“เทคโนโลยี & Data” กับการติดตามกลุ่มเสี่ยง COVID-19 แบบเรียลไทม์

Facebook
Twitter
tech-data-covid19

 

เรียบเรียงจาก | Here’s how Asia is using tech to tackle COVID-19
https://www.weforum.org/agenda/2020/03/asia-technology-coronavirus-covid19-solutions
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลากหลายแพลตฟอร์มที่สามารถระบุพิกัดสถานที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ แม้ไม่ได้ชี้เฉพาะเป็นรายบุคคลด้วยข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล แต่ก็เป็นประโยชน์ให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลเพื่อระมัดระวังตนเอง เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพต่อการระบุและติดตามกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที

เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพต่อการระบุและติดตามกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที

มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำให้ส่งข้อมูลการระบาด COVID-19 ล่าช้า

โจนาธาน แทนเนอร์ ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลของ Overseas Development Institute (ODI) ลอนดอน กล่าวว่า “บางครั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงเริ่มต้นการพัฒนาอาจถูกรั้งด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเงิน และระบบราชการ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของ Coronavirus จึงเกิดแรงจูงใจมหาศาลเพื่อเอาชนะข้อจำกัดเหล่านั้นให้ได้อย่างรวดเร็วและสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาทดสอบใช้งาน”

tech-data-covid19

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า “มาตรการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Regulations) ทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการระบาดของ Coronavirus นอกประเทศจีน พร้อมชื่นชมแนวทางของรัฐบาลจีนและสิงคโปร์” หลังประกาศยกระดับการระบาดของ Coronavirus เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) นำไปสู่การปิดเมือง ปิดโรงเรียน ไปจนถึงพรมแดนในบางประเทศ

Security ที่เหนือกว่า Privacy ในสถานการณ์ COVID-19

ประเทศสิงคโปร์ได้อนุญาตการใช้งานข้อมูลเปิดของภาครัฐ หรือ Open Government Data เพื่อสร้างแผนที่การระบาดของ Coronavirus พร้อมใช้หุ่นยนต์ส่งอาหารและยาให้ผู้ป่วยไปจนถึงการสื่อสารพูดคุย ในประเทศจีนใช้หุ่นยนต์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล มีการขนส่งเวชภัณฑ์ต่าง ๆ โดยใช้โดรน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการเรียงลำดับการสแกนเพื่อตรวจหาเชื้อ COVID – 19 เช่นเดียวกันกับประเทศเกาหลีใต้ เจ้าหน้าที่กำลังติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ผ่านเครือข่ายมือถือและเทคโนโลยีดาวเทียม

อย่างไรก็ตาม หลักกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป (GDPR) กำหนดให้ทุกคนที่ต้องการเข้าถึงหรือใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ต้องได้รับความยินยอม ดังนั้นการติดตามการเคลื่อนไหวและการติดต่อของผู้คนจำนวนมากโดยใช้ข้อมูลพิกัดจากสมาร์ทโฟนจึงละเมิดหลักกฎหมายนี้ สำหรับสิงคโปร์ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ผ่อนปรนข้อกำหนดเพื่ออนุญาตให้มีการเก็บรวบรวม เปิดเผย และใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการติดตามกลุ่มเสี่ยงและสร้างมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของ Coronavirus

tech-data-covid19

“ไม่น่าแปลกใจที่ประเทศเหล่านี้สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ด้วยประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์และจีนต้องการเป็นผู้นำในด้าน Big Data Analytics และแสดงให้เห็นแล้วว่าแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Platform) สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งนำไปสู่การรับรู้ประสิทธิภาพของ Big Data ในวงกว้าง”

“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลทั่วโลกส่วนใหญ่มีบทบัญญัติให้รัฐบาลสามารถก้าวข้ามความยินยอมของบุคคลได้ในบางสถานการณ์ เพี่อสั่งการเรื่องความมั่นคงแห่งชาติหรือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข” Carolyn Bigg หุ้นส่วนสำนักงานกฎหมาย DLA Piper ในฮ่องกง กล่าว

DDC-Care แอปพลิเคชันไทยติดตามพร้อมประเมิน COVID-19 เรียลไทม์

tech-data-covid19

 

ประเทศไทยได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน DDC-Care: ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งสามารถประเมินข้อมูลสุขภาพ พร้อมติดตามพิกัดพื้นที่กักตัวแบบเรียลไทม์ รวมถึงบันทึกเส้นทางการเดินทางของผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงภายใต้ พรบ. โรคติดต่อ 2558 เพื่อใช้ติดตามกลุ่มเสี่ยง พร้อมประเมินพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของ Coronavirus ต่อไป

ชมคู่มือการใช้งาน DDC-Care ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19 ได้ที่
https://www.ddc-care.com