ชุดสาธิตการเชื่อมต่อและการทํางานร่วมกันของเครื่องจักรด้วย lloT (lloT Connectivity and Interoperability Testbed)

Facebook
Twitter

ชุดสาธิตการเข้าถึงข้อมูลสถานะของอุปกรณ์ควบคุมหลักของเครื่องจักร (Programmable Logic Controller (PLC)) ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในส่วนของผู้ผลิตและโพรโทคอลระบบสื่อสาร ของอุปกรณ์ และยังสาธิตการนําข้อมูลสถานะและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ขึ้นระบบอินเทอร์เน็ต ของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อนําไปประมวลผลเพื่อทําให้สามารถทราบถึงสถานะและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมแบบเรียลไทม์ได้ ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ตอบรับกับระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม 4.0

จุดเด่น

  1. สาธิตการเขียนโปรแกรมควบคุมใน ระบบอุตสาหกsSมแบบอัตโนมัติ (Industrial Automation) ด้วยอุปกรณ์ PLC ร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับ (sensor)
  2. สาธิตการสื่อสารด้วยโพรโทคอลต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในระบบอุตสาหกรรม แบบอัตโนมัติ
  3. สาธิตการรับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ PLC ไปยังระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อนําไปประมวลผล นําเสนอ หรือ แจ้งเตือนกรณีมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

คุณสมบัติและข้อมูลด้านเทคนิค

ชุดสาธิตซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ PLC หลากหลายรุ่นที่พบได้ในระบบอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติ เพื่อสาธิต ระบบที่ใช้งานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

  • System Integrator ที่สนใจการยกระดับงานอุตสาหกรรมอัตโนมัติให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
  • ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการยกระดับโรงงานให้เป็นไปตามอุตสาหกรรม 4.0

ชุดสาธิตการเชื่อมต่อและการทํางานร่วมกันของเครื่องจักรด้วย llot ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่

1. สถานี CC-Link IE

CC-Link IE เป็นโพรโทคอลสื่อสารหลักของ Mitsubishi PLC ตั้งแต่ IT Layer ไปถึง Field Layer

2. สถานี Profinet

สถานี Profinet เป็นโพรโทคอลสื่อสารหลักของ Siemens PLC

3. สถานี EtherNet/IP

EtherNet/IP เป็นโพรโทคอลสื่อสารหลักของ Omron PLC และ Allen Bradley PLC

4. สถานี EtherCAT

EtherCAT เป็นโพรโทคอลสื่อสารหลักของ Beckoff PLC

5. สถานี OPC-UA

Open Platform Communications Unified Architecture: OPC UA เป็นโพรโทคอลสื่อสาร พัฒนาโดย OPC Foundations เพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างระบบ IT และ OT