือการพัฒนาคนดีทั้งภายในและนอกองค์กร ตามแนวทางพัฒนาบุคลากรไลอ้อน เพื่อตอบโจทย์ SDGs
ด้าน Governance มีกฎบัตรของไลอ้อนเพื่อเป็นแนวทาง การเข้าโครงการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
ด้านสิ่งแวดล้อม(Environment) เรื่องการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ไลอ้อนตั้งต้นปีฐาน (Base YEAR) เริ่มที่จะดำเนินการ ในปี 2017 โดยตั้งเป้าลดให้ได้ 17 % ในปี 2022 และในปี 2030 ต้องลดให้ได้ 55 % รวมทั้งการทำกิจกรรมเพื่อ Carbon Neutral ในปี 2050

นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์กิจกรรมปรับปรุงภายในเรื่องของ Carbon offset เรื่องการจัดการคาร์บอนจากพืช, การนำความร้อนกลับมาใช้, โซลาร์เซลล์, โซลาร์รูฟท็อบ, คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และผลิตภัณฑ์ Eco Project นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ทำร่วมกับกับ อบก. อีกหลายโครงการ โดยในปีนี้ มีโครงการ Low Carbon and Circular Economy ในอุตสาหกรรม EEC ของ อบก. รวมทั้งมีการสนับสนุนให้ชุมชนปลูกป่าอีกด้วย

 

ขณะเดียวกันมีโครงการร่วมกับ เนคเทค สวทช. ด้าน SMART MANUFACTURING, ด้าน Thailand I4.0 Index การประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรม 4.0 จุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางการพัฒนาต่อไป โดยไลอ้อนได้เริ่มเข้าร่วมตั้งแต่ 2013  โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน จัดการ พัฒนาองค์กร เมื่อทราบผลการประเมินแล้วต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล ยิ่งมีการ Integration เพื่อต่อยอดข้อมูล Smart Prododuction / Enterprise / Facility  อย่างเป็นลำดับสร้างความตื่นตัว และองค์กรสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมนำ  IDA Platform  แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ของเนคเทค สวทช.และ Energy Platform ช่วยในระบบพลังงาน โดยมี (System integration) SI จาก ปตท. ช่วยในการติดตั้งระบบ ช่วยเข้ามาเติมเต็มในจุดอ่อน ช่วยในการเชื่อมต่อระบบสามารถนำข้อมูลมาใช้งานเกิดไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ขั้นสูงต่อไป

 

คุณธเนศ เผยประสบการณ์ของ ปตท. ในเรื่องคาร์บอนและ Smart Manufacturing ว่า ปตท.ได้ปักธงแผน Carbon Neutrality ในปี 2040 โดยเร่งดำเนินใน 3 เรื่อง 1. เร่งลดกระบวนผลิตให้ลดคาร์บอนให้น้อยลง โดยปรับกระบวนการผลิต 2. เร่งเปลี่ยน โดยลงทุนในภาค EV หรือภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ไกลกว่าพลังงาน 3.เร่งปลูกพืชในแผน 1 ล้านไร่

สำหรับความยั่งยืนของ ปตท. ประกอบไปด้วย 3P คือ Profit เน้นกำไรในระยะยาว People การเตรียมคนให้พร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง Planet ในเรื่องสภาพโลกร้อนซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้ง 3 เรื่องสำคัญเท่ากัน แต่ทาง ปตท.ให้สำคัญกับ Profile ด้วยการ LEAN ร่วมกับ People และมีผลออกมาร่วมกับ Planet ซึ่งหากมองปัญหาจริงๆแล้ว สิ่งที่ทุกองค์กรลงทุนไปนั้น มีความคุ้มค่า สามารวัดผลได้ สร้างกระทบกับ   ธุกิจอย่างไรนั้น รวมทั้งผลประเมินที่ลงทุนดำเนินการไปตามแผนมากน้อยเพียงใด ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการวัดผลนั้นจะมีความยั่งยืนที่แท้จริงเพียงใด ดังนั้น สิ่งที่องค์กรต้องการจริงๆนั่น คือการวัดว่าผลความยั่งยื่น การติดตามความคุ้มค่าแบบ Real Time โดยหยิบเอา Digital Technology ช่วยผู้ประกอบการใช้การแก้ปัญหาได้

SMART MANUFACTURING คือ การที่โรงงานเปลี่ยน กระบวนการผลิต จนถึง Enterprise เป็น Digital ซึ่งช่วยให้ทุกคนในโรงงานสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ นับเป็นการยกระดับการดำเนินการต่างๆ ตัวอย่าง การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน เพื่อความยั่งยืน

โดย ปตท. ได้ พัฒนา NGR AIoT Platform ระบบบริหารจัดการข้อมูลระบบสาธารณูปโภคของอาคารและโรงงาน พร้อมระบบวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติด้วย IoT Data Platform เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ industry 4.0 และสามารถต่อยอดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปยัง อบก. ได้ด้วย

 

การสร้างคนเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนทางอุตสาหกรรม

คุณสิริวัฒน์ กล่าว่า สำหรับการผลิตที่ยั่งยืนในมุมมองของ สถาบันไทย-เยอรมัน จะเน้นที่การแข่งขัน (Competitive) เพราะการที่จะยั่งยืนได้นั้นต้องมีความสามารถทางการแข่งขันเกิดขึ้นมาก่อน จึงเน้นการสร้าง Productivity มาก่อนซึ่งจะตอบโจทย์ในระยะสั้น ประกอบกับอีกส่วนหนึ่งคือ Social Responsible and Environment ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว

ซึ่งส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยอยู่ในอุตสาหกรรม 2.0 เป็นโรงงานที่เน้นคนกับเครื่องจักร ทางสถาบันไทย-เยอรมัน จึงพัฒนากำลังคนโดยเน้นการสร้างตามความต้องการ (Demand) ของโรงงานอุตสาหกรรม และ การจัดหา(supply) ของSI ไปพร้อมกัน โดยมีองค์กรเรียกว่า Center of Robotic Excellence (CoRE) เป็นผู้สนับสนุน กล่าว คือ การทำทั้งระบบนั่นเอง ซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 เรื่อยมา เป้าหมายที่ดำเนินการเพื่อให้เกิด 30 % ของโรงงานที่ก้าวไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ที่เกิดจาก SI ของไทย และในปี 2569 มีเทคโนโลยีเหล่านี้ของคนไทยเอง ซึ่งการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนได้นั้นจะมี System Analyst (SA) นักวิเคราะห์ เข้ามาช่วยหาความต้องการ โจทย์ รวมไปถึงความคุ้มค่าในการลงทุนของงโรงงาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อความ SMART

โดยในปี 2566 สถาบันไทย-เยอรมันได้พัฒนาในเรื่องต่างๆ  1.พัฒนา System Analyst (SA) เพื่อให้คำปรึกษาอุตสาหกรรม 2.การจัดทำมาตรฐานอาชีพ System Integrator (SI) องค์กร และบุคคล 3.พัฒนาแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน ในรูปแบบ Digital platform ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคล ทั้งโรงงาน SA SI เชื่อมเข้าหากัน เพิ่มความรวมดเร็ว ให้เกิดการบูรณาการสู่อุตสาหกรรม 4.0 ต่อไป และคาดว่าจากการเสวนาครั้งนี้ต้องเพิ่มมุมมองในเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น