สำนักงานศาลปกครอง ศึกษาดูงานเนคเทค สวทช. ในรูปแบบ Online

Facebook
Twitter

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) โดย  ดร.อลิสา คงทน  รองผู้อำนวยการเนคเทค ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ คณะผู้บริหาร นำโดย รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง (คุณยุทธนา ศรีตระกูล)  และบุคลากร สำนักงานศาลปกครอง ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการเสริมสร้างทักษะด้านการบริหารสำหรับบุคลากรสำนักงานศาลปกครองระดับเชี่ยวชาญและระดับชำนาญการพิเศษ ระยะที่ 2 จำนวน 56 คน  การเยี่ยมชมเนคเทคในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะทางการบริหารให้กับบุคลากรให้มีความพร้อมที่จะรองรับภารกิจหน้าที่ ความรับผิดชอบที่สูงขึ้น สามารถนำการเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย เนคเทค สวทช. ได้บรรยายให้ความรู้และนำเสนอผลงานวิจัย ดังนี้

หัวข้อเรื่อง “ความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี IOT” โดย คุณรัสรินทร์ เมธาเฉลิมพัฒน์ วิศวกรทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช.

เทคโนโลยี Internet of Things หรือ IOT เป็นการใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงข้อมูล จากแหล่งจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเห็นความเคลื่อนไหวข้อมูลที่รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่น การติดอุปกรณ์ Sensor ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของพื้นที่ป่า การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นการเปิด/ปิดระบบอัตโนมัติ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี IOT จะทำให้เกิดข้อมูลมหาศาลและสามารถนำไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Big Data analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

หัวข้อ “AI for Thai” โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

AI For Thai แพลตฟอร์มบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้แนวคิด “AI สัญชาติไทย” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้งานในประเทศไทย

เป้าหมายของ AI for Thai 

“AI for Thai” เป็นหนึ่งใน National Digital Infrastructure ที่จำเป็นและสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0

– เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการให้ทัดเทียมต่างประเทศ

– เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาความรู้ทางด้าน AI ให้กับ นักเรียน นักศึกษาและนักพัฒนาในประเทศไทย

– เพื่อสนับสนุนให้เกิด AI ecosystem ในประเทศไทย

หัวข้อ “AI for PA” โดย ดร.ธเนศ เรืองรจิตปกรณ์  ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

ระบบสนันสนุนการตัดสินใจในการตั้งคำถามสำหรับการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit)

ที่มาและความสำคัญ การตั้งคำถามสำหรับการตรวจสอบการดำเนินงานเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการตรวจสอบ

– ความครอบคลุม
– ความเหมาะสม
– การคาดการณ์ถึงปัญหาจากการดำเนินงาน
– ใช้ประสบการณ์ของทีมตรวจในการตั้งคำถามที่ดี

วัตถุประสงค์ของงาน

– สนับสนุนการตั้งคำถามสำหรับการตรวจสอบการดำเนินงานจากข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน
– ทำให้ข้อมูลการตรวจสอบอยู่ในรูปแบบดิจิทัล สืบค้นง่าย เป็นระบบระเบียบ
– เพิ่มมุมมองจากากรตรวจในอดีตให้แก่ทีมตรวจอื่นๆ

หัวข้อ “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดย ดร.มลธิดา ภัทรนันทกุล นักวิจัย ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย

ปัจจุบันความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) เป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากมีการละเมิดสินทรัพย์สารสนเทศในหน่วยงานที่มีความสำคัญระดับประเทศถี่มากขึ้น เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคาร และ หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งมีระบบเครือข่ายที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สิ่งที่พบเห็นกันบ่อย ๆ คือ อาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกัน เช่น การดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษเชื่อมต่อแล้วแอบบันทึกสัญญาณ การแฮกเกอร์ข้อมูล ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวังในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย