ผลการค้นหา

Tag: กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือ Educational Technology (EDT) กลุ่มวิจัยสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) มีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล สารบัญ วิสัยทัศน์ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล พันธกิจ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีหลัก Hardware and Software Integration ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มการศึกษาแบบสะเต็มที่มีการ ทํางานร่วมกันของส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบและพัฒนาบอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright ให้ใช้งานร่วมกับ KidBright IDE • Firmware Design ออกแบบซอฟต์แวร์ระดับ Firmware เพื่อควบคุมการทํางานของอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์ม การศึกษาแบบสะเต็ม เช่น ออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนบอร์ดและจากภายนอก และออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ภายนอก •

ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

เป็นทีมวิจัยที่ดำเนินการวิจัยในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยเป็นการทำวิจัยแบบ Interdisciplinary ที่ต้องใช้องค์ความรู้จากสาขาเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และกฎหมายเพื่อตอบโจทย์แก่ประเทศชาติทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่ดำเนินการวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางในการทำวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์กรและกรอบวิจัยระดับชาติ พันธกิจ ดำเนินงานวิจัยด้านเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางในการสร้างองค์ความรู้งานวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา สร้างพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย สร้างผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากการปกป้องทรัพย์สินสารสนเทศ ดำเนินงานวิจัยที่เน้นเชิงรุก และเน้นหลักการไอซีทีสีเขียว เทคโนโลยีหลัก Access Control Network Security Biometric Security Blockchain Software Security Security Policy and Regulation บุคลากรและความเชี่ยวชาญ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ : Access Control, Software Security, Security Policy and Standard เอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ : Network Security,

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI) ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ Internet of Things หรือ Internet of Everything ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) ประกอบกับความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูล (Connectivity) ถูกใส่หรือติดเข้าไปกับ คน สัตว์ สิ่งของหรือสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งของอัจฉริยะ (Smart Things) ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นั้นคือ ข้อมูลตำแหน่ง (Location Information) และ ข้อมูลบ่งชี้หรือข้อมูลตัวตน (Identification Information) ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น หากทราบข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลบ่งชี้ของสิ่งของที่ถูกเก็บอยู่ภายในโกดังเก็บของขนาดใหญ่ จะทำให้เราสามารถค้นหาและนำสิ่งของนั้นออกมากจากโกดังได้รวดเร็วขึ้น หรือหากสิ่งของนั้นมีการเคลื่อนย้าย ผู้ดูแลจะสามารถทราบและติดตามการเคลื่อนย้ายของสิ่งของได้จากข้อมูลตำแหน่ง เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation)

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่ายเป็นกลุ่มวิจัยภายใต้สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่ประกอบไปด้วยทีมนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านวิทยาการเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ทีมวิจัยมีภาระกิจงานวิจัยและพัฒนาที่มีบทบาทและส่วนร่วมในการผลักดันประเทศให้สามารถนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและเครือข่ายมาสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและสังคม วิสัยทัศน์ เป็นกลุ่มวิจัยที่เป็นรากฐานสำคัญในการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย เพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 พันธกิจ วิจัย สร้างองค์ความรู้ และพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นฐาน ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ติดตามความก้าวหน้า วิเคราะห์ ประเมิน ให้ความคิดเห็น ในสาขาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ สร้างสรรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เทคนโลยีหลัก การสื่อสารข้อมูลแบบมีสายและไร้สาย (Wired and Wireless Communication) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Network) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และเว็บของสรรพสิ่ง (Internet of Things/ Web of Things) การให้บริการเครือข่ายแบบเสมือนและกำหนดได้ด้วยซอฟต์แวร์ (Network Function