วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ให้การต้อนรับพล.อ.สุทธิ์ศักดิ์ สลักคำ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายด้านไซเบอร์และระบบสารสนเทศ กระทรวงกลาโหม จำนวน 11 ท่าน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานวิจัยด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีเพื่อป้องกันประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ แนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับภาครัฐ เพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค พร้อมด้วยนักวิจัยเนคเทคให้การต้อนรับและนำเสนอภาพรวมการดำเนินงานเนคเทค
- 1. ความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์ และ ระบบบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือนอกสถานที่เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง
- โดย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- ดำเนินการวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) เป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากมีการละเมิดสินทรัพย์สารสนเทศในหน่วยงานที่มีความสำคัญระดับประเทศถี่มากขึ้น เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคาร และ หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ดังนั้น การศึกษา วิจัย และพัฒนาบริการ (Service) และ การประยุกต์ใช้งาน (Applications) ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีหลักคือ IT Security Technology ซึ่งประกอบด้วย
- Access Control & Security Model
- Telecommunication & Network Security
- Software Development Security
- Operation Security
- Cryptography
- 2. “เทระเฮิรตซ์: เทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามอง”
- โดย ดร.อัสมา อามิง นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์
- ปัจจุบันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เทระเฮิรตซ์ได้รับความสนใจจากนักวิจัยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของความถี่ในย่านนี้ที่ Non-Ionizing และสามารถทะลุผ่านสิ่งของที่เป็น Dielectric materials รวมถึงมีความไวในการตรวจจับสารเคมีและสารตั้งต้นวัตถุระเบิด ทำให้มีการวิจัยและพัฒนานำความถี่ในย่านนี้มาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น การประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรม, การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing: NDT), ด้านการแพทย์, security scanning, รวมถึงเทคโนโลยีด้านการสื่อสารอีกด้วย