ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) แจ้งจบครบปัญหาเมือง

Facebook
Twitter

เรียบเรียง ศุภรา พันธุ์ติยะ และ ปวีณา ครุฑธาพันธ์

เราไม่สามารถอยู่ในสังคมได้เพียงลำพัง สังคม ชุมชน และคนในสังคมต้องพึ่งพากัน ทำให้เราต้องสร้างสังคมให้น่าอยู่ ประเทศไทยในยุคที่กำลังจะก้าวเข้าสุ่อุตสาหกรรม 4.0 การใช้ชีวิตที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเข้าถึง และทำให้พื้นที่นั้นมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็จะเกิดการเติบโตทางสังคม เศรษฐกิจและฐานความรู้ด้านต่าง ๆ

เทคโนโลยีช่วยอะไรเราได้บ้าง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาโดยตรง เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยขจัดปัญหาความหนาแน่นของสังคมให้นำไปสู่การแก้ไขในการบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าปัญหาจากขยะมูลฝอย ปัญหางานโครงสร้างถนนหนทาง สาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟส่องสว่าง อื่น ๆ อีกมากมาย การใช้เทคโนโลยีจะตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้ทันเวลากว่า

เนคเทค สวทช.เราใช้นวัตกรรมนำปัญหาและพัฒนาระบบเพื่อบริหารจัดการให้สะดวกใช้ สำหรับคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง Traffy Fondue นวัตกรรมภายใต้การดูแลของทีมวิจัย ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม หัวหน้าทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ พูดถึง“ฟองดูว์” (Fondue) เป็นคำพ้องมาจาก ฟ้อง + ดู ฟ้องด้วยภาพ ส่งภาพมาให้และชี้ชวนกันไปดู เมื่อเห็นภาพ ก็จะรู้ถึงปัญหา ดูที่ไหน บนแผนที่ ตำแหน่งของภาพที่ส่งพิกัดแจ้งมา ปัญหาก็จะส่งตรงไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อรับการแก้ไข ตรงจุด ชัดเจนและรวดเร็ว

จากโจทย์(การพัฒนา)สู่โมเดล

ทราฟฟี่ฟองดูว์ หนึ่งในทราฟฟี่ซีรีย์ ที่เนคเทค สวทช. มีส่วนร่วมเข้าไปสร้างเมืองปลอดภัย ชุมชนน่าอยู่ในโดยนำร่องเมืองท่องเที่ยวระดับโลกและมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โครงการ Smart Phuket เริ่มต้นพัฒนาจากทราฟฟี่เวสต์ (Traffy Waste) ระบบบริหารจัดการการเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงพัฒนาเป็นทราฟฟี่ฟองดูว์ แอปพลิเคชันในการบริหารจัดการปัญหาเมือง รับโจทย์จริง พบปัญหาของเมืองที่กระทบต่อความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต เศรษฐกิจของคนในจังหวัดภูเก็ต ผ่านการทดสอบใช้งานจริง เพื่อใช้บริหารจัดการเมืองด้านสิ่งแวดล้อม ใช้แจ้งปัญหาและแก้ปัญหาในพื้นที่ การรับเรื่อง/ข้อร้องเรียนจากประชาชน และส่งถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ให้รับทราบปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

จากความสำเร็จที่ภูเก็ตนำไปเป็นโมเดลในการต่อยอด พัฒนาเครื่องมือพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในหลายหน่วยงาน หลายชุมชนในระดับปฐมภูมิ โดยมีการปรับปรุงฟีเจอร์ในหลายส่วน เพื่อให้เข้ากับบริบทของแต่ละหน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์ แล้วยังสามารถติดตามความก้าวหน้า การแก้ไขปัญหา ผ่าน LINE@ เพิ่มเป็นอีกหนึ่งช่องทาง

