ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)

Facebook
Twitter

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI) ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ Internet of Things หรือ Internet of Everything ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) ประกอบกับความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูล (Connectivity) ถูกใส่หรือติดเข้าไปกับ คน สัตว์ สิ่งของหรือสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งของอัจฉริยะ (Smart Things) ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นั้นคือ ข้อมูลตำแหน่ง (Location Information) และ ข้อมูลบ่งชี้หรือข้อมูลตัวตน (Identification Information) ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น หากทราบข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลบ่งชี้ของสิ่งของที่ถูกเก็บอยู่ภายในโกดังเก็บของขนาดใหญ่ จะทำให้เราสามารถค้นหาและนำสิ่งของนั้นออกมากจากโกดังได้รวดเร็วขึ้น หรือหากสิ่งของนั้นมีการเคลื่อนย้าย ผู้ดูแลจะสามารถทราบและติดตามการเคลื่อนย้ายของสิ่งของได้จากข้อมูลตำแหน่ง เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมได้อีกวิธีหนึ่ง

เพื่อให้การประยุกต์ใช้เซนเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ การสื่อสารข้อมูล รวมทั้งเทคนิคและวิธีการเหมาะสมกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เนคเทคจึงได้จัดตั้งห้องทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงในด้านดังกล่าว

สารบัญ

วิสัยทัศน์

เพื่อนคู่คิดในเทคโนโลยีระบุตำแหน่งภายในอาคาร

พันธกิจ

  • วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้ เซนเซอร์ (Sensor) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) การประมวลผลข้อมูลแบบฝังตัว (Embedded Processing) เครือข่ายเซนเซอร์ (Sensor Network) และการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (Interconnection) เพื่อสร้าง ระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (Location and Automatic Identification System) และสร้างแพลตฟอร์มของระบบดังกล่าว โดยเน้นการใช้งานภายในอาคารหรือพื้นที่ปิด เป็นหลัก แต่ไม่จำกัดในการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่เปิด
  • นำเทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาด้านระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต ทั้งในกระบวนการผลิตและระบบโลจีสติกส์
  • วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้ เซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์ (Ultra Wideband Sensor) ที่มีความสามารถในการตรวจกับวัตถุหรือสิ่งของภายใต้พื้นผิว (Subsurface Sensor) และสามารถใช้ในการวัดระยะทางได้ด้วยความละเอียดสูงในระดับเซนติเมตร (High Accuracy Ranging Sensor)
  • วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่สามารถใช้ในการในการวัดระยะทางได้ด้วยความละเอียดที่สูงที่สุดในระดับต่ำกว่ามิลลิเมตร
  • ประยุกต์ใช้เซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์ และพัฒนาเซนเซอร์ให้สามารถสร้างเป็น ระบบเรดาห์ทะลุ เพื่อใช้ในการแพทย์เช่นการวัดการเคลื่อนที่ของหน้าอกระหว่างหายใจ หรือการหาระยะห่างระหว่างคนในอาคาร หรือการตรวจจับสิ่งกีดขวางของรถไฟ
  • สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในเทคโนโลยีระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเซนเซอร์เพื่อการระบุตำแหน่ง
  • สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านเทคโนโลยีหลักของกลุ่มวิจัยนี้

เทคโนโลยีหลัก

  • เทคโนโลยีเซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์เรดาห์ ซึ่งมีคุณสมบัติทะลุทะลวงผิว สามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับและระบุตำแหน่งของวัตถุใต้พื้นผิว ทั้งดิน กำแพง หรือร่างกายคน และมีคุณสมบัติความแม่นยำในการวัดระยะทางที่สูง
  • เทคโนโลยีระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง เช่น Real Time Location System (RTLS) สามารถใช้งานในลักษณะติดตาม และเฝ้าระวัง แบบเวลาจริง สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย สามารถติดตั้งบนหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์และติดตามสถานะของหุ่นยนต์ได้
  • เทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เช่น RFID สำหรับใช้ในการติดตามสินค้าในคลังสินค้าต่างๆ
  • เทคโนโลยีเครือข่ายเซนเซอร์ ทั้งแบบมีสายและไร้สาย (Wired and Wireless Sensor Networks) ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อข้อมูลตำแหน่งและบ่งชี้ตัวตน ไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือระบบอินเทอร์เน็ต
  • เทคโนโลยีประมวลผลสัญญานจากเซ็นเซอร์ (Sensor Signal Processing) เป็นการรวบรวมข้อมูลสัญญานจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ทั้งจากโทรศัพท์มือถือและเซ็นเซอร์เฉพาะงาน (Embedded Sensor) นำมาใช้ประมวลผลอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะที่ต้องการและถูกต้อง เที่ยงตรงและแม่นยำ

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  • ดร.ละออ โควาวิสารัช : Signal Processing, Localization, Wireless communication
  • ดร.ธานี ดีมีชัย. : signal processing, communications, instrumentation, radar, wireless localization
  • ดร.กฤษณ์ อธิกุลวงศ์ : Embedded System, Computer Architecture, VLSI design, UWB Sensors, Sensor Network
  • ดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล : wireless communications, radar signal Processing
  • ดร. เกรียงไกร มณีรัตน์ : signal Processing, optimization, system design for localization
  • นางสุวรรณี ผู้เจริญชนะชัย:Physical Optics and Photonics
  • นางจารุวลี สุวัตถิกุล : Network Protocol, Embedded Software, Java, Mobile App (Android)
  • นางสุพัตรา มานะไตรนนท์ : ระบบสมองกลฝังตัว, เซนเซอร์ความชื้นในดิน, วงจรแอนาล็อก
  • นายทวีศักดิ์ สรรเพชุดา : Communication Protocol
  • นางสาวจุฑาทิพย์ วิศาลมงคล : Wireless resource allocation
  • นายสดใส วิเศษสุด : Micro Controller, Firmware, PCB Design
  • นายธิติพงษ์ วงสาโท : Micro Controller, iOS Application Programming
  • นายวิศรวัส จันทวีสมบูรณ์ : Programming Software (C, C++, Java), Image processing, Computer Architecture, Feedback Control System
  • นายกฤษฎา จินดา : Micro Controller, Android Programming
  • นางสาวลดาวัลย์ กลิ่นกุสุม: Communication Networking, Wireless
  • นายSambat Lim : Programming, PHP, JAVA

ติดต่อ

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล: lai[at]nectec.or.th
โทร. : (+66)2-564-6900