|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

การจับปลากะตัก

นอกจากการทำประมงปลากะตักแบบพื้นบ้าน ปัจจุบันได้มีการทำประมงปลากะตักโดยใช้เรือปั่นไฟด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้

      การทำประมงปลากะตักโดยใช้เรือปั่นไฟ กลุ่มผู้พัฒนาได้ติดตามเรือประมงปลากะตักเพื่อศึกษากระบวนการทำประมงปลากะตัก ในวันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2546 เวลา 17.00 น. เรือประมงปลากะตัก ประกอบด้วยหัวหน้าผู้ควบคุมเรือซึ่งลูกเรือจะเรียกว่า "ไต๋" 1 คน , ลูกเรืออีก 3 คน และตัวผู้พัฒนาผลงานเองอีก 1 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน ได้เดินทางออกทะเลเพื่อหาปลากะตัก ซึ่งก่อนจะออกจากปากอ่าวแม่น้ำสายบุรี เรือได้มีการแวะรับน้ำแข็งเพื่อใช้แช่ปลากะตักที่โรงน้ำแข็ง หลังจากนั้นเรือจะมุ่งหน้าสู่ทะเล ผ่านชายหาดวาสุกรี ระหว่างทางไต๋จะเปิดเครื่องซาวน์เดอร์ (sounder) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หาปลา โดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่น โดยจะส่งคลื่นไปในทะเลรอบๆ ตัวเรือ และตรวจจับคลื่นที่สะท้อนกลับมา โดยเครื่องซาวน์เดอร์จะมีลักษณะคล้ายกับโทรทัศน์ขนาดเล็ก ภายในจอจะบอกระดับความลึกของทะเลซึ่งแสดงออกมาเป็นภาพผิวน้ำและก้นทะเลโดยมีสเกลให้เปรียบเทียบ ไต๋จะทำการขับเรือไปเรื่อยๆ เพื่อหาฝูงปลากะตักจากจอของเครื่องซาวน์เดอร์ ระหว่างนี้ลูกเรือจะช่วยกันกางแขนอวนยื่นออกไปในทะเล ซึ่งการกางแขนอวนออกจะทำให้เรือเอียงเนื่องจากน้ำหนักของแขนอวนจะหนักมาก ดังนั้นลูกเรือจะต้องทำการสูบน้ำทะเลขึ้นมาใส่ถังพลาสติกซึ่งวางอยู่อีกด้านของเรือเพื่อถ่วงน้ำหนักให้เรือสมดุล หลังจากนั้นลูกเรือก็จะคอยให้เจอปลากะตัก ขณะที่เรือยังคงแล่นหาปลากะตัก จนกระทั่งเวลา 22.00 น. โดยประมาณก็เจอฝูงปลากะตัก ซึ่งบนหน้าจอเครื่องซาวน์เดอร์บอกความลึกของทะเล 24 เมตร เมื่อเจอปลากะตักแล้ว ไต๋จะขับเรือวนรอบๆ บริเวณนั้น เพื่อดูปริมาณของปลากะตักอย่างคร่าวๆ เมื่อมั่นใจว่าจะทำการจับปลากะตักจึงทำการทิ้งสมอเรือ ไต๋จะทำการเปิดไฟทุกดวงซึ่งจะมีประมาณ 18 ดวง โดยหลอดไฟจะอยู่รอบๆ ตัวเรือ จำนวนหลอดไฟจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือ ยิ่งจำนวนหลอดไฟมากก็จะล่อปลากะตักได้ดีขึ้น เพราะจะต้องแข่งกับแสงของหลอดไฟจากเรือลำอื่น เมื่อปั่นไฟได้ประมาณ 30 นาที ไต๋จะปิดหลอดไฟทุกดวง เหลือไว้แค่สปอร์ตไลท์ซึ่งเป็นหลอดไฟที่สว่างที่สุด อยู่ระหว่างแขนอวน ไต๋จะทำการหรี่ไฟให้ความสว่างน้อยลง แล้วเร่งไฟให้สว่างมากขึ้นทันที และหรี่ไฟอีก ทำอย่างนี้สลับกับประมาณ 4-5 ครั้ง ระหว่างนี้ก็จะดูปริมาณปลากะตักที่มาเล่นไฟจากจอของเครื่องซาวน์เดอร์ไปด้วย เมื่อปริมาณปลากะตักมาเล่นไฟมากเพียงพอแล้ว ไต๋จะส่งสัญญาณให้ลูกเรือทำการทิ้งอวน ซึ่งมีลักษณะเป็นตาข่ายสีเขียวทรงสี่เหลี่ยมแต่ปลายจะเปิดทั้งสองข้าง โดยด้านบนจะมีทุ่นพลาสติกสีขาวถูกร้อยด้วยเชือก ส่วนด้านล่างจะมีลูกตะกั่วประมาณ 400 ลูก ลูกละ 1 กิโลกรัมถูกร้อยด้วยเชือกเช่นกัน เมื่อลูกเรือทิ้งอวนพร้อมกันตามสัญญาณของไต๋ ทุ่นจะลอยอยู่เหนือผิวน้ำ และลูกตะกั่วจะจมไปยังก้นทะเล โดยปลากะตักจะถูกขังอยู่ในอวน เมื่อทิ้งอวนแล้วไต๋จะเปิดไฟทุกดวง และปิดสปอร์ตไลท์ และให้เครื่องยนต์ดึงเชือกที่ร้อยลูกตะกั่วเพื่อรวบอวนส่วนล่างเป็นกระจุก และดึงขึ้นมาจากทะเลโดยตัวอวนและทุ่นพลาสติกยังคงอยู่ในทะเล หลังจากนั้นลูกเรือจะช่วยกันดึงตัวอวนขึ้นมาทีละนิดโดยดึงส่วนของอวนด้านที่ใกล้กับลูกตะกั่วทีละนิด จนกระทั่งตัวอวนถูกสาวขึ้นมาเกือบหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาที ปลากะตักจะถูกอวนต้อนให้มารวมกัน ลูกเรือก็จะใช้ตะกร้าพลาสติกตักปลากะตักขึ้นมาจากทะเล แล้วนำปลากะตักที่ได้ไปแช่น้ำแข็งที่เตรียมไว้ทันที หลังจากนั้นลูกเรือจะสาวอวนทั้งหมดขึ้นมาจากทะเลและคอยให้ปลากะตักมาเล่นไฟอีก และก็จะทำตามขั้นตอนเดิมอีก โดยจะทำแบบนี้จนกระทั่งปริมาณปลากะตักในจอของเครื่องซาวน์เดอร์น้อยลงจนไม่คุ้มเหนื่อยถ้าจะลงอวนอีก ซึ่งในวันที่ไปศึกษานั้นมีการลงอวนถึง 5 ครั้ง ซึ่งได้ปลากะตักประมาณ 500 กิโลกรัม หากยังมีเวลาอีกหรือปลากะตักที่ได้ยังไม่เพียงพอ ไต๋ก็จะขับเรือเพื่อหาปลากะตักฝูงต่อไป เมื่อได้ปลากะตักเป็นที่พอใจแล้ว หรือใกล้สว่างเรือประมงจึงเดินทางกลับเข้าสู่ฝั่ง ซึ่งจะมีผู้มารับซื้อปลากระตักที่ท่าเรือต่อไป โดยราคาที่ซื้อประมาณ 8-10 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความสดและจำนวนปลาชนิดอื่นที่ปะปนมาด้วย