ฟองดูว์ นวัตกรรมนำประโยชน์ ทุกการเข้าถึง

ดร.วสันต์และทีมวิจัย เริ่มพัฒนา Line Chatbot ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Big data analytics ให้ประชาชนใช้ในการพูดคุย รับแจ้งปัญหา ข้อร้องเรียน และติดตามสถานะการแก้ไขปัญหา โดยใช้ AI ในการวิเคราะห์และคัดแยกประเภทปัญหา จากข้อความ รูปภาพ และตำแหน่ง โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ในการรับแจ้งและจัดการปัญหา จากทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

ฟองดูว์เพิ่มฟีเจอร์ให้ปรับปรุงให้มีการแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ เพิ่มการให้คะแนน (Rating) เมื่อแก้ปัญหาเสร็จ เพิ่มฟีเจอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละภาคส่วน ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงาน 

ขยายผล นำไปใช้ประโยชน์

หลังจากปรับโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เปิดรับฟีดแบ็ก เดินหน้าหาพันธมิตรถ่ายทอดเทคโนโลยีไปให้กับเอกชน และขยายผลในอีกหลายหน่วยงาน ในช่วงสถานการณ์ที่การระบาดของโควิด-19 ยังดำเนินอยู่ก็ได้มีการนำฟองดูว์ไปประยุกต์ใช้ในแพลตฟอร์มไลน์แชตบอตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมองค์รวม การเข้าไปมีส่วนร่วมของฟองดูว์ คือเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเรื่องโควิด-19 ในการรับรับแจ้งเหตุ โดยใช้ Line @traffy fondue Chatbot เรียกรถพยาบาล รับผู้ป่วย แจ้งช่วยเหลือติดเชื้อโควิด ทำให้เกิดการบริหารจัดการได้ทันทีและส่งต่อผู้ป่วยได้ทันเวลา อีกทั้งรายงานข้อมูลบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงของการระบาดโควิค-19 เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่คัดกรองคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงให้รับผิดชอบสังคมและปฎิบัติตัวตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

ดร.วสันต์และทีมวิจัย ขยายผลต่อยอดในแต่ละภาคส่วน โดยนำไปใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ซึ่งใช้แพลตฟอร์ม Line Chatbot เป็นช่องทางการให้กับหน่วยงานและประชาชาน พร้อมขยายผลให้ทั่วถึงทั้งประเทศ

“เจอภัย แจ้งได้ ง่าย ๆ ผ่าน LINE @1784DDPM ทั่วประเทศ” 

ปภ.ใช้ “ฟองดูว์” รับแจ้งและจัดการสาธารณภัยทั่วประเทศเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถแจ้งเหตุด่วนสาธารณภัย ประสานขอความช่วยเหลือ ในการแจ้งเตือนภัยที่เข้าถึงประชาชนอย่างรวดเร็ว ให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการชี้เป้าจุดเสี่ยง จุดอันตรายบนทางข้าม ทางม้าลายที่ชำรุด มีข้อบกพร่อง สีเส้นไม่ชัดเจน ไม่มีเส้นชะลอความเร็ว ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีไฟสัญญาณ ร่วมกันเป็นหูเป็นตาตรวจสอบจุดเสี่ยง จุดบกพร่องที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทางถนน

LINE @jaideecity สสส.
ต่อยอดฟองดูว์เป็นแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียน รับแจ้งปัญหาและประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย ภายใต้แนวคิด “เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว” เพื่อให้คนพิการได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม โดยคำนึงถึงสิ่งสุ่มเสียงใน 5 ด้านได้แก่ ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์ และบริการข้อมูล “เมื่อพบเห็นจุดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แจ้งผ่าน @jaideecity”

LINE @psc1111 ของสำนักนายกรัฐมนตรี

เสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นอีกหนึ่งการต่อยอดของ ฟองดูว์ ในการเพิ่มช่องทาง แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ เช่น ถนน-ทางเท้า กลิ่น-น้ำเสีย ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ความสะอาดควันไฟ-ฝุ่นละออง เสียงรบกวน ระเบียบการจราจร-ที่จอดรถ

