เป็นที่รู้กันว่าคลอโรฟิลล์ (ChlorophyII) เปรียบเสมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของคลอโรฟิลล์มากขึ้น คือ Richard Willstätter ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ โดยเขาสามารถเตรียมคลอโรฟิลล์ที่มีความบริสุทธ์ที่ปราศจากแมกนีเซียมขึ้นเองได้ ซึ่งทำให้เขาสามารถศึกษาการทำงานของมันได้ลึกซึ้งขึ้น เขาพบว่าคลอโรฟิลล์มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วนหลัก องค์ประกอบแรกเรียกว่า “ChlorophyIIin” ซึ่งเป็นที่เก็บรงควัตถุสีเขียวไว้ ส่วนองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งมีแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบและมีอยู่ประมาณหนึ่งในสามของคลอโรฟิลล์ เรียกว่า “Phytol” เขายังสามารถสรุปได้ว่าคลอโรฟิลล์มี 2 ชนิดหลัก ชนิดแรกมีสีน้ำเงินเขียวซึ่งมีมากที่สุด และชนิดที่สองมีสีเหลืองเขียว โดยแต่ละชนิดก็ดูดซับแสงในย่านความยาวคลื่นที่ต่างกันเล็กน้อย นอกจากนี้เมื่อมองในมุมของเคมีเขายังได้แสดงให้เห็นว่าคลอโรฟิลล์ที่มีแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบก็เหมือนกับกรณีที่ฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบนั่นเอง
Richard Willstätter ยังเจอโครงสร้างทางเคมีของ Anthocyanins ซึ่งอยู่ในกลุ่มรงควัตถุที่ทำให้ดอกไม้และผลไม้มีสีน้ำเงินและแดง และมีความเกี่ยวข้องกับสีเหลืองของใบไม้ ผลการค้นพบเหล่านี้ทำให้เขาสามารถสร้างวิธีการผสม Anthocyanins จากหลายสภาพแวดล้อมเพื่ออธิบายถึงดอกไม้หลากหลายสีในธรรมชาติได้
- ประวัติย่อ : Richard Willstätter
Richard Willstätter เกิดที่ Karlsruhe ในเยอรมันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1872 เขาเข้าเรียนทางด้านเคมีกับ Adolf Baeyer ที่ University of Munich เมื่ออายุได้ 18 ปี หลังจากนั้นก็ทำงานในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เริ่มตั้งแต่เป็นอาจารย์สอนจนกระทั่งเป็นศาสตราจารย์ในปี ค.ศ. 1902 ช่วงเริ่มต้นของการทำงานได้ฝึกฝนตัวเองให้มีความชำนาญเกี่ยวกับงานที่ยากไว้ก่อนอย่างการศึกษาพืชและรงควัตถุ เขายังได้เคยทำงานที่ Federal Technical College ที่ Zurich สวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงปี ค.ศ. 1905-1912 ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ที่ University of Berlin ด้วย
แหล่งที่มา
- Nobel Lectures in Chemistry 1901-1921, World Scientific Publishing, January 1999.
- https://nobelprize.org, accessed Feb 2019.
- https://en.wikipedia.org, accessed Feb 2019.
- ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร, โฟโทนิกส์ มหัศจรรย์แห่งแสง, นานมีบุ๊คพับลิเคชัน, กรุงเทพฯ, กุมภาพันธ์ 2549.
บทความที่เกี่ยวข้อง
- แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 29 | ค.ศ.2009 สำหรับความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการส่งแสงผ่านเส้นใยนำแสงเพื่อใช้ในการสื่อสาร และ จากการประดิษฐ์วงจรสารกึ่งตัวนำสำหรับรับภาพ
- แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 30 | ค.ศ.2013 สำหรับวิธีการทดลองใหม่ที่สามารถตรวจวัดและจัดการกับระบบควอนตัมใดๆ
- แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 31 | ค.ศ. 2014 สำหรับการประดิษฐ์หลอดแอลอีดีสีน้ำเงินที่นำไปสู่แหล่งกำเนิดแสงสีขาวที่มีประสิทธิภาพ
- แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 32 | ค.ศ. 2017 สำหรับความทุ่มเทและการมีส่วนสำคัญในการสร้าง LIGO และ การสังเกตพบคลื่นแรงโน้มถ่วง
- แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 33 | ค.ศ. 2018 สำหรับการค้นคิดคีมจับเชิงแสง และ วิธีการทำให้เลเซอร์พัลส์มีพลังงานสูงและมีความกว้างของพัลส์แคบลง