การจับปลากะตักแบบพื้นบ้าน                            ปลากะตัก
 หลักการทำงานของเครื่องซาวน์เดอร์                    แสงมีผลต่อพฤติกรรมของปลาอย่างไร ?

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
ภาพแสดงการจับปลากะตักโดยใช้เรือปั่นไฟ

1. เมื่อเจอปลา จะทำการเปิดไฟ เพื่อล่อปลาให้มารวมกันบริเวณแสงไฟ
2. จะมีการหรี่ และเร่งแสงไฟสลับกับ 4-5 ครั้ง เพื่อให้ปลามารวมกันมากขึ้น
3. เมื่อปลามารวมกันมากพอแล้ว จะทำการลงอวนโดยการปล่อยลูกตะกั่ว
4. ลูกตะกั่วซึ่งเป็นส่วนล่างของอวนจะจมสู่ก้นทะเล ขณะที่ทุ่นจะลอยในผิวน้ำทะเล
5. ปลากะตักจะถูกขังอยู่ในอวน
6. ชาวประมงจะใช้เครื่องยนต์รวบลูกตะกั่วเป็นกระจุก แล้วดึงลูกตะกั่วขึ้น (กู้อวน) จากทะเล
7. ชาวประมงจะค่อยๆ สาวอวนขึ้นจากทะเล ขณะที่ปลากะตักยังถูกอวนขังอยู่ในทะเล
8. เมื่อสาวอวนเกือบหมดก็จะใช้ตะกร้าพลาสติกตักปลากะตักขึ้นมาจากทะเล
9. นำปลาไปแช่น้ำแข็ง
10. คอยให้ปลากะตักมารวมกันอีกครั้งเพื่อจะลงอวนครั้งต่อไป