จอแอพ-1111-576x1024

รับแจ้งเบาะแสทุจริต LINE @traffyfondue 

ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. นำฟองดูว์เพิ่มช่องทางรับแจ้งเบาะแสทุจริต เข้าร่วมใช้รับแจ้งเบาะแสการทุจริต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สะดวก รวดเร็วและตรวจสอบได้ ป้องกันการทุจริต เสริมสร้างสังคมธรรมาภิบาล ด้วยการแจ้งเบาะแสการทุจริต 

ผลกระทบที่ได้รับจากทั้งฝั่งหน่วยงานและประชาชน พบว่า การใช้งานฟองดูว์ทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น 6.2 ชั่วโมงต่อเรื่อง ลดเวลา 65 นาทีต่อการแจ้ง ลดค่าใช้จ่าย 42.45 ล้านบาท เกิดความพึงพอใจต่อทุกฝ่ายในระดับที่น่าพอใจในระดับกว่า 80% ปัจจุบัน ทราฟฟี่ฟองดูว์ได้นำไปใช้ในไปยังหน่วยงาน ที่ปภ 96, ปปช 52 เทศบาล 368, อบต 350, นิคมอุตสาหกรรม 13 รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ร่วมบริหารจัดการ 6,809 คน และประชาชนแจ้งมาในระบบ 48,515 คน 

โมเดลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

การออกแบบกลยุทธ์หรือโมเดลการดำเนินงานของทราฟฟี่ฟองดูว์มีด้วยกัน 3 ส่วนหลักคือ มองให้ออกว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์จากการแก้ปัญหา การจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต้องทำอย่างไร และวางแผนให้ความยั่งยืนของผลงานนั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดกลไกการทำงานก็จะทำให้เกิดการขยายตัวอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันเปิดบริการการใช้แพลตฟอร์มฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้ามีฟีเจอร์เพิ่มค่อยมาคุยกันเป็นการ Customized Model ของแต่ละหน่วยงานไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ เนคเทค สวทช. นำเทคโนโลยี AI Chatbot พัฒนาฟีเจอร์ให้กับระบบบริการถาม-ตอบอัตโนมัติ Line Chatbot แอปพลิเคชันของกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.  นำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุง ระบบถาม-ตอบของ กอช.ให้มีความอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  เข้าไปช่วยเพิ่มความสามารถของระบบให้ทันสมัย ใช้งานได้ง่าย อำนวยความสะดวกในการพูดคุย ส่งข้อความโต้ตอบอัตโนมัติในส่วนการถาม-ตอบคำถามให้กับสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติ  มีจุดเด่นในการช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปตอบคำถาม

กอช.1

“เมื่อฟองดูว์เป็นผู้ช่วยในการแก้ปัญหาที่ก่อให้เปิดประโยชน์ทั้งในด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คุณมีส่วนร่วมในการแจ้งและแก้ไขปัญหาของเมือง เพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น”

3 ประโยชน์ 4 ประสิทธิภาพ

การใช้ทราฟฟี่ฟองดูว์ ทำให้เราได้ประโยชน์ 3 อย่าง ประโยชน์ต่อสังคม ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพ 4 อย่าง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ลดความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดค่าใช้จ่ายในการแจ้งปัญหาและติดตาม  

“หน่วยงานและภาคประชาชาชน  ร่วมใช้ร่วมแบ่งปันปัญหาหรือเบาะแสของปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขด้วย TraffyFondue ผู้ช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ”

การใช้งาน Traffy Fondue

Traffy Fondue แอปฯ เพื่อบริหารจัดการปัญหา รับทราบปัญหารวดเร็ว ตอบสนอง ส่งต่อ ได้ทุกที่ ทุกเวลา 

หน่วยงานที่อยากใช้ ทำได้ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ

ฝั่งประชาชน ยิ่งง่าย แค่เป็นเพื่อนกับ Traffy Fondue ด้วยวิธีเพิ่มเพื่อน ค้นหาไอดี @Traffy Fondue สแกน OQ Code หรือคลิกที่ลิงก์ https://lin.ee/nwxfnHw พิมพ์ปัญหา ถ่ายรูป แชร์ตำแหน่ง ส่งเข้าไปในเขตที่พื้นรับผิดชอบ